อึลูกกินนมแม่กับอึลูกกินนมผง ต่างกันอย่างไร??!!

อึลูกกินนมแม่กับอึลูกกินนมผง ต่างกันอย่างไร ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

อึอึ๊นี้สามารถช่วยตรวจสอบและส่งสัญญาณให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ถึงสุขภาพของลูกว่าปกติหรือไม่ได้นะคะ ไปดูกันค่ะว่า อึลูกมีแบบไหนบ้าง อึลูกกินนมแม่กับอึลูกกินนมผง ต่างกันอย่างไร 

headphones
อ่าน 2 นาที

คุณแม่และคุณพ่ออย่าพึ่งทำหน้าตกใจไปค่ะ อึของเจ้าตัวน้อยไม่น่ากลัวหรือน่าขยะแขยงขนาดนั้นค่ะ แต่ในทางกลับกันเจ้าอึอึ๊นี้ก็สามารถช่วยตรวจสอบและส่งสัญญาณให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ถึงสุขภาพของลูกว่าปกติหรือไม่ได้นะคะ ไปดูกันค่ะว่า อึลูกมีแบบไหนบ้าง อึลูกกินนมแม่ กับ อึลูกกินนมผง ต่างกันอย่างไร 

 

อุจจาระของเด็กแรกคลอด

อุจจาระของทารกแรกเกิดจะมีสีเขียวเข้ม (เรียกว่า meconium) ซึ่งเป็นเรื่องปกติของทารกหลังคลอดและอุจจาระจะมีสีเขียวเข้มนี้อีกไม่กี่ครั้ง เด็กเล็กสามารถอุจจาระได้หลายครั้งทุกวันค่ะ เป็นสัญญาณที่ดีที่ลูกน้อยได้รับอาหารหรือของเหลวทั้งหมดที่ต้องการและขับถ่ายออกมาค่ะ ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่สามารถใช้การสังเกตจำนวนครั้งในการขับถ่ายในแต่ละวันถ้ากินมากจำนวนครั้งในการขับถ่ายก็จะมาก หรือกินน้อยจำนวนครั้งก็น้อยตามกันไปถือว่าปกติค่ะ 



 อุจาระของเด็กที่กินนมแม่

อุจจาระจะไหลออกมาคล้ายๆกับการบีบมัสตาร์ดออกจากขวดไหลออกมาต่อเนื่องกัน นิ่ม และมีสีเหลืองสีส้มหรือสีเขียวในบางครั้ง จำนวนในการถ่ายจะไม่ถี่มากนักต่อวัน มีกลิ่นไม่แรงมากนักแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่คุณแม่รับประทานด้วย เพราะเรามักจะเคยได้ยินว่า "แม่กินอะไร ลูกก็กินอันนั้นเหมือนกัน" โดยส่งต่อผ่านทางนมที่ลูกน้อยกิน


 อุจาระของเด็กที่กินมผง


ลักษณะจะไหลออกมาเป็นก้อนมากขึ้น ไม่นิ่มมาก มีสีเทาเหลือง (หรือแม้กระทั่งสีเทาสีฟ้า) หรือสีน้ำตาลถ้ามีการปรับเปลี่ยนสูตรของนมผงก็มีผลต่อจำนวนครั้งในการถ่ายลักษณะของก้อนอุจจาระได้ด้วยเช่นกันค่ะ

 

อุจาระของเด็กที่เริ่มทานอาหารแล้ว 


ลักษณะจะเป็นก้อนค่อนข้างแข็ง จำนวนในการขับถ่ายน้อยลง บางครั้งอาจจะมาอาหารที่ยังไม่ย่อยปนออกมาเป็นชิ้นๆเพราะระบบการย่อยอาหารของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่


ถ้าอุจจาระของลูกน้อยมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากนี้นั้น สามารถบอกให้คุณพ่อคุณแม่รู้ได้ว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกน้อยแล้วค่ะ เช่น.....

อึนมผง อึนมแม่
  •  อาการท้องผูก

จะขับถ่ายออกมายากเพราะอุจจาระแข็งมากอาจทำให้มีเลือดติดออกมาได้เนื่องจากลูกพยายามผลักดันให้อุจจาระออกมาควรรีบไปปรึกษาแพทย์ อาการท้องผูกมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในทารกที่กินนมขวดซึ่งในการชงนมอาจจะใส่น้ำไม่เพียงพอตามสูตรของนมชนิดนั้นๆๆ แต่! ถ้าลูกน้อยมีการพยายามขับให้อุจจาระออกมาจนหน้าแดง หรือแม้กระทั้งร้องไห้ขณะที่กำลังขับถ่ายอยู่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าท้องผูกเสมอไปนะคะ
 

  •  อาการท้องเสีย

เมื่อลูกน้อยมีการขับถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นและที่สำคัญลักษณะไหลออกมาเป็นน้ำไม่เป็นก้อน และถ้ามีอาการอาเจียนร่วมด้วยอาจจะเกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำของร่างกายค่ะ

 

  • อุจจาระมีสีซีด

ถ้าลูกน้อยของคุณเกิดอาการตัวเหลือง ทำให้อุจจาระมีสีซีดขาวเทาหรือสีเหลืองอ่อนมาก ลูกน้อยของคุณอาจมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน !


เห็นมั้ยคะว่าอุจจาระก็มีประโยชน์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยครั้งต่อไป อย่าลืม ! สังเกตลักษณะต่างๆของอุจจาระ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยของคุณ

 


บทความเกี่ยวข้อง 

รวมบทความน้ำนมแม่

 

อ้างอิง

https://raisingchildren.net.au/guides/a-z-health-reference/poos-wees

บทความแนะนำ

สีอึของลูกบอกอะไรแม่ได้บ้าง อึแบบนี้ลูกแฮปปี้หรือไม่ อึได้แบบไหนบอกสัญญาณร้ายสุขภาพลูก

สีอึของลูกบอกอะไรแม่ได้บ้าง อึแบบนี้ลูกแฮปปี้หรือไม่ อึได้แบบไหนบอกสัญญาณร้ายสุขภาพลูก

อึแบบนี้ลูกแฮปปี้หรือไม่ อึได้แบบไหนบอกสัญญาณร้ายสุขภาพลูก ทุกครั้งที่ลูกขับถ่าย คุณแม่รู้มั๊ยว่าสีและลักษณะอึของลูกนั้น สามารถที่จะบ่งบอกถึงสุขภาพของเค้าได้ สีหรือลักษณะอึทารกจะเปลี่ยนแปลงได้จากการดื่มนมแม่หรือนมผงและการได้เริ่มกินอาหารหรือแม้แต่การเกิดความผิดปกติกับร่างกาย เรามาดูค่ะว่าอึของเจ้าตัวน้อยบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง 

ทารกท้องเสียจากน้ำนมแม่

ลูกถ่ายเหลวจนก้นแดง เป็นสิบครั้ง ทั้งที่กินนมแม่อย่างเดียว : ทารกท้องเสียจากน้ำนมแม่

ทารกท้องเสียจากน้ำนมแม่ ลูกถ่ายเหลว จนก้นแดง เป็นสิบครั้ง ทั้งที่กินนมแม่อย่างเดียว ผิดปกติหรือเปล่า กับอาการของลูกรัก กินนมแม่ทีปู๊ดป๊าด ท้องเสียตลอด ลูกถ่ายจนก้นแดงไปหมดแล้ว แม่นี้สงสาร แม่ต้องทำยังไง   

ทารกถ่ายแข็ง อุจจาระแข็ง ถ่ายยาก มีลักษณะอย่างไร ดูแลรักษาอย่างไร

ทารกถ่ายแข็ง อุจจาระแข็ง ถ่ายยาก มีลักษณะอย่างไร

ภาวะท้องผูก หรือ ทารกถ่ายแข็ง (Constipation) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็ก และเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยความหมายของท้องผูกอาจจะแตกต่างกันระหว่างมุมมองของผู้ดูแลกับแพทย์