พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่-19

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19

 พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19

headphones
อ่าน 3 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19

 

คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บท้องน้อยบริเวณเหนือขาหนีบ เนื่องจากมดลูกที่ยืดขยายใหญ่นั้น จะดึงเส้นเอ็นที่ยึดมดลูกให้ยืดขยายขึ้นมาก ในขณะที่บริเวณยอดมดลูกไม่ได้ยึดกับอะไร เวลาเดิน มดลูกส่วนบนย่อมมีการโยกเอน และทำให้เอ็นด้านล่างเสมือนถูกดึงสลับไปมาด้วย ดังนั้น จึงมีอาการเจ็บแปล๊บๆ ได้ง่าย เวลาเดินหรือลุกเปลี่ยนท่า ซึ่งไม่น่ากังวลและไม่ต้องทานยาแก้ปวดนะคะ เนื่องจากเป็นการปวดจากสรีระที่เปลี่ยนแปลง การทานยามากๆ อาจก่อผลเสียได้ คุณแม่สามารถปรับท่านอน โดยนอนงอเข่าและสะโพก หรือหาหมอนหนุน และสวมกางเกงในหรือกางเกงที่คอยพยุงหน้าท้องไม่ให้โย้ไปด้านหน้าหรือด้านข้างจนเกินไปนัก ก็จะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้

 

พัฒนาการลูก

ส่วนประสาทไขสันหลังพัฒนาต่อเนื่อง เริ่มหนาตัวขึ้น เซลล์สมองเพิ่มจำนวนขึ้น และน้ำหนักลูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ลูกมีความยาวประมาณ 23 ซม. ผนังหน้าท้องลูกเริ่มปิดสมบูรณ์

 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19

Tips 

  • นอกจากการรับประทานอาหารในกลุ่มโปรตีนแล้ว กรดไขมันจำเป็นที่คุณแม่ท้องควรได้รับ เช่น       โอเมก้า 3 ก็มีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาท และสายตาของลูก และถ้าพูดถึงอาหารที่ให้ทั้งสองอย่างได้ดี และยังให้แคลเซียมด้วย ก็คือปลา คุณแม่สามารถคิดค้นเมนูปลาที่หลากหลาย  ได้แก่

               ** ปลาผัดขิง : คุณแม่สามารถเลือกใช้ปลากระพง ซึ่งให้ DHA ช่วยบำรุงสายตาลูก และใส่ผัก เช่น คื่นช่าย ช่วยดับกลิ่นคาว เพราะแม่ท้องบางท่านแพ้ท้อง จะไม่ชอบทานปลา การผัดขิงนอกจากจะช่วยเรื่องดับกลิ่นคาวปลาแล้ว ขิงยังช่วยเรื่องลดอาการแพ้ท้องด้วย
               ** ต้มโคล้งปลากระพง ปลาแซลมอน : คุณแม่อย่าเพิ่งงงนะคะว่าเมนูแปลกจริง เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการแพ้ท้อง คุณแม่มักชอบทานอาหารรสจัด แต่ถ้าเผ็ดมากก็คงไม่ดี ต้มโคล้ง เป็นเมนูที่ลงตัวในแง่ที่มีรสเผ็ดไม่มาก เปรี้ยวๆ หวานๆ เล็กน้อย ทำให้เจริญอาหาร และใส่ปลาเพื่อให้ได้โปรตีน แคลเซียม โอเมก้า อันที่จริง คุณแม่สามารถใส่ไข่ต้ม เพื่อเพิ่มโปรตีน กรดอะมิโน แร่ธาตุ วิตามิน. A B E D ได้อีกด้วย

  • คุณแม่ไม่ควรทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือปรุงไม่สุก เนื่องจากลำไส้คุณแม่ท้องมักอ่อนแอกว่าปกติ เกิดปัญหาท้องเสีย อาหารเป็นพิษได้ง่ายค่ะ

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ  

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1
 

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง