พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36
พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36
พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36
ในเดือนที่ 9 นี้ ลูกจะเริ่มมีการกลับหัว นั่นคือ ลูกจะนอนในท่าศีรษะอยู่ด้านล่าง และก้นอยู่ด้านบน ดังนั้น ศีรษะลูกจะอยู่บริเวณเหนือหัวหน่าว แม้คุณแม่บางท่านพบว่าลูกไม่กลับหัว ส่วนนำซึ่งอยู่บริเวณหัวหน่าวนั้น จะกดเบียดบริเวณกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่ ดังนั้นบ่อยครั้งที่คุณแม่จะรู้สึกลูกดิ้นแบบลักษณะคล้ายกระโดดแล้วปวดปัสสาวะ แต่พอไปปัสสาวะ พบว่ามีปัสสาวะออกมานิดเดียวและมีอาการเรื่อยๆ ในหนึ่งวัน คุณแม่ไม่ต้องตกใจค่ะ เป็นเพราะลูกเจริญเติบโตมากขึ้น และแน่นจนเต็มในโพรงมดลูก ลูกจึงมีลักษณะการดิ้นที่เปลี่ยนไป
พัฒนาการลูก
ลูกมีความยาว 46 ซม. และมีน้ำหนัก 2,500 กรัม ลูกมีไขมันสะสมใต้ผิวหนังมากขึ้น ระบบทางเดินอาหารมีการพัฒนามากขึ้นและกำลังผลิตขี้เทา

Tips
ที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ น้ำคร่ำซึ่งเริ่มจาก 50 มล.ที่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีปริมาณมากที่สุด คือ 1,000 มล. ที่ 36 สัปดาห์นี้ จากนั้นปริมาณน้ำคร่ำจะลดลงเรื่อยๆ จนถึงครบกำหนดคือ 40 สัปดาห์ ซึ่งหลังจาก 40 สัปดาห์ น้ำคร่ำยังคงลดลงเรื่อยๆ ในคุณแม่ที่คลอดเกินกำหนด จึงอาจมีอันตรายกับลูกได้ เนื่องจากน้ำคร่ำเหลือน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
น้ำคร่ำมีประโยชน์ดังนี้
- แม้เวลาน้ำเดิน น้ำคร่ำที่ออกมาจะใสและลักษณะแบบน้ำปัสสาวะ แต่ขณะอยู่ในโพรงมดลูก น้ำคร่ำจะมีลักษณะคล้ายเยลลี่หรือเจล ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องลูกจากแรงกระแทกภายนอก
- เป็นสารน้ำที่ช่วยให้ลูกในท้องเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว
- ช่วยควบคุมและรักษาอุณหภูมิให้ลูกอบอุ่น
- ในเดือนสุดท้ายก่อนคลอด ต้องคอยเฝ้าระวังภาวะน้ำเดิน ซึ่งคุณแม่จะพบว่ามีน้ำออกมาทางช่องคลอดปริมาณมาก ลักษณะเหมือนปัสสาวะ ขณะมีน้ำเดิน ไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้อง เมื่อมีอาการดังกล่าว คุณแม่ควรรีบมาโรงพยาบาลทันทีและควรสังเกตปริมาณน้ำคร่ำ ว่าสีอะไร มีกลิ่นเหม็นหรือไม่ เพื่อพิจารณาว่ามีการติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่
ในทารกที่เป็นท่าก้น หรือมีก้นลูกเป็นส่วนนำ เมื่อเกิดน้ำเดิน สิ่งที่ต้องระวังมากๆ คือ มีภาวะสายสะดือย้อย ซึ่งอาจเกิดการกดทับสายสะดือและทำให้ลูกขาดออกซิเจนได้ จึงต้องรีบมาโรงพยาบาลทันทีค่ะ
บทความอื่นๆ ที่สนใจ
พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 35
พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37
อ้างอิง
https://www.s-momclub.com/pregnancy-development-week-35บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1
บทความแนะนำ

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก
ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

ฤกษ์ผ่าคลอด 2566 ฤกษ์คลอด วัน เวลาดี เสริมดวงลูกรัก
สำหรับลูกน้อยที่เกิดในปี 2566 ตรงกับนักษัตรเถาะ มักเป็นคนที่นุ่มนวล มารยาทงาม มีสัมมาคารวะ เป็นที่รักของผู้ใหญ่และคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังกำลังวางแผนการตั้งครรภ์ หรือหาฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอดมหามงคล เพื่อส่งเสริมดวงให้ลูกน้อยในปีนี้ S-Mom Club มีฤกษ์ผ่าคลอดสุดเฮงสำหรับปีนี้มาแนะนำค่ะ