พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24

headphones
อ่าน 3 นาที

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24

 

ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมถึงการทำงานของตับอ่อนด้วย เนื่องจากฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์และจากรก ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตับอ่อนของคุณแม่แย่ลง  จึงมักพบปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงง่ายกว่าขณะไม่ตั้งครรภ์  คุณแม่ที่มีความเสี่ยง ที่จะมีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงจนเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์  ได้แก่ คุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป  หรือมีประวัติคลอดบุตรน้ำหนัก 4,000 กรัมขึ้นไป  รวมถึงเคยมีประวัติตั้งครรภ์ทารกเสียชีวิตในครรภ์, มีประวัติเบาหวานในครอบครัว, ตรวจพบน้ำตาลในเคยปัสสาวะ เป็นต้น

พัฒนาการลูก

ลูกมีความยาว 33 ซม. พัฒนาการ การได้ยินดีขึ้นมาก เริ่มลืมตาได้ และผิวหนังหนาตัวขึ้น แต่ยังไม่หนาแบบผิวที่เราคุ้นเคย จะยังเป็นลักษณะโปร่งใส เห็นเป็นเส้นเลือดอยู่

 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24


Tips

 

  • คุณแม่ที่มีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะได้รับการตรวจเลือดคัดกรองตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ และที่อายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ ด้วยการดื่มน้ำตาล 50 กรัม (โดยไม่ต้องงดน้ำและอาหารมาก่อน) จากนั้นรอ 1 ชม. เจาะเลือดประเมินระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งหากค่าผิดปกติ คือตั้งแต่ 130 mg/dl จะต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยการงดน้ำงดอาหารและมาตรวจตอนเช้า ด้วยวิธีการเจาะเลือด และหลังจากนั้นให้ดื่มน้ำตาล 100 กรัม แล้วรอเจาะเลือดที่     1-3 ชม. หลังการดื่มน้ำตาล  หากพบว่าค่าที่ผิดปกติ ก็จัดว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จริงซึ่งคุณหมอจะเริ่มดูแลจากการให้ควบคุมอาหารก่อน และให้คุณแม่ฝึกตรวจระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง ว่าการควบคุมเป็นไปอย่างได้ผลหรือไม่ ซึ่งหากพยายามควบคุมแล้วไม่ได้ผล จะต้องรักษาด้วยการฉีดยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • น้ำตาลในเลือดสูงจัดเป็นภัยเงียบ เพราะคุณแม่จะไม่มีอาการบ่งชี้อะไร แต่น้ำตาลที่สูงจะถูกส่งผ่านกระแสเลือดจากคุณแม่ผ่านรกไปยังร่างกายลูก และกระตุ้นการทำงานตับอ่อนของลูก ซึ่งส่งผลได้ทั้ง ทำให้ลูกมีน้ำหนักมากผิดปกติ ร่างกายผิดสัดส่วน ลูกมีระดับน้ำตาลต่ำแรกคลอด หรือแม้แต่เสียชีวิตในครรภ์ได้หากระดับน้ำตาลสูงมาก
  • นักโภชนาการมีบทบาทมากในการช่วยคิดเมนูจำกัดน้ำตาลและแป้งให้คุณแม่ แม้แต่ผลไม้ก็ควรเลือกทานผลไม้ที่มีกากใย และดัชนีน้ำตาลต่ำ ไม่รู้สึกหวานฉ่ำ เช่น แอปเปิ้ลเขียว เชอรี่ ลูกแพร์ เป็นต้น

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง