ทำไมลูกไม่กินนมแม่และเคล็ดลับทำให้ลูกยอมกิน

ทำไมลูกไม่กินนมแม่ พร้อมเคล็ดลับวิธีทำให้ลูกน้อยยอมกิน

ทำไมอยู่ๆ ลูกไม่กินนมแม่ ลูกน้อยที่เคยดูดนมได้ดี ในเวลาต่อมากลับไม่ยอมดูดนม การปฏิเสธนมแม่ แสดงถึงความผิดปกติบางอย่าง เหมือนกับลูกต้องการจะบอกให้แม่รู้ว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากตัวแม่เอง หรือจากสุขภาพร่างกายของลูกน้อย

headphones
อ่าน 3 นาที

 

ทำไมลูกไม่กินนมแม่และเคล็ดลับทำให้ลูกยอมกิน

 

ทำไมอยู่ๆ ลูกไม่กินนมแม่ ลูกน้อยที่เคยดูดนมได้ดี ในเวลาต่อมากลับไม่ยอมดูดนม การปฏิเสธนมแม่ แสดงถึงความผิดปกติบางอย่าง เหมือนกับลูกต้องการจะบอกให้แม่รู้ว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากตัวแม่เอง หรือจากสุขภาพร่างกายของลูกน้อย อาการลูกไม่กินนมแม่นี้ไม่ใช่จะเกิดขึ้นกับเด็กทุกคน บางคนสามารถดูดนมต่อไปได้ บางคนอาจหงุดหงิด ฉุนเฉียว ไม่พอใจกับการดูดนม บางคนอาจปฎิเสธเต้าไปตลอด มาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกไม่กินนมแม่

 

ทำไมลูกไม่กินนมแม่และเคล็ดลับทำให้ลูกยอมกิน

 

10 สาเหตุของลูกไม่กินนมแม่

  • ลูกไม่กินนมแม่ อาจเกิดจากร่างกายลูกไม่ปกติ เช่น หูอักเสบติดเชื้อ ทําให้เวลาดูดนมแล้วเจ็บ หรือ เกิดจากความเจ็บป่วยทั่วไป และเจ็บปวดหลังการได้รับฉีดวัคซีน ทำให้เด็กเครียดจากความเจ็บป่วยของตนเองและไม่ยอมกินนมแม่ แม่ควรถามตัวเองเกี่ยวกับกรณีเหล่านี้ว่าตรงหรือไม่ หรือควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการผิดปกติ

  • ลูกน้อยที่เคยชินกับการดูดนมขวดมาก่อน หรือดูดนมขวดร่วมกับนมแม่มักจะไม่ยอมดูดหัวนมแม่
  • ลูกน้อยเจ็บปากจากฟันที่งอกใหม่ หรือมีเชื้อราในปาก หรือเจ็บคอจากหวัด ในเด็กอายุหลายเดือนอาจเกิดจากแผลในปาก
  • การอุ้มเด็กไม่ถูกท่า ทำให้เด็กรู้สึกไม่สบาย และทำให้ไม่ยอมกินนมแม่ได้
  • เด็กห่างจากแม่นานเกินไป ก็เป็นสาเหตุลูกไม่กินนมแม่ได้เช่นกัน
  • เด็กเป็นหวัด หายใจไม่สะดวกเวลาดูดนม
  • เมื่อแม่เจ็บหัวนมแล้วแสดงปฏิกิริยารุนแรงทำให้เด็กตกใจ
  • ปริมาณนํ้านมแม่ที่ลดลงเนื่องจากไปให้นมขวดเพิ่มขึ้น หรือดูดหัวนมหลอกมากเกินไป?
  • ความสับสนที่ต้องพรากจากแม่เป็นเวลานาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงมากในกิจวัตรประจําวัน
  • มีสิ่งอื่นน่าสนใจที่อยู่รอบๆตัว เบื่ยงเบนความสนใจลูกให้ไม่ยอมกินนมแม่ เช่น คนทะเลาะกัน เสียงทีวี ของเล่น ฯลฯ

 

8 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้ลูกยอมกินนมแม่

  • ลูกไม่ยอมกินนมแม่เป็นเรื่องปกติ ให้ใจเย็น อย่าท้อแท้ ลองเปลี่ยนแผน วิธี ท่าให้นม แบบใหม่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผล ก่อน ถ้าลูกหงุดหงิดไม่ยอม อย่าเพิ่มฝืนให้หยุดก่อน แล้วค่อยลองใหม่อีกครั้งอย่างใจเย็น
  • พยายามลดเวลาที่อยู่ห่างกับลูก เพื่อให้อยู่ใกล้ลูกมากขึ้น
  • พยายามให้ลูกดูดนมตรงต่อเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัดและท่อนํ้านมอุดตัน
  • พยายามยื่นเต้าให้ลูกดูดทุกครั้งที่ลูกทำท่าต้องการดูดนม
  • พยายามลองท่าให้นมหลายๆท่า หรือลองเปลี่ยนท่าตามวิธีที่ถูกต้องก่อน
  • ให้ความสนใจลูกเต็มที่และปลอบโยนด้วยการกอดและสัมผัสมากขึ้น
  • ให้นมขณะนั่งบนเก้าอี้โยกในห้องที่เงียบสงบ เย็นสบาย อาจเป็นที่มืดๆ แสงน้อย ที่ไม่มีสิ่งรบกวน ซึ่งจะช่วยให้ลูกยอมกินนมแม่ได้ง่ายขึ้นค่ะ
  • ถ้าลูกคงยังไม่กินนมแม่ ก็คงต้องลองเปลี่ยนวิธีอื่นในการป้อนนมลูกเป็นการชั่วคราว ได้แก่ ใช้ถ้วย หลอดหยด หรือช้อนตรวจสอบผ้าอ้อมลูกเพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับนํ้านมเพียงพอ (5-6 ครั้งต่อวัน)

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ  

วิธีการเก็บนมแม่

ให้นมลูกอย่างไรให้ถูกวิธี  

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี

 

อ้างอิง

  1. พ..พิสุทธิพร ฉ่ำใจ, ศิลปะการเลี้ยงลูกด้วยนม, นมแม่ดีที่ 1! อาหารชั้นยอดที่ปราศจากสารปนเปื้อน (ต้นธรรมสํานักพิมพ์, 2537) p.137-139

  2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK148955/

บทความแนะนำ

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วย นมแม่

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาฝาก เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตด้วยน้ำนมแม่อย่างมีคุณภาพ

เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่เมื่อน้ำนมแม่ไม่พอ

เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ น้ำนมไม่พอต้องอ่าน

มีเหตุผลหลายๆอย่างที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมน้อย น้ำนมแม่ไม่พอ ในช่วงให้นมลูกค่ะ เช่น เริ่มให้นมแม่กับลูกน้อยช้าเกินไป, การให้นมลูกน้อยไม่สม่ำเสมอ การเสริมนมอื่นขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร

การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร

น้ำนมแม่มีคุณค่ามหาศาล ประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายที่ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เปี่ยมล้นในน้ำนมแม่ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ (UNICEF) จึงสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด และควรให้นมแม่ต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารตามวัยตั้งแต่เดือนที่ 6 ไปจนถึงลูกอายุ 2 ขวบหรือนานกว่านั้น เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เจ้าตัวน้อยเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว อาการของทารกที่บอกให้รู้

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว อาการของทารกที่บอกให้รู้

อาหารของทารกอย่างนมแม่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีสารอาหารกว่า 200 ชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก ทั้งยังมีสารอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้ การให้ทารกกินอิ่มนอนหลับจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องดูแลมากเป็นพิเศษ

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ”

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ

ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้

นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ดี มีสมองที่เรียนรู้ไว จดจำแม่นยำ และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้กับทารกแรกเกิดซึ่งยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์นัก คุณแม่ให้นมจึงพยายามดูแลร่างกายและกินอาหารที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดผ่านน้ำนมแม่ เราจึงรวบรวมเรื่องชวนสงสัยที่แม่ให้นมอยากรู้ มาฝากดังนี้ 

สฟิงโกไมอีลิน,2’- FL ในนมแม่ช่วยให้ลูกสมองดีจริงมั๊ย?

สฟิงโกไมอีลิน,2’- FL ในนมแม่ 2 สารอาหารมหัศจรรย์ที่แม่ต้องรู้ เพื่อลูกเรียนรู้ไวกว่า

โลกวันนี้หมุนไวกว่าที่เคยมาก การเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ไว เป็นเรื่องสำคัญ นมแม่คือกุญแจไขความลับการเรียนรู้ที่ไวกว่า ไม่มีตกยุค สฟิงโกไมอีลิน, 2’- FL ในนมแม่ 2 สารอาหารมหัศจรรย์ที่แม่ต้องรู้ เพื่อลูกเรียนรู้ไวกว่า