พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38  

headphones
อ่าน 2 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38         

 

 ยอดมดลูกซึ่งเคยสูงถึงระดับยอดอก อาจเริ่มเลื่อนต่ำลง เนื่องจากส่วนนำ ไม่ว่าจะเป็นท่าศีรษะหรือก้น เริ่มเลื่อนลงสู่กระดูกอุ้งเชิงกราน คุณแม่บางท่านอาจรู้สึกปวดบริเวณสะโพก และกระดูกหัวหน่าวมากจนก้าวขาหรือขยับเปลี่ยนท่าไม่ได้เพราะเจ็บมาก แนะนำให้คุณแม่จัดท่านั่งบนเก้าอี้ พิงพนักพิงและหาฐานรองเท้า เพื่อให้เป็นท่านั่งงอเข่าและสะโพก ไม่ให้เกิดแรงกดลงบริเวณหัวหน่าว  สำหรับท่านอน แนะนำให้คุณแม่นอนในท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงมดลูก ทำให้มดลูกคลายตัว ลูกจะไม่ถูกดันลงมากดกระดูกเชิงกรานและหัวหน่าวมาก

พัฒนาการลูก


ลูกมีความยาว 48 ซม. และผิวหนังหนาขึ้น และเริ่มเป็นสีชมพู ผมและเล็บงอกยาวขึ้น

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38

 


Tips

เนื่องจากเป็นช่วงที่อายุครรภ์ครบกำหนดแล้ว คุณแม่ที่ไม่มีข้อห้ามในการคลอดจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะไปโรงพยาบาลเสมอหากมีอาการผิดปกติ ซึ่งมีรายละเอียดการเตรียมตัว ดังนี้คุณแม่ควรเตรียมสมุดฝากครรภ์ และผลเลือดทุกอย่างไว้ในรถ หรือกระเป๋าที่พกติดตัวไว้เสมอ เพื่อจะได้นำไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์

  • ของใช้ส่วนตัวของคุณพ่อและคุณแม่ สำหรับค้างคืนที่โรงพยาบาล
  • เสื้อผ้า ผ้าอ้อม ถุงเท้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่อตัวของลูก
  • แผ่นซับน้ำนม ขี้ผึ้งทาปาก ผ้าอนามัยแบบแถบกาว เนื่องจากในช่วงวันแรก 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด คุณหมอจะเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการไม่หดรัดตัวหรือมดลูกนิ่มหลังคลอด จึงต้องใช้ผ้าอนามัยแบบมีสายห่วงที่เอว เพื่อให้ทีมแพทย์และพยาบาล สามารถเฝ้าสังเกตปริมาณเลือดและน้ำคาวปลา ด้วยการเปิดดูปริมาณเลือดที่ผ้าอนามัยได้ตลอดว่าไม่มีการตกเลือด ซึ่งเมื่อครบ 24 ชั่วโมงและไม่พบการตกเลือด คุณแม่จะสามารถเปลี่ยนเป็นผ้าอนามัยแบบแถบกาว เพราะจะสวมสะดวก และไม่ต้องมีสายรัดที่เอว ซึ่งในวันที่ 2มีการลุกเดิน จะทำให้เจ็บจากสายรัดได้ หากเปลี่ยนเป็นแบบแถบกาว จะเดินได้สะดวกขึ้นและไม่มีอาการเจ็บ

 


 

บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูอาหารคนท้อง บำรุงคุณแม่ อาหารคนท้องที่ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูอาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน เมนูคนท้องและอาหารคนท้องอะไรบ้างที่ดีกับลูก ไปดูกัน

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

ใครอยากมีลูกต้องอ่าน วันตกไข่ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ อาการแบบไหนถึงรู้ว่าตัวเองอยู่ในช่วงวันตกไข่ และนับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้คนที่อยากมีลูก

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง