เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เคล็ดลับการดูแลลูก
บทความ
พ.ย. 25, 2024
7นาที

อาการเจ็บไข้ได้ป่วยของลูกน้อย เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ โดยเฉพาะอาการปวดท้อง ทารกปวดท้องบิดเป็นอาการเจ็บป่วยที่มักพบเจอได้ทั่วไป มีระดับการปวดตั้งแต่น้อย ปานกลาง ไปจนถึงขั้นปวดรุนแรง คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการปวดท้องของทารก และอาการต่าง ๆ ที่ร่วมด้วย หากมีอาการใดที่ผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

สรุป

  • ทารกปวดท้องบิด ปวดท้องเกร็ง มีสาเหตุมากจากปัญหาทางสุขภาพหรือโรคเรื้อรัง เช่น ท้องอืด ภาวะโคลิก กรดไหลย้อน อาหารเป็นพิษ ลำไส้อักเสบ ส่งผลให้ทารกมีอาการปวดท้องหลายระดับ ตั้งแต่น้อย ไปจนถึงปวดรุนแรง
  • อาการปวดท้องบิด และปวดท้องธรรมดา มักจะมีอาการแตกต่างกัน อาการปวดท้องทั่วไป จะมีลักษณะปวดตื้อ ๆ ปวดเสียด ปวดบิดเป็นบางครั้ง อาการปวดท้องบิดเป็นอาการที่ทำให้ปวดท้องแบบเกร็ง หรือปวดแบบบีบภายในช่องท้องเป็นระยะ ปวดหลายระดับ ทั้งแบบไม่รุนแรง แบบปานกลางและปวดรุนแรง
  • หากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ร่วมกับอาการปวดท้อง เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น อาเจียน คลื่นไส้ไม่หยุด เซื่องซึม อ่อนเพลีย มีภาวะขาดน้ำ มีผดผื่นขึ้น ถ่ายเหลว ถ่ายปนเลือด ตัวซีดเหลือง ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาอย่างทันท่วงที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กปวดท้องบิด เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการปวดท้อง ปวดเกร็ง หรือปวดบิด มีอาการปวดภายในช่องท้อง อาการปวดบีบเกร็งนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะโคลิก ท้องผูก ท้องอืด กรดไหลย้อน ลำไส้อักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ มีแผลในกระเพาะอาหาร อาหารเป็นพิษ แพ้อาหาร ส่งผลให้มีอาการปวดหลายระดับ ทั้งแบบไม่รุนแรง แบบปานกลางและปวดรุนแรง ซึ่งอาการปวดบิด ปวดเกร็งท้อง อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาทางสุขภาพ ไปจนถึงโรคเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

1. ภาวะโคลิก

ลูกมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ร้องไห้ไม่สบายตัว อาจมาจากภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง ทำให้มีแก๊สในท้องเยอะ

2. ท้องอืด

อาหารไม่ย่อย ลูกท้องผูก ไม่ถ่ายติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน จะปวดท้องแบบยืนเกร็ง หนีบก้น หนีบขา ขับถ่ายลำบาก อุจจาระก้อนใหญ่ทำให้เด็กเจ็บก้น

3. กรดไหลย้อน

สำหรับเด็กเล็กมักจะร้องไห้งอแง กวนบ่อย มีอาการสำรอก อาเจียนออกทางจมูก ทางปาก สำหรับเด็กโต ปวดแสบยอดอก หรือปวดท้องที่ลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว

4. อาหารเป็นพิษ

เด็กจะปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นเนื้อเละ ๆ หรือน้ำ มีอาการไข้ และอาเจียนร่วมด้วย

5. ลำไส้และกระเพาะอาหารอักเสบ

อาการลำไส้อักเสบเด็ก จะมีอาการปวดท้องเป็นพัก ๆ พร้อมกับถ่ายเป็นมูก หรือมูกเลือดหลายครั้ง อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ส่วนกระเพาะอาหารอักเสบเด็ก จะมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงด้านซ้าย หรือปวดที่ลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน

6. มีแผลในกระเพาะอาหาร

อาการปวดท้องคล้ายกระเพาะอาหารอักเสบ ปวดท้องใต้ชายโครงด้านซ้าย ปวดลิ้นปี่ มักจะปวดท้องรุนแรงจนนอนไม่ได้ ปวดจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ในเด็กโตอาจมีอาการแสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย

7. แพ้อาหาร

ในเด็กบางรายอาจมีอาการแพ้อาหารในเด็ก เช่น ไข่ นม ถั่ว หรืออาหารทะเล ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองต่ออาหารผิดปกติ เด็กจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน คลื่นไส้ ปากบวม หน้าบวม มีผื่นขึ้นตามตัว อาจส่งผลรุนแรงทำให้แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ไปจนถึงหมดสติได้

 

อาการเด็กปวดท้องบิด กับ ปวดท้องธรรมดา

อาการปวดท้องบิด และปวดท้องธรรมดาในเด็ก จะมีอาการแตกต่างกัน อาการปวดท้องบิด จะปวดท้องเกร็ง ส่วนอาการปวดท้องธรรมดาทั่วไป จะมีลักษณะปวดเสียด ปวดตื้อ ๆ ซึ่งอาการปวดท้องสองแบบนี้ จะมีลักษณะต่างกัน คือ

1. อาการปวดท้องทั่วไป

จะมีลักษณะปวดตื้อ ๆ ปวดเสียด ปวดบิดเป็นบางครั้ง จะปวดแค่ไม่กี่นาที แล้วหายปวด หรืออาจปวดท้องไม่หาย ซึ่งตำแหน่งและลักษณะของการปวดท้องนี้ จะทำให้ทราบโรคที่เกิดขึ้นได้ โดยการวินิจฉัยจากแพทย์

2. อาการปวดท้องบิด

ปวดท้องเกร็ง เป็นอาการที่ทำให้ปวดเกร็งหรือปวดบีบภายในช่องท้องเป็นระยะ อาการปวดท้องบิด ปวดท้องเกร็งนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ปัญหาสุขภาพทั่วไป ไปจนถึงโรคเรื้อรัง ซึ่งอาการปวดมีหลายระดับ พบได้ทั้งระดับที่ไม่รุนแรง ปานกลาง และระดับที่รุนแรงมาก

 

อาการร่วมเด็กปวดท้องบิด ที่ต้องรีบไปพบแพทย์

 

อาการร่วมเด็กปวดท้องบิด ที่ต้องรีบไปพบแพทย์

เด็กปวดท้องบิด ปวดท้องเกร็ง มักจะมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ หรือมีโรคเรื้อรัง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ ลูกมีไข้สูง อาเจียน ร้องไห้ ไม่สบายตัว ถ่ายเหลว ถ่ายปนเลือด มีเหงื่อออกมาก ไม่ยอมกินนม กินอาหาร มีภาวะขาดน้ำ หากเด็กปวดท้องบิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

  • มีไข้สูง หนาวสั่น
  • อาเจียน คลื่นไส้ ไม่หยุด เซื่องซึม อ่อนเพลีย
  • หน้าแดงอย่างเห็นได้ชัด กำมือแน่น ชูเข่าสูง
  • ร้องไห้บ่อย และร้องนานเป็นชั่วโมงต่อครั้ง ร้องไห้เสียงสูง เสียงดัง หน้าท้องเกร็ง
  • มีท่าทางหงุดหงิด ไม่สบายตัว แน่นท้อง ปวดท้อง
  • มีอาการท้องแข็ง
  • ถ่ายเหลวหลายครั้ง
  • ถ่ายปนเลือด อุจจาระมีเลือดออกมา
  • มีเหงื่อออกมาก ตัวซีดเหลือง
  • ท้องบวมกดแล้วรู้สึกเจ็บ
  • ไม่ยอมดื่มนม ดื่มน้ำ ไม่กินอาหาร
  • มีภาวะขาดน้ำ ปัสสาวะน้อย น้ำตาน้อย ปากแห้ง ตาโหล
  • ผื่นขึ้นตามตัว

 

ทารกปวดท้องบิดทำไงดี พ่อแม่ควรรับมือยังไง

ทารกปวดท้องบิด เกิดจากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเรียนรู้วิธีการรับมือช่วยดูแลลูกน้อยอย่างถูกวิธี หลังกินนมควรจับลูกเรอ นวดท้องลูกเพื่อช่วยไล่ลม เลือกจุกนมที่ให้ลูกกินนมแม่จากขวดอย่างช้า ๆ หากมีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ทันที คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือ ช่วยลูกลดอาการปวดท้อง ดังนี้

  1. จับลูกเรอ เพื่อให้สบายท้อง: อุ้มลูกเรอ ในท่าที่ถูกต้อง เพื่อไล่ลมที่อัดแน่นในท้องลูก
  2. นวดท้องให้ลูก: นวดทวนเข็มนาฬิกา ช่วยไล่ลมในท้อง กระตุ้นระบบการย่อยอาหาร
  3. เลือกจุกนมที่ทำให้นมไหลช้า: เพื่อป้องกันอากาศไหลผ่านจุกนม เพื่อให้ลูกกลืนอากาศให้น้อยที่สุด
  4. สังเกตอาการผิดปกติของลูก: หากอาการปวดท้องไม่ดีขึ้น รุนแรงขึ้น ร่วมกับมีอาการผิดปกติต่าง ๆ พ่อแม่ไม่ควรรอช้า รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

 

ทารกปวดท้องบิด เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นได้ทั่วไป ส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นอันตราย แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรหมั่นสังเกตอาการให้ดี ว่ามีอาการปวดท้องในระดับไหน และไม่ชะล่าใจซื้อยาให้ลูกกินเอง หากลูกมีความผิดปกติควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้ลูกทานยาหรือรับการรักษาภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น เพื่อลดปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ ที่จะแทรกซ้อนตามมาได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. อาการปวดเกร็งท้อง, โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
  2. อาการปวดท้องในเด็กที่ควรพามาพบแพทย์ทันที, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  3. ลูกร้องโคลิค, โรงพยาบาลสมิติเวช
  4. เด็กปวดท้อง 8 สาเหตุและวิธีดูแลอาการเบื้องต้น, Pobpad
  5. อาการปวดท้อง (ABDOMINAL PAIN), โรงพยาบาลวิภาราม
  6. อาการปวดท้องในเด็กที่ควรพามาพบแพทย์ทันที, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  7. ทำความรู้จัก ภาวะโคลิค อาการเป็นแบบไหน?, โรงพยาบาลศิครินทร์
  8. รับมืออย่างไร เมื่อลูกน้อยเป็นโคลิค (Colic), Premiere Home Health Care โรงพยาบาลธนบุรี
  9. ท้องอืดในทารก รับมืออย่างไร, Pobpad

อ้างอิง ณ วันที่ 15 กันยายน 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม
บทความ
ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม

ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม

ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม ทารกเหงื่อออกหัวแบบไหน ควรรีบไปพบแพทย์ พร้อมวิธีสังเกตและวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกเหงื่อออกหัวมาก

5นาที อ่าน

View details ตุ่มขาวในปากทารก คืออะไร ลูกมีตุ่มขาวในปาก ดูแลทารกยังไงดี
บทความ
ตุ่มขาวในปากทารก คืออะไร ลูกมีตุ่มขาวในปาก ดูแลทารกยังไงดี

ตุ่มขาวในปากทารก คืออะไร ลูกมีตุ่มขาวในปาก ดูแลทารกยังไงดี

ตุ่มขาวในปากทารก เกิดจากอะไร ลูกมีตุ่มขาวในปาก อันตรายกับลูกไหม ลูกน้อยมีตุ่มขาวในปากปกติไหม พร้อมวิธีป้องกันและรับมือเมื่อลูกน้อยมีตุ่มขาวในปาก

5นาที อ่าน

View details ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม
บทความ
ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม

ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม

ทารกชอบแลบลิ้น เกิดจากอะไร เด็กแรกเกิดแลบลิ้นบ่อยผิดปกติไหม อาการแบบไหนบ้างที่คุณแม่ควรสังเกตลูกน้อย เมื่อทารกแลบลิ้นบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยที่ถูกต้อง

5นาที อ่าน

View details วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้
บทความ
วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

การเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน พ่อแม่มือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูวิธีดูแลทารกแรกเกิดและการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้นกัน

7นาที อ่าน

View details เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง
บทความ
เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี คุณแม่มือใหม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง การเปลี่ยนผ้าอ้อมลูกขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง เวลาไหนถึงเหมาะสมที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี
บทความ
ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน เกิดจากอะไรได้บ้าง ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืนอันตรายไหมคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกมีเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน

2นาที อ่าน

View details เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี
บทความ
เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี

เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี

เชื้อราในปากทารก เกิดจากอะไร ลูกน้อยมีเชื้อราในปาก อันตรายไหม เด็กทารกจะมีอาการอย่างไร หากลูกน้อยมีเชื้อราในปาก พร้อมวิธีดูแลและป้องกันเชื้อราในปากเด็ก

5นาที อ่าน

View details โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า
บทความ
โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

8นาที อ่าน

View details พังผืดใต้ลิ้นทารก ปัญหาพังผืดของลูกที่พ่อแม่ควรระวัง
บทความ
พังผืดใต้ลิ้นทารก ปัญหาพังผืดของลูกที่พ่อแม่ควรระวัง

พังผืดใต้ลิ้นทารก ปัญหาพังผืดของลูกที่พ่อแม่ควรระวัง

พังผืดใต้ลิ้นทารก เกิดจากอะไร พังผืดใต้ลิ้นลูก หากปล่อยเอาไว้จะอันตรายกับเด็กทารกไหม ลูกน้อยมีพังผืดใต้ลิ้นจะมีอาการอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

5นาที อ่าน

View details ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม
บทความ
ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details เด็กอมมือ เด็กดูดนิ้ว เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกดูดนิ้ว
บทความ
เด็กอมมือ เด็กดูดนิ้ว เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกดูดนิ้ว

เด็กอมมือ เด็กดูดนิ้ว เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกดูดนิ้ว

เด็กอมมือ เด็กดูดนิ้ว เกิดจากอะไร ทำไมลูกน้อยถึงชอบอมมือตัวเอง หากลูกเอามือเข้าปากบ่อย จะเป็นอันตรายกับสุขภาพของลูกไหม พร้อมวิธีช่วยให้ลูกเลิกดูดนิ้ว

7นาที อ่าน

View details 4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง
บทความ
4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก

4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง

อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็กสำคัญอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการช้า ทั้งร่างกาย สมองและอารมณ์ ไปดูอาหารเสริมธาตุเหล็กที่สำคัญกับลูกน้อยกัน

5นาที อ่าน

View details อุ้มลูกบ่อย เด็กติดมือคุณแม่จริงไหม ลูกติดมือแก้ยังไง
บทความ
อุ้มลูกบ่อย เด็กติดมือคุณแม่จริงไหม ลูกติดมือแก้ยังไง

อุ้มลูกบ่อย เด็กติดมือคุณแม่จริงไหม ลูกติดมือแก้ยังไง

อุ้มลูกบ่อย ทำให้ลูกติดมือคุณแม่จริงไหม สาเหตุที่เด็กติดมือ เกิดจากอะไรได้บ้าง ไม่อยากให้ลูกติดอุ้มหรือติดมือ ควรทำอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันลูกติดมือ

7นาที อ่าน

View details ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
บทความ
ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

ลูกมีเสลดในคอทำไงดี เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลูกน้อยมีเสมหะในคอเยอะ คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีเคาะปอดอย่างถูกวิธีและวิธีช่วยให้ลูกขับเสมหะออก

6นาที อ่าน

View details ทารกควรอาบน้ำกี่โมง อาบน้ำทารกตอนไหนดี พร้อมวิธีที่ถูกต้อง
บทความ
ทารกควรอาบน้ำกี่โมง อาบน้ำทารกตอนไหนดี พร้อมวิธีที่ถูกต้อง

ทารกควรอาบน้ำกี่โมง อาบน้ำทารกตอนไหนดี พร้อมวิธีที่ถูกต้อง

ทารกควรอาบน้ำกี่โมง คุณแม่มือใหม่อาบน้ำทารกตอนไหนดีที่สุด ให้ลูกสะอาดและสุขภาพผิวดี อาบน้ำให้ลูกบ่อยเกินไป ลูกจะป่วยไหม ไปดูวิธีอาบน้ำลูกน้อยที่ถูกต้องกัน

6นาที อ่าน