วิธีเก็บน้ำนมแม่ที่ถูกต้อง เก็บน้ำนมอย่างไรให้ปลอดภัย
การปฏิบัติตามวิธีการเก็บนมแม่และเทคนิคและ วิธีการเก็บนมแม่ อย่างปลอดภัยนั้น จะช่วยให้คุณแม่ให้นมบุตรและพี่เลี้ยงเด็กสามารถรักษาคุณภาพของนมแม่ที่ปั๊มออกมาเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูกน้อยค่ะ
การปฏิบัติตามวิธีการเตรียมนมและเทคนิคการ วิธีการเก็บนมแม่ อย่างปลอดภัยนั้น จะช่วยให้คุณแม่ให้นมบุตรและพี่เลี้ยงเด็กสามารถรักษาคุณภาพของนมแม่ที่ปั๊มออกมาเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูกน้อยค่ะ
การเตรียมและ วิธีการเก็บนมแม่ ที่ปลอดภัย
- ล้างมือให้สะอาดก่อนปั๊ม เตรียมหรือจัดเก็บน้ำนมแม่ทุกครั้ง
- เก็บน้ำนมในภาชนะบรรจุที่สะอาด เช่น ขวดฝาเกลียว ถ้วยพลาสติกชนิดแข็งมีฝาปิดมิดชิด หรือใส่ในถุงที่แข็งแรงทนทานและสามารถบรรจุในขวดนมได้พอดี หลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติกทั่วๆไปหรือถุงสําหรับใส่นมผสม เพราะอาจขาดหรือรั่วได้ง่ายค่ะ
- หากต้องนำนํ้านมให้ศูนย์เลี้ยงเด็กที่ดูแลลูกเราอยู่ ให้เขียนชื่อลูกและวันที่กำกับฉลากแปะบนภาชนะบรรจุอย่างชัดเจน
- เขียนวันที่ที่ปั๊มนมใส่ถุงกำกับบนฉลากให้ชัดเจนพื่อใช้นมที่ปั๊มก่อนจากเก่าไปใหม่ค่ะ
- ไม่ควรผสมนมที่ปั๊มใหม่เข้ากับนมที่ปั๊มแช่แข็งไว้ก่อนหน้านี้แล้วในภาชนะเดียวกัน
- อย่าเก็บนมในขวดที่ลูกกินไม่หมดไว้ใช้ในครั้งต่อไป
การละลายนมอย่างปลอดภัย
- หากมีเวลาพอ ให้ละลายนมแช่แข็งโดยการย้ายไปแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาให้นมค่อยๆละลาย หรือแกว่งถุงนมแช่แข็งในถังน้ำอุ่นค่ะ
- หลีกเลี่ยงการใช้เตาไมโครเวฟละลายหรืออุ่นนมแม่ เพราะ
- เตาไมโครเวฟไม่สามารถอุ่นของเหลวได้ทั่วถึง ความร้อนที่ไม่สม่ำเสมออาจทำให้นมลวกปากลูกหรือทำลายคุณภาพนมได้ค่ะ
- ขวดนมอาจระเบิดได้หากปล่อยทิ้งไว้ในไมโครเวฟนานเกินไป
- ความร้อนที่มากเกินไปสามารถทำลายสารอาหารที่มีคุณค่าในน้ำนมแม่
- นมแม่ที่ละลายแล้ว ไม่ควรนำไปแช่แข็งอีก
อ้างอิง
Division of Nutrition, Physical Activity, and Obesity, National Center for Chronic Disease Prevention and Health Promotion. Proper Handling and Storage of Human Milk [Online]. 2014 [Cited 2016 June, 2].
Available from: http://www.cdc.gov/breastfeeding/recommendations/handling_breastmilk.htm.
บทความแนะนำ

การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร
น้ำนมแม่มีคุณค่ามหาศาล ประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายที่ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เปี่ยมล้นในน้ำนมแม่ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ (UNICEF) จึงสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด และควรให้นมแม่ต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารตามวัยตั้งแต่เดือนที่ 6 ไปจนถึงลูกอายุ 2 ขวบหรือนานกว่านั้น เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เจ้าตัวน้อยเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ
ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้
นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ดี มีสมองที่เรียนรู้ไว จดจำแม่นยำ และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้กับทารกแรกเกิดซึ่งยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์นัก คุณแม่ให้นมจึงพยายามดูแลร่างกายและกินอาหารที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดผ่านน้ำนมแม่ เราจึงรวบรวมเรื่องชวนสงสัยที่แม่ให้นมอยากรู้ มาฝากดังนี้