พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

headphones
อ่าน 7 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

 

 เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 คุณแม่บางท่านจะสังเกตเห็นมีน้ำนมไหลเป็นสีขุ่นๆ เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง จนทำให้มีการขยายของเต้านม มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณเต้านมมากขึ้น เนื้อบริเวณรอบๆ ฐานหัวนมจะหนาขึ้น และเห็นมีน้ำขุ่นๆ ออกมาจากหัวนมได้  ซึ่งอาจเป็นเพียงชั่วคราว จนถึงระยะก่อนคลอดก็อาจแห้งไป และจะมีน้ำนมพร้อมให้นมอีกครั้งหลังคลอด แม้คุณแม่มีความตั้งใจจะให้นม แต่สำหรับช่วงนี้ ก็ยังไม่ควรนวดหรือกระตุ้นบริเวณเต้าหรือหัวนม เพราะการกระตุ้นบีบหัวนม จะส่งสัญญาณไปยังสมองให้หลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัว จะส่งผลทำให้มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ


พัฒนาการลูก

ลูกมีความยาว 37 ซม. และน้ำหนักประมาณ 900-1000 กรัม ซึ่งอวัยวะต่างๆ จะมีการเจริญค่อนข้างสมบูรณ์ เพียงแต่การทำงานยังไม่พร้อม เช่น อัลตร้าซาวด์เห็นปอดของลูก แต่ลูกยังไม่สามารถหายใจเองได้ เนื่องจากถุงลมที่ปอดยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ไตรมาสที่ 3 นี้ มาเข้าสู่โหมดแห่งการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองอย่างเข้มข้นกันค่ะ เพราะนอกจากการแบ่งตัวของเซลล์ประสาทสมองอย่างต่อเนื่องในช่วงอายุครรภ์ 6-24 สัปดาห์แล้ว  ในไตรมาสที่ 3 นี้ จะมีเรื่องพัฒนาการของสมองอย่างรวดเร็ว เส้นใยประสาทมีการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย และมีการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการพัฒนาของเส้นใยประสาท และเมื่อถึงวันคลอด เซลล์สมองจะมีมากถึง 1 แสนล้านเซลล์
               

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

คุณแม่สามารถมีบทบาทในการกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญาลูกตั้งแต่ในครรภ์ ทั้งทางด้านโภชนาการและสิ่งแวดล้อม   ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการและสติปัญญาของลูกในครรภ์ ได้แก่ 3 ปัจจัย คือพันธุกรรมอาหาร และสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางด้านสารอาหารมีส่วนที่สำคัญ  ได้แก่

 

  1.  Folate  มีการศึกษาพบว่าการรับประทานโฟเลตก่อนตัั้งครรภ์และต่อเนื่องถึงช่วงตั้งครรภ์ 3เดือนแรกจะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิด หรือความพิการบริเวณไขสันหลังลงได้ อาหารที่มีโฟเลต เช่น คะน้า ตับ นม
  2. ธาตุเหล็ก  เป็นส่วนสำคัญของเอนไซม์ที่อยู่ในขบวนการสร้างสารสื่อประสาท และมีผลต่อการทำงานของสมองลูก ซึ่งมีผลตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ คุณแม่จึงควรทานยาบำรุงเลือด ตับ ผักผลไม้
  3. Iodine และฮอร์โมนธัยรอยด์ ช่วยการเจริญของเซลล์ประสาทลูกตั้งแต่ในครรภ์ คุณแม่จึงควรทานยาบำรุงเลือดซึ่งมักมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบในเม็ดยา และทานอาหารทะเล สาหร่าย นม ด้วย
  4. กรดไขมันโอเมก้า 3 ประกอบด้่วย EPA DHA ซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของสมองส่วนกลางและระบบประสาทและสายตาของลูกในครรภ์ การทานปลาทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน กุ้ง ธัญพืช นม ก็จะได้รับโอเมก้าจากอาหารด้วย
  5. สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญที่ช่วยในการสร้างไมอีลินในสมอง ซึ่งมีมากในนมและผลิตภัณฑ์จากนม สมองจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการเชื่อมโยงคำสั่งระหว่างเซลล์ประสาทสมอง และการเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณนี้ต้องอาศัยการสร้างไมอีลินนี่เอง
  6. แอลฟ่าแลคตัลบูมิน โปรตีนคุณภาพที่พบได้ในนม ให้กรดอะมิโนจำเป็น Tryptophan ช่วยสร้างสารสื่อประสาท ช่วยการทำงานของสมอง นอนหลับ ความจำ และการเรียนรู้ มีส่วนช่วยสร้างเส้นใยประสาทสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงอายุครรภ์ 24-32 สัปดาห์ ตลอดจนหลังคลอด
  7.  

                ส่วนการจัดสิ่งแวดล้อมช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกทำได้ 4 ด้าน คือ การมองเห็น ได้ยิน รับความรู้สึก และการเคลื่อนไหว

 

  • การมองเห็น - เมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ขึ้นไป เราสามารถกระตุ้นพัฒนาการและการทำงานของสมองส่วนหน้าของลูกในครรภ์ได้ด้วยการปิดไฟห้อง แล้วใช้ไฟฉายส่องที่หน้าท้องจากซ้ายไปขวา สลับกัน หรือเปิด ปิดไฟฉายเป็นจังหวะ พร้อมกับพูดคุย เช่น แม่จะส่องไปนะลูก ลูกเห็นไหม ให้เริ่มทำขณะลูกดิ้น จะเป็นช่วงที่เกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การได้ยิน - เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถใช้เสียงกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินได้ โดยช่วงที่เหมาะที่สุดคือ ช่วงหลังมื้ออาหาร ลูกจะรับรู้ได้ดีที่สุด โดยกระตุ้นด้วยเสียงคุณแม่และเสียงดนตรี เสียงคุณแม่พูดคุย หรือเล่านิทาน นอกจากกระตุ้นพัฒนาการระบบการได้ยินแล้ว ยังทำให้เกิดการคุ้นชินและผูกพันกับเสียงคุณแม่ ส่วนเสียงดนตรี สามารถเริ่มกระตุ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ พบว่าจะช่วยให้มีพัฒนาการทั้่งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ให้ลูกมีพัฒนาการทางด้านภาษา การได้ยิน และอารมณ์แจ่มใส
  • การรับความรู้สึก - เริ่มเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ให้เริ่มเอามือตบเบาๆ ตรงตำแหน่งก้นที่ลูกดิ้นโก่งต้ว เพื่อให้ลูกรับรู้ว่าแม่รับรู้การกระทำและตอบสนองต่อการดิ้นของลูก เป็นการฝึกไหวพริบ และสร้างการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมของลูก
  • อารมณ์ของแม่ - หากแม่เครียด ร่างกายจะหลั่งสารเคมีซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของลูก ขณะที่คุณแม่ที่มีอารมณ์ดี หรือออกกำลังกาย ผ่อนคลาย ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุข ซึ่งส่งผ่านรกไปถึงลูก ทำให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่ดี

 

Tips

  • คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เนื่องจากหากคุณแม่ติดเชื้อและเป็นคอตีบ ไอกรนขณะตั้งครรภ์ อาจมีอาการเรื้อรัง หรือรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ส่งผลอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่และลูกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนในช่วงไตรมาสที่ 3ให้คุณแม่นั้น ยังสามารถส่งผ่านภูมิคุ้มกันไปถึงลูกในครรภ์ด้วย เนื่องจากช่วง 3-6 เดือนแรกคลอดที่ยังไม่ได้รับวัคซีนคอตีบ ไอกรน หากลูกติดเชื้อ อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรง หรืออันตรายถึงชีวิตได้
  • เนื่องจากอายุครรภ์ 7 เดือนนี้ ลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม จึงมากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ที่มีรูปร่างเล็ก หรือมีกิจกรรมมาก จึงมักพบปัญหาการปวดท้อง ท้องแข็ง เจ็บเตือนได้บ่อยครั้ง แนะนำให้คุณแม่ป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ค่ะ ด้วยการระมัดระวังมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ดังนี้
  • ไม่ควรเดินมาก หรือยกของหนัก
  • ในแต่ละวัน หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม ไม่ว่าจะที่ทำงานหรืองานบ้าน ควรนอนพัก และนอนตะแคงซ้าย เพื่อเพิ่มเลือดไหลกลับสู่หัวใจ และเพิ่มการไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูก ส่งผลทำให้มดลูกคลายตัว ป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้
  • หากพบมีการแข็งตัวของมดลูก คุณแม่จะมีอาการปวดท้องคล้ายกับจะถ่ายอุจจาระ หรือคล้ายจะมีประจำเดือน หรือคล้ายปวดประจำเดือน ร่วมกับมียอดมดลูกแข็งปั้นเป็นก้อน ซึ่งหากเป็นการเจ็บเตือน จะเกิดอาการวันละ 2-3 ครั้ง ห่างๆ กันไม่สม่ำเสมอ มีอาการครั้งละไม่นาน เมื่อนอนพักก็จะหายไป แต่หากมีอาการเจ็บนาน และเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทุก 10 นาที หรือถี่กว่านั้น ควรรีบมาพบแพทย์

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29

 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูอาหารคนท้อง บำรุงคุณแม่ อาหารคนท้องที่ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูอาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน เมนูคนท้องและอาหารคนท้องอะไรบ้างที่ดีกับลูก ไปดูกัน

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

ใครอยากมีลูกต้องอ่าน วันตกไข่ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ อาการแบบไหนถึงรู้ว่าตัวเองอยู่ในช่วงวันตกไข่ และนับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้คนที่อยากมีลูก

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง