Five Food Groups

เมนูอาหาร 5 หมู่สำหรับเด็ก อร่อยถูกใจ ได้สารอาหารครบถ้วน

เมนูอาหาร 5 หมู่สำหรับเด็ก อร่อยถูกใจ ได้สารอาหารครบถ้วน

เคล็ดลับโภชนาการ
บทความ
พ.ย. 4, 2024
11นาที

เมื่อลูกถึงวัยต้องเริ่มอาหารตามวัย คุณแม่จำเป็นต้องจัดอาหาร 5 หมู่สำหรับเด็กให้รับประทานทุกวัน เมื่อร่างกายลูกน้อยได้รับสารอาหารที่หลากหลายมีประโยชน์ครบถ้วน จะส่งผลดีต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมวัย และพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

สรุป

  • อาหาร 5 หมู่สำหรับเด็ก ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ
  • อาหาร 5 หมู่สำหรับเด็ก เริ่มได้เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ตามคำแนะนำจากกุมารแพทย์ เพราะจะเริ่มมีความพร้อมของระบบทางเดินอาหาร ความพร้อมของไต และความพร้อมของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ต่อการกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้ดีขึ้น

เลือกอ่านตามหัวข้อ

อาหาร 5 หมู่สำหรับเด็กมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการ โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียนจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามช่วงวัย เด็กอายุก่อน 6 เดือนอาหารที่ดีที่สุดคือน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว การให้นมแม่เพียงอย่างเดียวเพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยในวัยนี้ทั้งในด้านพลังงานและโภชนาการ ที่สำคัญคือนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์

five food group

ความสำคัญของอาหาร 5 หมู่สำหรับเด็ก

หลังจากลูกน้อยอายุครบ 6 เดือน กุมารแพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่เริ่มป้อนอาหารเด็ก 6 เดือน หรืออาหารตามวัย ได้บ้างแล้ว ที่ต้องให้อาหารตามวัยกับลูก เนื่องจากร่างกายจะเจริญเติบโตและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารที่มากขึ้นจากนมแม่ ซึ่งเด็กในช่วงอายุ 2 ปีแรก อาหารที่คุณแม่เตรียมให้รับประทานในแต่ละมื้อจะถูกนำไปใช้ในการเสริมสร้างสมองมากถึงร้อยละ 75

หมู่ที่ 1 โปรตีน ส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของลูก

อาหาร 5 หมู่สำหรับเด็กในหมู่ที่ 1 เป็นอาหารกลุ่มโปรตีนที่ประกอบไปด้วย ไข่ นม เนื้อสัตว์ อาหารกลุ่มโปรตีนมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ร่างกายของลูกน้อยเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ตามพัฒนาการของช่วงวัย จำเป็นต่อการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ กระดูก ฮอร์โมน และเอนไซม์

หมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานกับร่างกาย

อาหาร 5 หมู่สำหรับเด็กในหมู่ที่ 2 เป็นอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่นข้าว แป้ง มัน เผือก อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตมีส่วนสำคัญในการให้พลังงานีต่อร่างกาย

หมู่ที่ 3 แร่ธาตุ ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง

อาหาร 5 หมู่สำหรับเด็กในหมู่ที่ 3 เป็นอาหารกลุ่มแร่ธาตุมักได้รับจากผักหลาย ๆ ชนิด เช่น คะน้า ฟักทอง ตำลึง ผักบุ้ง บรอกโคลี ฯลฯ อาหารกลุ่มแร่ธาตุมีส่วนสำคัญในการทำงานของร่างกาย ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง

หมู่ที่ 4 วิตามิน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยให้ร่างกายทำงานอย่างปกติมีประสิทธิภาพ

อาหาร 5 หมู่ สำหรับเด็กในหมู่ที่ 4 เป็นอาหารกลุ่มวิตามินมักมาจากผักและผลไม้ เช่น กล้วย ส้ม มะละกอ สับปะรด ฝรั่ง ฯลฯ อาหารกลุ่มวิตามินมีส่วนสำคัญในการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายทำงานอย่างปกติและมีความแข็งแรง

หมู่ที่ 5 ไขมัน ให้ความอบอุ่นกับร่างกาย

อาหาร 5 หมู่สำหรับเด็กในหมู่ที่ 5 เป็นอาหารกลุ่มไขมันที่มักได้จากสัตว์ และจากพืชบางชนิด อาหารกลุ่มไขมันเป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง มีหน้าที่สำคัญในการให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ควรบริโภคให้พอดีกับที่ร่างกายต้องการ

เริ่มทำเมนูอาหาร 5 หมู่สำหรับเด็ก ตอนลูกอายุเท่าไหร่ดี

เมื่อลูกอายุได้ 6 เดือน จะเริ่มมีความพร้อมของระบบทางเดินอาหาร ความพร้อมของไต และความพร้อมของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ต่อการกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้ ทั้งนี้ในทางการแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่เริ่มให้อาหารเสริมตามวัยที่ครบ 5 หมู่แก่ลูกน้อยได้เมื่อลูกอายุ 6 เดือน ที่นอกจากจะได้สารอาหารที่หลากหลายขึ้น ยังเป็นการฝึกให้ลูกได้รู้จักกับอาหารชนิดอื่นที่นอกเหนือจากนมแม่ และยังได้ฝึกทักษะการเคี้ยวและการกลืนอาหารให้ลูกอีกด้วย

  • เด็กอายุ 6-7 เดือน กินนมแม่เป็นหลัก และกินอาหารตามวัย 1 มื้อต่อวัน
  • เด็กอายุ 8เดือน กินนมแม่เป็นหลัก และกินอาหารตามวัย 2 มื้อต่อวัน
  • เด็กอายุ 9-12 เดือน กินนมแม่และอาหารตามวัย 3 มื้อต่อวัน

แจกสารพัดเมนูอาหาร 5 หมู่สำหรับเด็ก ทำง่าย อร่อย ได้ประโยชน์

ตัวอย่างอาหารสำหรับเด็ก 6 เดือนรับประทานวันละ 1 มื้อ ควบคู่กับกินนมแม่


หมายเหตุ: หากอาหารข้นเกินไป คุณแม่สามารถเติมเป็นน้ำซุปผักที่ไม่ปรุงแต่งรสชาติ

อาหารมื้อเช้า เมนูที่ 1

  • ข้าวต้มสุกบดละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผสมไข่แดงต้มสุกปริมาณครึ่งฟอง
  • ผักผสมใบตำลึงต้มเปื่อยบดละเอียดปริมาณครึ่งช้อนโต๊ะ
  • และผสมน้ำมันพืชปริมาณครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน แล้วป้อนให้ลูกรับประทาน

อาหารว่างมื้อบ่าย

  • ป้อนกล้วยน้ำหว้าสุกครูดเอาแต่เนื้อ ปริมาณ 1/2 ลูก

อาหารเช้า เมนูที่ 2

  • ข้าวต้มสุกบดละเอียด ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผสมปลาสุกบดละเอียด ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ผักผสมฟักทองต้มเปื่อยสุกบดละเอียด ประมาณครึ่งช้อนโต๊ะ
  • และผสมน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน แล้วป้อนให้ลูกรับประทาน

อาหารว่างมื้อบ่าย

  • ป้อนมะละกอสุกบดละเอียด ประมาณ 1 ชิ้น

อาหารเช้า เมนูที่ 3

  • ข้าวต้มสุกบดละเอียด ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผสมตับบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
  • ผสมผักหวานต้มสุกเปื่อยบดให้ละเอียด ปริมาณครึ่งช้อนโต๊ะ
  • และผสมน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน แล้วป้อนให้ลูกรับประทาน

อาหารว่างมื้อบ่าย

  • ป้อนมะม่วงสุกบดละเอียด ประมาณ 1 ชิ้น

ตัวอย่างอาหารสำหรับเด็ก 7 เดือนรับประทานวันละ 1 มื้อ ควบคู่กับกินนมแม่

หมายเหตุ: หากอาหารข้นเกินไป คุณแม่สามารถเติมเป็นน้ำซุปผักที่ไม่ปรุงแต่งรสชาติ

อาหารเช้าเมนูที่ 1

  • ข้าวต้มสุกประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ บดให้หยาบ
  • ผสมไข่ต้มสุกประมาณครึ่งฟอง
  • ผสมผักหวานต้มเปื่อยสุก บดให้หยาบ ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ใส่น้ำมันพืชประมาณครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน เพื่อป้อนให้ลูกรับประทาน

อาหารว่างมื้อบ่าย

  • ป้อนมะละกอสุก บดให้หยาบ ประมาณ 2 ชิ้น

อาหารเช้า เมนูที่ 2

  • ข้าวต้มสุกประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ บดให้หยาบ
  • ผสมตับ 1 ช้อนโต๊ะบดให้หยาบ
  • ผักใส่ใบตำลึงต้มให้เปื่อย 1 ช้อนโต๊ะ บดให้หยาบ
  • ใส่น้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน เพื่อป้อนให้ลูกรับประทาน

อาหารว่างมื้อบ่าย

  • ป้อนกล้วยน้ำหว้าสุก 1 ลูกครูดเอาแต่เนื้อ

อาหารมื้อเช้า เมนูที่ 3

  • ข้าวต้มสุก 3 ช้อนโต๊ะบดให้หยาบ
  • ผสมปลาต้มสุก 1 ช้อนกินข้าว บดให้หยาบ
  • ผักใส่แครอท ต้มสุกจนเปื่อยบดให้หยาบ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ใส่น้ำมันพืชปริมาณครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน เพื่อป้อนให้ลูกรับประทาน

อาหารว่างมื้อบ่าย

  • ป้อนมะม่วงสุกปริมาณ 2 ชิ้น บดให้หยาบ

ตัวอย่างอาหารสำหรับเด็ก 8 เดือนรับประทานวันละ 2 มื้อ ควบคู่กับกินนมแม่

หมายเหตุ: หากอาหารข้นเกินไป คุณแม่สามารถเติมเป็นน้ำซุปผักที่ไม่ปรุงแต่งรสชาติ

อาหารมื้อเช้า หรือ อาหารมื้อเที่ยง

  • ข้าวสวยหุงสุกนิ่ม ๆ ปริมาณ 4 ช้อนโต๊ะ บดพอหยาบ
  • ผสมไข่ต้มสุก ปริมาณครึ่งฟอง
  • ผักใส่กวางตุ้งต้มสุกสับให้ละเอียด ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ใส่น้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน เพื่อป้อนให้ลูกรับประทาน

อาหารว่างมื้อบ่าย

  • ป้อนมะม่วงสุกตัดเป็นคำเล็ก ๆ ประมาณ 3 ชิ้น

อาหารมื้อเช้า หรือ อาหารมื้อเที่ยง

  • ข้าวสวยหุงสุกนิ่ม ๆ ปริมาณ 4 ช้อนโต๊ะ บดพอหยาบ
  • ผสมตับต้มสุกบดละเอียด ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ผักใส่กวางตุ้งต้มสุกสับให้ละเอียด ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ใส่น้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน เพื่อป้อนให้ลูกรับประทาน

อาหารว่างมื้อบ่าย

  • ป้อนกล้วยน้ำหว้าสุก ประมาณ 1 ลูก ตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ

อาหารมื้อเช้า หรือมื้อเที่ยง

  • ข้าวสวยหุงสุกนิ่ม ๆ ปริมาณ 4 ช้อนโต๊ะ บดพอหยาบ
  • ผสมปลาต้มสุกสับละเอียด ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ผักใส่แครอทต้มสุกสับให้ละเอียด ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ใส่น้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน เพื่อป้อนให้ลูกรับประทาน

อาหารว่างมื้อบ่าย

  • ป้อนมะละกอสุก ประมาณ 3 ชิ้น ตัดเป็นคำเล็ก ๆ

ตัวอย่างอาหารต่อมื้อสำหรับเด็ก 9-12 เดือน รับประทานวันละ 3 มื้อ ควบคู่กับกินนมแม่

หมายเหตุ: หากอาหารข้นเกินไป คุณแม่สามารถเติมเป็นน้ำซุปผักที่ไม่ปรุงแต่งรสชาติ

ข้าวสวยหุงสุกให้นิ่ม ๆ ปริมาณ 4 ช้อนโต๊ะ บดพอหยาบ

เนื้อสัตว์ผสมไข่ต้มสุกปริมาณครึ่งฟอง

ผักผสมใบตำลึงต้มสุก ปริมาณ 1 ½ ช้อนโต๊ะ

ใส่น้ำมันพืชประมาณครึ่งช้อนชา

คนผสมให้เข้ากัน เพื่อป้อนให้ลูกรับประทาน

ผลไม้ป้อนเป็นมะละกอสุกตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 4 คำ

ข้าวสวยหุงสุกให้นิ่ม ๆ ปริมาณ 4 ช้อนโต๊ะ บดพอหยาบ
เนื้อสัตว์ผสมตับต้มสุกหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ 
ผักผสมผักกาดเขียวต้มสุกหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ปริมาณ 1 ½ ช้อนโต๊ะ
ใส่น้ำมันพืชประมาณครึ่งช้อนชา
คนผสมให้เข้ากัน เพื่อป้อนให้ลูกรับประทาน
ผลไม้ป้อนเป็นมะม่วงสุกตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 4 คำ
ข้าวสวยหุงสุกให้นิ่ม ๆ ปริมาณ 4 ช้อนโต๊ะ บดพอหยาบ
เนื้อสัตว์ผสมปลาต้มสุกหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ 
ผักผสมแครอทต้มสุกหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ปริมาณ 1 ½ ช้อนกินข้าว 
ใส่น้ำมันพืชประมาณครึ่งช้อนชา
คนผสมให้เข้ากัน เพื่อป้อนให้ลูกรับประทาน
ผลไม้ป้อนเป็นกล้วยน้ำหว้าสุก ประมาณ 1 ลูก ตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ

ให้ลูกกินอาหารครบ 5 หมู่แล้ว จำเป็นต้องให้กินวิตามิน หรือแคลเซียมเสริมไหม

ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านร่างกายเจริญเติบโตดีสมวัย และมีสุขภาพที่แข็งแรงจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก สำหรับวิตามินแคลเซียม รวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ กุมารแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำกับคุณแม่สำหรับการใช้หากมีความจำเป็น

ควรให้ลูกดื่มนมวันละกี่แก้ว ถึงจะพอดี

ในเด็กอายุหลัง 1 ปีขึ้นไป ซึ่งยังอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต คุณแม่ควรเสริมให้ลูกดื่มนมจืดสำหรับเด็ก วันละ 2-3 ครั้ง การดื่มนมจะช่วยทำให้เด็ก ๆ เจริญเติบโตมีสุขภาพแข็งแรงและห่างไกลจากโรคได้ในอนาคตเมื่อเติบโตขึ้น

การดูแลให้ลูกน้อยได้รับคุณค่าโภชนาการสารอาหารที่หลากหลายจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่สำหรับเด็ก จะช่วยให้มีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมวัย และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ทั้งนี้เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เหมาะสม คุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากกุมารแพทย์ที่ดูแลลูกน้อยเพิ่มเติมได้
 

บทความแนะนำอาหารเสริมตามวัยสำหรับลูกน้อย

อ้างอิง:

  1. แนะนำอาหาร 5 หมู่ เป็นแหล่งสารอาหารที่ดีสำหรับเด็ก, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  2. อาหารสำหรับทารก: เมื่อไรคุณควรเริ่มป้อนอาหารแข็ง, unicef
  3. อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหาร, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  4. คู่มืออาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก, สมาคมแพทย์สตรี
  5. อาหารวัยทารก สารอาหารที่สำคัญ พัฒนาการที่เกี่ยวกับการกินของทารก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. อาหารทารกอายุ 6 เดือน, โภชนาการอาหารตามวัย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  7. อาหารทารกอายุ 7 เดือน, โภชนาการอาหารตามวัย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  8. อาหารทารกอายุ 8 เดือน, โภชนาการอาหารตามวัย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  9. อาหารทารกอายุ 9-12 เดือน, โภชนาการอาหารตามวัย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 6 เมษายน 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ประโยชน์ดี ๆ ของโยเกิร์ต เมนูสุขภาพ เหมาะกับลูกน้อย
บทความ
เด็กเล็กฝึกกินอาหารเสริมตามวัย

ประโยชน์ดี ๆ ของโยเกิร์ต เมนูสุขภาพ เหมาะกับลูกน้อย

เมื่อลูกน้อยอายุได้ 12 เดือนนอกเหนือจากการกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาแล้ว คุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารใหม่ๆ เช่น โยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของผักหรือผลไม้บดได้

1นาที อ่าน

View details คุณประโยชน์ของโฮลเกรน
บทความ
คุณประโยชน์ของโฮลเกรน

คุณประโยชน์ของโฮลเกรน

เมื่อลูกน้อยอายุ 1 ปี ระบบทางเดินอาหารจะมีความพร้อมรับประโยชน์ดีๆ จาก “โฮลเกรน” และอาหารอื่นๆ เพราะฟันที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ลูกน้อยสามารถเคี้ยวอาหารได้มากขึ้น

2นาที อ่าน

View details ปลูกฝังนิสัยการกินและโภชนาการที่ดีเพื่อเด็กวัยหัดเดิน 1 ปีขึ้นไป
บทความ
ปลูกฝั่งนิสัยการกิน

ปลูกฝังนิสัยการกินและโภชนาการที่ดีเพื่อเด็กวัยหัดเดิน 1 ปีขึ้นไป

วางรากฐานวินัยการกินอาหารและโภชนาการเด็ก 1 ปี เป็นจุดเริ่มต้นให้ลูกน้อยมีนิสัยการกินที่ดีไปตลอดชีวิต เทคนิคง่ายๆให้คุณแม่นำไปปรับใช้ปลูกฝังนิสัยการกินที่ดี เพื่อโภชนาการที่ดีของลูก<

2นาที อ่าน

View details อาหารเสริมเด็ก อาหารตามวัยสำหรับลูกน้อย ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลูก
บทความ
อาหารเสริมเด็ก ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน อาหารเสริมสำหรับเด็กตามวัย

อาหารเสริมเด็ก อาหารตามวัยสำหรับลูกน้อย ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลูก

อาหารเสริมตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปมีความสำคัญ เพราะประโยชน์ของอาหารเสริมตามวัย ช่วยเสริมให้ลูกมีภาวะโภชนาการที่ดี ร่างกายเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

6นาที อ่าน

View details การจัดอาหารสำหรับวัยเตาะแตะ
บทความ
การจัดอาหารสำหรับวัยเตาะแตะ

การจัดอาหารสำหรับวัยเตาะแตะ

คำแนะนำต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เด็กวัยเตาะแตะต้องการทุกวันซึ่งจะทำให้การวางแผนง่ายขึ้นตามความ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับกิจกรรมและอายุ

3นาที อ่าน

View details ลูกอมข้าว ปัญหาปวดหัวของพ่อ-แม่แต่แก้ไม่ยาก
บทความ
ลูกอมข้าว ปัญหาปวดหัวของพ่อแม่ แต่แก้ไม่ยาก

ลูกอมข้าว ปัญหาปวดหัวของพ่อ-แม่แต่แก้ไม่ยาก

บ่อยครั้งที่คุณตั้งใจทำอาหารมาเป็นอย่างดี แต่พอป้อนเจ้าตัวน้อย เขากลับมีอาการอมข้าว ไม่ยอมเคี้ยว ไม่ยอมกลืน เล่นเอาคุณเหนื่อย และเป็นกังวลว่าเขาจะแข็งแรงไหม

2นาที อ่าน

View details อาหารเสริมธัญพืชเพื่อพัฒนาการของสมองและร่างกาย
บทความ
อาหารเสริมธัญพืชเสริมพัฒนาการสมองและร่างกาย

อาหารเสริมธัญพืชเพื่อพัฒนาการของสมองและร่างกาย

รู้หรือไม่ว่า อาหารเสริมธัญพืช เต็มไปด้วยคุณค่าจาก DHA และธาตุเหล็กจะช่วยเติมเต็มพัฒนาการทางสมองและร่างกายของลูกน้อยให้สมบูรณ์แข็งแรง

2นาที อ่าน

View details อาหารเสริมธัญพืชตับบด เมนูที่แน่นด้วยคุณค่า
บทความ
อาหารเสริมธัญพืชตับบด เมนูที่แน่นด้วยคุณค่า

อาหารเสริมธัญพืชตับบด เมนูที่แน่นด้วยคุณค่า

วันนี้เรามีเมนู “อาหารเสริมธัญพืชตับบด” สำหรับลูกน้อย ที่ทั้งทำง่ายและใช้เวลาไม่นาน ทั้งยังเป็นเมนูที่ลูกจะได้รับประโยชน์จากธัญพืช แคลเซียมจากนม และธาตุเหล็กจากตับบดอย่างเต็มที่

2นาที อ่าน

View details การกัดและการเคี้ยว – โลกใบใหม่ของรสชาติ!
บทความ
การกัดและการเคี้ยว – โลกใบใหม่ของรสชาติ!

การกัดและการเคี้ยว – โลกใบใหม่ของรสชาติ!

อาหารที่ดีที่สุดในช่วงขวบปีแรกคือ นมแม่ แต่เมื่อลูกต้องกินอาหารเสริมตามวัย คุณแม่ควรเรียนรู้วิธีเริ่มอย่างถูกต้อง เพื่อให้ลูกมีพฤติกรรมการกินและสุขภาพที่ดี

4นาที อ่าน

View details “จากนมแม่สู่อาหารเสริม” ให้ทุกคำของลูกเปี่ยมด้วยคุณค่า
บทความ
“จากนมแม่สู่อาหารเสริม” ให้ทุกคำของลูกเปี่ยมด้วยคุณค่า

“จากนมแม่สู่อาหารเสริม” ให้ทุกคำของลูกเปี่ยมด้วยคุณค่า

การเริ่มอาหารเสริมครั้งแรกของลูกวัย 6 เดือนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะกระเพาะอาหารของลูกยังเล็กมาก และน้ำนมแม่ก็ยังคงเป็นอาหารหลักที่ให้สารอาหารต่างๆ กับลูกได้ดีที่สุด

3นาที อ่าน

View details 5 อาหารเสริมให้ลูกฉลาด กินอะไรให้ลูกฉลาด พัฒนาสมองลูก
บทความ
5 อาหารเสริมให้ลูกฉลาด กินอะไรให้ลูกฉลาด พัฒนาสมองลูก

5 อาหารเสริมให้ลูกฉลาด กินอะไรให้ลูกฉลาด พัฒนาสมองลูก

กินอะไรให้ลูกฉลาดและมีพัฒนาการทางสมองที่ดี ไปดู 5 อาหารเสริมให้ลูกฉลาด และสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของลูกน้อย พร้อมให้ลูกน้อยเรียนรู้ได้อย่างสมวัย

 

View details เมนู Finger Food สำหรับลูกน้อย
บทความ
Finger food ฝึกเคี้ยวกับอาหารมือถือ

เมนู Finger Food สำหรับลูกน้อย

เมนูแบบ Finger food สำหรับเด็ก เป็นการฝึกฝนทักษะการเคี้ยวควบคู่กับทักษะการใช้นิ้วมือในการหยิบจับ อาหารจึงควรมีขนาดกว้างและยาวเท่ากับนิ้วก้อย และเป็นแท่งเดียวตลอดชิ้น ไม่แยกส่วนกัน ถ

2นาที อ่าน

View details อาหารมื้อแรกของลูกตามช่วงวัย ข้าวมื้อแรกของลูก ควรเริ่มกินเมื่อไหร่
บทความ
อาหารมื้อแรกของลูก ข้าวมื้อแรกของลูก เริ่มกินเมื่อไหร่ถึงจะดี

อาหารมื้อแรกของลูกตามช่วงวัย ข้าวมื้อแรกของลูก ควรเริ่มกินเมื่อไหร่

ลูกน้อยอายุ 6 เดือนขึ้นไป คือช่วงวัยที่พร้อมสำหรับอาหารมื้อแรกของลูก คุณแม่ควรใส่ใจกับอาหารมื้อแรกของลูก เพราะช่วยเติมเต็มพัฒนาการและความแข็งแรงของร่างกาย

9นาที อ่าน

View details 4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง
บทความ
4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก

4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง

อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็กสำคัญอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการช้า ทั้งร่างกาย สมองและอารมณ์ ไปดูอาหารเสริมธาตุเหล็กที่สำคัญกับลูกน้อยกัน

5นาที อ่าน

View details รู้จัก “อาหารสี่มื้อ” สำหรับทารก
บทความ
รู้จัก “อาหารสี่มื้อ” สำหรับทารก

รู้จัก “อาหารสี่มื้อ” สำหรับทารก

ช่วงเวลาของการกินอาหารสำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือนขึ้นไป เปรียบเสมือนชั่วโมงแห่งการเรียนรู้และการค้นพบสิ่งใหม่ๆ แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่า เมนูนั้นช่วยเสริมศักยภาพของลูกแล้วหรือยัง?

4นาที อ่าน

View details มันเทศสุดยอดอาหารเสริมสำหรับเด็กวัยนั่งได้
บทความ
“จากนมแม่สู่อาหารเสริม” ให้ทุกคำของลูกเปี่ยมด้วยคุณค่า

มันเทศสุดยอดอาหารเสริมสำหรับเด็กวัยนั่งได้

"มันเทศ" อาหารแข็งแรกเริ่มที่อุดมด้วยสารอาหาร และวิตามินมากมาย เหมาะกับเด็กวัยนั่งได้เป็นอย่างมาก

2นาที อ่าน

View details ลูกไม่กินข้าว ลูกกินข้าวยากทำไงดี พร้อมวิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว
บทความ
ลูกไม่กินข้าว ลูกกินข้าวยากทำไงดี พร้อมวิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

ลูกไม่กินข้าว ลูกกินข้าวยากทำไงดี พร้อมวิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

ลูกกินข้าวยาก ลูกเบื่ออาหาร เป็นปัญหาโลกแตกที่หลายบ้านกำลังเผชิญ คุณแม่กลุ้มใจเหลือเกิน ลองมาสารพัดเมนูที่เขาว่า ทำแล้วลูกชอบ อร่อยและมีประโยชน์ ก็ไม่สำเร็จ หลอกล่อสารพัดวิธีก็ไม่ได้ผล กลัวลูกตัวเล

7นาที อ่าน

View details สร้างพฤติกรรมการกินที่ดีให้ลูกน้อย
บทความ
สร้างพฤติกรรมการกินที่ดีให้ลูกน้อย

สร้างพฤติกรรมการกินที่ดีให้ลูกน้อย

ทุกคนรู้ดีว่าควรกินผักและผลไม้ให้ครบ 5 ส่วนในแต่ละวัน แล้วลูกของฉันต้องกินแบบนี้ด้วยรึเปล่า? อยากได้คำแนะนำในการสร้างพฤติกรรมการกินที่ดีให้ลูกน้อย

3นาที อ่าน

View details การกินแบบ BLW คืออะไร ฝึกลูกให้กินมื้อแรกแบบ BLW
บทความ
การกินแบบ BLW คืออะไร ฝึกเจ้าตัวเล็กให้กินแบบ BLW มื้อแรกยากไหม

การกินแบบ BLW คืออะไร ฝึกลูกให้กินมื้อแรกแบบ BLW

นอกจากการให้อาหารเสริมตามวัย อีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ การให้ทารกหยิบอาหารกินเองซึ่งมีพื้นฐานจากลักษณะการกินอาหารด้วยตัวเองจากการดูดนมแม่นั่นเอง

7นาที อ่าน