
เยื่อไมอีลินหน้าที่ ความสำคัญต่อสมองและพัฒนาการของเด็ก
เยื่อไมอีลิน คือ สารสีขาวเป็นไขมันอยู่รอบเส้นใยประสาท ทำหน้าที่คล้ายฉนวนช่วยให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันอันตรายของการถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างภายนอกกับภายในของใยประสาทได้อีกด้วย ซึ่งหากใยประสาทที่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอยู่ก็จะสามารถส่งกระแสประสาทได้อย่างรวดเร็ว
สรุป
- เยื่อไมอีลิน คือ ไขมันที่อยู่รอบเส้นใยประสาท ทำหน้าที่คล้ายฉนวนช่วยให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันอันตรายของการถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างภายนอกกับภายใน
- เยื่อไมอีลินมีหน้าที่ ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท ช่วยห่อหุ้มป้องกันรอบเส้นใยประสาท ส่งเสริมพัฒนาการด้านความจำและการเรียนรู้ของเด็ก
- การส่งเสริมการสร้างเยื่อไมอีลินในเด็ก ทำได้โดยการให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสม และกระตุ้นได้โดยการใช้เสียงเพลง เสียงดนตรี รวมถึงการฝึกเรียนรู้แก้ไขโจทย์ต่าง ๆ หรือเล่นเกมส์ที่มีกติกาง่าย ๆ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- เยื่อไมอีลิน คืออะไร?
- เยื่อไมอีลินหน้าที่สำคัญต่อระบบประสาท
- เยื่อหุ้มไมอีลินพัฒนาเมื่อไหร่?
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเยื่อไมอีลิน
- ผลกระทบหากเยื่อไมอีลินพัฒนาไม่สมบูรณ์
- วิธีดูแลและเสริมสร้างเยื่อไมอีลินในเด็ก
- เคล็ดลับการเลือกอาหารที่ช่วยเสริมสร้างเยื่อไมอีลิน
- สรุป: เยื่อไมอีลินหน้าที่สำคัญต่อพัฒนาการของลูกน้อย
เยื่อไมอีลิน คืออะไร?
เยื่อไมอีลิน (Myelin Sheath) คือ เยื่อที่หุ้มเป็นปลอกอยู่รอบเส้นใยประสาท (Axon) มีส่วนประกอบสำคัญคือ ไขมันและโปรตีน ซึ่งเยื่อหุ้มไมอีลินจะทำหน้าที่คล้ายฉนวน มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความเร็วในการรับและส่งสัญญาณของเซลล์ในระบบประสาท ซึ่ง Axon ที่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอยู่ จะมีขนาดของใยประสาทหนาและมีขนาดใหญ่กว่า Axon ที่ไม่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอยู่เลย ซึ่งคุณแม่สามารถเพิ่มเยื่อไมอีลินให้แก่ Axon ของลูกน้อยได้ โดยสารอาหาร เช่น แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน ที่พบได้มากในน้ำนมแม่ ถือเป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยการสร้างปลอกไมอีลินและพัฒนาสมองของลูกน้อย
เยื่อไมอีลินหน้าที่สำคัญต่อระบบประสาท
เยื่อไมอีลิน ถือว่ามีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อระบบประสาท มีส่วนช่วยในกระบวนการส่งสัญญาณของเซลล์ ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อระบบประสาท ดังนี้
- ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท เนื่องจากเยื่อไมอีลินทำหน้าที่คล้ายฉนวนป้องกันการถ่ายเทของประจุไฟฟ้าระหว่างภายในและภายนอก
- เยื่อไมอีลินจะทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันรอบเส้นใยประสาท ให้การเดินทางของกระแสประสาทเดินทางได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น
- การที่เยื่อไมอีลินห่อหุ้มเส้นใยประสาทไว้นั้น จะช่วยให้การส่งสัญญาณประสาททำได้รวดเร็วมากขึ้น โดยเป็นการส่งแบบจากจุดหนึ่งไปยังจุดตรงข้ามได้ทันที ไม่ใช่แบบส่งต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้เด็กที่มีเยื่อไมอีลินห่อหุ้มจะมีพัฒนาการในด้านการเรียนรู้และส่งเสริมความจำที่ดี
- การส่งเสริมให้เด็กมีเยื่อหุ้มไมอีลิน อาจทำได้โดยกิจกรรมต่าง ๆ รอบตัวในชีวิตประจำวันง่าย ๆ เช่น การทำให้กล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานประสานกัน ควบคู่กับการได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์
เยื่อหุ้มไมอีลินพัฒนาเมื่อไหร่?
การส่งเสริมในการสร้างเยื่อไมอีลินให้แก่ลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เนื่องจากสมองและเซลล์ต่าง ๆ ในระบบประสาทของคนเราจะพัฒนาอย่างรวดเร็วมากกว่าอวัยวะอื่น ๆ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนถึงอายุ 1 -2 ปีแรกหลังคลอด โดยอาศัยการเลี้ยงดูที่ดี กระตุ้นให้เกิดเยื่อไมอีลินในระบบประสาท รวมไปถึงการได้รับสารอาหารที่เหมาะสม ครบถ้วนแก่ร่างกาย และมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมองของลูก จนถึงภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อปกป้องลูกน้อยจากเชื้อโรค
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเยื่อไมอีลิน
เมื่อทราบถึงคุณสมบัติของเยื่อไมอีลินหน้าที่ ความสำคัญว่ามีส่วนช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองด้านความจำและการเรียนรู้ที่ดีแล้ว คุณพ่อคุณแม่คงอยากทราบถึงปัจจัยอะไรบ้างที่จะส่งผลต่อการพัฒนาเยื่อไมอีลิน ซึ่งมีปัจจัยหลัก ดังนี้
- การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสม และช่วยส่งเสริมการสร้างเยื่อไมอีลิน และส่งเสริมการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำนมแม่ ที่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด อาทิ DHA, วิตามิน, แคลเซียม, โคลีน (Choline) และแอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการทางสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูกน้อย
- การมีกิจกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกน้อย ถือเป็นการกระตุ้นสมองวิธีหนึ่ง โดยอาจใช้เสียงดนตรีหลากหลายเป็นสื่อในการส่งเสริมการสร้างเยื่อไมอีลินในระบบประสาท
- การนอนหลับเพียงพอและมีคุณภาพจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และความจำที่ดีต่อลูกน้อยได้ เพราะเนื่องจากในช่วงเวลาที่เด็กหลับลึก สมองจะทำงานได้ดีในการส่งความจำในสมองระยะสั้นไปเก็บเป็นความจำระยะยาว ดังนั้นการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้เด็กมีความจำและการเรียนรู้ที่ดี รวมถึงการควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น
- คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพราะการออกกำลังกายทำให้หัวใจมีการสูบฉีดเลือดเพื่อส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้สมองแข็งแรงทำงานได้ดี มีความจำและสมาธิที่ดี
ผลกระทบหากเยื่อไมอีลินพัฒนาไม่สมบูรณ์
หากลูกน้อยมีเยื่อไมอีลินในระบบประสาทที่ไม่สมบูรณ์ จะทำให้การส่งสัญญาณของใยประสาททำได้ช้าลงกว่าใยประสาทที่มีเยื่อหุ้มไมอีลิน โดยเป็นการส่งสัญญาณแบบต่อ ๆ กันในระยะสั้น ๆ ไม่สามารถส่งแบบก้าวกระโดดเหมือนใยประสาทที่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลินห่อหุ้มไว้ และส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ในด้านความจำและการเรียนรู้ โดยในบางครั้งเยื่อไมอีลินก็สามารถถูกทำลายได้จากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีการทำงานผิดปกติ เมื่อเยื่อไมอีลินถูกทำลายลงจะส่งผลต่อการส่งสัญญาณของระบบประสาท และอาจทำให้เกิดปัญหาทางสายตา พูดไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา มีอาการอ่อนแรงและเวียนศีรษะ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
วิธีดูแลและเสริมสร้างเยื่อไมอีลินในเด็ก
การส่งเสริมการสร้างเยื่อไมอีลินในเด็ก ถือเป็นสิ่งสำคัญ การที่ลูกจะมีพัฒนาการทางสมองที่ดีไม่ใช่มาจากพันธุกรรมเท่านั้น แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถร่วมกันสร้างเยื่อไมอีลิน เพื่อกระตุ้นสมอง สติปัญญา และอารมณ์ของลูกได้ ดังนี้
- การคัดสรรสารอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะสมเพียงพอต่อลูก โดยเป็นอาหารที่มี DHA สูง และสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างเยื่อไมอีลินในระบบประสาท เช่น ไข่ ชีส ปลาแซลมอน นมแม่ที่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เป็นต้น
- การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยถือเป็นสิ่งสำคัญ การส่งเสริมการสร้างเยื่อไมอีลินในเด็กสามารถกระตุ้นได้โดยการใช้เสียงเพลง เสียงดนตรีสำหรับเด็กเล็ก และฝึกเรียนรู้แก้ไขโจทย์ต่าง ๆ หรือเล่นเกมส์ที่มีกติกาง่าย ๆ สำหรับเด็กที่โตขึ้น
- การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย มีการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมโดยอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างสม่ำเสมอ
เคล็ดลับการเลือกอาหารที่ช่วยเสริมสร้างเยื่อไมอีลิน
การเลือกอาหารสำหรับลูกถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างเยื่อไมอีลินในระบบประสาทได้ โดยสารอาหารที่สามารถช่วยในด้านพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา มีดังนี้
- DHA และกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในเรื่องพัฒนาการทางสมองและหัวใจ พบได้ในเนื้อปลา
- สารอาหารโคลีน (Choline) มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางสมอง เสริมสร้างการเรียนรู้และความจำที่ดี โดยสารอาหารโคลีนพบได้ในเนื้อสัตว์ ไข่แดง น้ำนมแม่
- วิตามินบี พบมากในธัญพืชและถั่ว ซึ่งมีโปรตีนและกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย
- โปรตีน ถือเป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์สมองของลูกตั้งแต่ในครรภ์ ซึ่งพบได้จาก ไข่ และถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ รวมถึงช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของเลือด
สรุป: เยื่อไมอีลินหน้าที่สำคัญต่อพัฒนาการของลูกน้อย
นอกเหนือจากการที่ลูกมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ การที่ลูกมีพัฒนาการทางสมองดี มีการเรียนรู้และความจำที่ดี ส่งผลต่อการที่ลูกจะเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนปรารถนา การส่งต่อสารอาหารสำคัญ อย่างเช่น แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน มีส่วนช่วยส่งเสริมให้มีการสร้างเยื่อไมอีลินในระบบประสาท รวมไปถึงการมีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวก็เป็นการส่งเสริมการกระตุ้นระบบประสาท และเป็นการสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อพัฒนาทางสมองที่ดีสู่ลูกน้อย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- ปลดล็อกพลังสมองด้วย แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน พัฒนาให้สมองไวก้าวไกลกว่า
- สฟิงโกไมอีลิน และ แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน คืออะไร สารอาหารสำคัญในนมแม่ ดีต่อสมองของลูกน้อย
- แอลฟาแล็คสฟิงโกไมอีลินและบีแล็กทิส เสริมสมองไวและภูมิคุ้มกันลูกผ่าคลอด
- ทำความรู้จัก 'แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน' หนึ่งในสารอาหารพัฒนาสมอง
- แอลฟา แล็คตัลบูมิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่พบได้ในน้ำนมแม่
- ไขความลับสร้างสมองด้วย แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน และ 2-FL
- 5 อาหารเสริมให้ลูกฉลาด กินอะไรให้ลูกฉลาด พัฒนาสมองลูก
- Colostrum คือ น้ำนมสีเหลืองที่มี แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน เสริมภูมิคุ้มกันลูก
- เทคนิคพัฒนาสมอง เสริมสร้างศักยภาพให้ลูกน้อยฉลาด พร้อมเรียนรู้
อ้างอิง:
- เซลล์ประสาทและการเกิดกระแสประสาท, สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ปลอกประสาท หรือ ปลอกไมอีลิน (Myelin sheath), Haamor
- แพทย์ชี้!! เด็กฉลาดสมองไว พ่อแม่สร้างได้!เพียงเสริมให้ถูกวิธี, กรมสุขภาพจิต
- สมองดี เริ่มที่ – นมแม่ -, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- สารอาหารสำคัญ เพิ่มพัฒนาการทางสมองให้ลูกรัก, โรงพยาบาลศิครินทร์
- การนอนหลับ กลไกสำคัญพัฒนาการเรียนรู้ของลูกน้อย, โรงพยาบาลศิครินทร์
- ชวนเด็กออกกำลังกาย “เพิ่มพลังสมอง… ความจำ…ความคิด”, กรมอนามัย
- โรคเส้นประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis - MS): สาเหตุ อาการ และการจัดการโรค, MRC ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ
- เปิดเคล็ดลับพ่อแม่ยุคใหม่ สร้าง ‘ลูกน้อย’ ให้ฉลาดและสมองไว, กรมสุขภาพจิต
- อาหารเด็กบำรุงสมองที่พ่อแม่ควรรู้, PobPad
- เมนูอาหารคุณแม่ท้อง บำรุงสมองลูกในครรภ์, โรงพยาบาลบางปะกอก
อ้างอิง ณ วันที่ 10 มีนาคม 2568