อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 16 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 16 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

04.03.2020

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16 

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 16 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 2 นาที

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16 

 

เป็นช่วงอายุครรภ์ในสัปดาห์ที่ 16 นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ได้แก่

  • อาการแพ้ท้องมักหายไป คุณแม่เริ่มปรับตัวกับการเลือกรับประทานอาหารได้มากขึ้น จัดสูตรอาหารที่มีประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย และเริ่มดูแลให้น้ำหนักคุณแม่ขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม ได้ตามเกณฑ์
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่ 2ขึ้นไป จะเริ่มรู้สึกลูกในท้องดิ้นให้คอยสังเกตได้แล้วค่ะ
  • คุณแม่สามารถเริ่มทำฟันได้ค่ะ เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรก หลายท่านยังมีอาการแพ้ท้อง เวลาไปทำฟัน มีโอกาสกระตุ้นการอาเจียนและสำลักได้ เมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ อาการต่างๆ ดีขึ้น จึงเหมาะที่จะไปทำฟันค่ะ
  • ในคุณแม่ที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยตั้งครรภ์แล้วลูกในท้องผิดปกติ หรือมีประวัติความผิดปกติทางโครโมโซมคุณหมอจะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อนำเซลล์ที่อยู่ในน้ำคร่ำไปตรวจโครโมโซมของลูกว่ามีความผิดปกติทางโครโมโซมหรือไม่ ซึ่งจะเริ่มเจาะขณะอายุครรภ์ 16 สัปดาห์นี้เอง

 

นอกจากนี้ในคุณแม่และคุณพ่อที่เป็นพาหะโรคเลือดจาง (ธาลัสซีเมีย) ทั้งคู่ชนิดที่ทำให้ลูกมีโอกาสเป็น   โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงก็สามารถวินิจฉัยความผิดปกตินี้ของลูกด้วยการตรวจเซลล์ในน้ำคร่ำที่อายุครรภ์นี้เช่นกัน


พัฒนาการลูก 

ลูกเริ่มมีขนอ่อนขึ้น ระบบประสาทเริ่มสร้างปลอกหุ้มรอบใยประสาท เพื่อส่งเสริมการทำงานส่งสัญญาณเชื่อมต่อกันของระบบประสาท ลูกมีความยาวประมาณ 16 ซม. และคุณแม่ครรภ์หลังจะเริ่มรู้สึกลูกดิ้นที่อายุครรภ์นี้

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16


Tips 
           

  • ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ คุณหมอจะทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อวัดขนาดทารก ยืนยันอายุครรภ์ ประเมินตำแหน่งรก น้ำคร่ำ เพื่อเลือกตำแหน่งในการเจาะ จากนั้นใช้เข็มขนาดเล็กมาก แทงผ่านหน้าท้องคุณแม่ผ่านผนังมดลูกเข้าไปในถุงน้ำคร่ำเพื่อดูดน้ำคร่ำออกมา ซึ่งการตรวจจะอยู่ภายใต้การอัลตร้าซาวด์ เพื่อประเมินตำแหน่งที่ปลอดภัยในการเจาะ ไม่ให้เข็มบาดเจ็บถูกตัวลูก 
  • หลังเจาะน้ำคร่ำ คุณแม่ควรนอนพักประมาณ 30-45 นาที จากนั้นคุณหมอจะทำอัลตร้าซาวด์อีกครั้ง เพื่อประเมินหัวใจทารก รวมถึงรกและน้ำคร่ำ ว่ามีเลือดออกหรือมีการบาดเจ็บจากการเจาะน้ำคร่ำหรือไม่ ทั้งนี้ คุณแม่ควรนอนพักหลังการเจาะน้ำคร่ำ งดกิจกรรม งดการออกกำลังกาย และหากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง หรือเลือดออกควรรีบมาโรงพยาบาล

 


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์กินสับปะรดได้หรือเปล่า กินมากไปอันตรายกับทารกในครรภ์ไหม กินแล้วเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน คุณแม่มือใหม่รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออย่างไรดี หากมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม คำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย ชาไทยมีคาเฟอีนไหม กินทุกวันอันตรายหรือเปล่า ไปดูวิธีดื่มชาเย็นแบบปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายสำหรับทารกในครรภ์กัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ช่วงไหนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม ไปดูสาเหตุ อาการและวิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคามเบื้องต้น