ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ที่คุณแม่ต้องรู้

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ที่คุณแม่ต้องรู้

14.03.2024

ประจำเดือนที่ขาดไปมักเป็นสัญญาณแรก ๆ ที่บ่งบอกว่าผู้หญิงอาจกำลังตั้งครรภ์ หลังท้องได้ 1 สัปดาห์ คุณแม่อาจสังเกตเห็นอาการต่าง ๆ เช่น รู้สึกเหนื่อย คัดตึงเต้านม  อารมณ์แปรปรวน ปวดหลัง และยังมีอาการอื่น ๆ ของการตั้งครรภ์ อีกมากมายที่หลาย ๆ คนอาจรู้สึกทันทีแต่มีคุณแม่อีกหลายคนที่แทบไม่รู้ตัวเลย ทำให้คนท้องที่เพิ่งตั้งครรภ์มักจะมีความรู้สึกกังวล ตื่นเต้น กลัว หรือวิตกกังวลมากมาย เมื่อรับรู้ถึงชีวิตเล็ก ๆ ที่อยู่ในท้อง อาการท้อง 1 สัปดาห์ ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างนะ

headphones

PLAYING: ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ที่คุณแม่ต้องรู้

อ่าน 7 นาที

สรุป

  • การตรวจการตั้งครรภ์เป็นการตรวจหาฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ที่เริ่มสร้างขึ้นหลังการปฏิสนธิของอสุจิและไข่ ซึ่งคุณแม่สามารถใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์เพื่อตรวจสอบการตั้งครรภ์ได้หลังจากประจำเดือนขาดไปประมาณ 1 สัปดาห์ หากคุณแม่ยังตรวจไม่พบการตั้งครรภ์ควรลองตรวจอีกครั้งในสัปดาห์ถัดไป
  • อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ที่พบได้ทั่วไปประกอบไปด้วย ประจำเดือนขาด ปวดท้อง มีเลือดออกจากช่องคลอด ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก เบื่ออาหาร ปวดหัว คัดตึงหน้าอก และอารมณ์แปรปรวน
  • เมื่อคุณแม่ตั้งท้อง 1 สัปดาห์ ควรดูแลตัวเองโดยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ งดการดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้กับคนสูบบุหรี่ และควรรีบไปฝากครรภ์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลครรภ์จากคุณหมอ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การตรวจการตั้งครรภ์เป็นการตรวจหาฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) หรือฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่สร้างขึ้นจากรกหลังการปฏิสนธิของอสุจิและไข่จนเป็นตัวอ่อนโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 6 วัน หลังจากนั้นระดับฮอร์โมนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุก 2-3 วัน หากคุณแม่ต้องการตรวจดูว่าตนเองท้อง 1 สัปดาห์หรือไม่ สามารถใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจเองได้หลังจากประจำเดือนขาดไปประมาณ 1 สัปดาห์ ถ้าระดับฮอร์โมนของคุณแม่มีความเข้มข้นมากพอ คุณแม่อาจตรวจพบการตั้งครรภ์ได้เลยตั้งแต่สัปดาห์แรก อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ยังตรวจไม่พบการตั้งครรภ์สามารถตรวจอีกครั้งได้ในสัปดาห์ถัดไป ถ้าในสัปดาห์ที่ 2 หลังประจำเดือนขาดแล้วยังตรวจไม่พบ แนะนำให้คุณแม่เข้ารับการตรวจทดสอบการตั้งครรภ์กับแพทย์เพื่อความแม่นยำ

 

จริงไหม คนท้อง 1 สัปดาห์ ไม่มีอาการแพ้ท้อง

อาการคนท้องสามารถเริ่มขึ้นได้ทันทีหลังจากมีการปฏิสนธิได้ 1 สัปดาห์ เช่น อาการเหนื่อยง่าย ประจำเดือนมาช้า สำหรับผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกถึงสัญญาณของการตั้งครรภ์ได้ทันทีที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง แต่ผู้หญิงอีกหลายคนอาจไม่สามารถรับรู้ถึงอาการคนท้องในสัปดาห์แรกได้ เพราะอาการคนท้องแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ แนะนำให้ใช้ชุดตรวจการครรภ์ด้วยตนเองที่บ้าน หรือเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจครรภ์จะดีที่สุด

 

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม คนท้อง 1 สัปดาห์ แพ้ท้องไหม

 

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

เมื่อผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดเป็นอาการคนท้องต่าง ๆ ได้แก่

  • ประจำเดือนขาด อาการประจำเดือนขาดเป็นสัญญาณเตือนของอาการคนท้อง จากการที่ร่างกายได้ผลิตฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ขึ้นมาเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนหลังจากปฏิสนธิ ทำให้ผู้หญิงประจำเดือนขาด
  • ปวดท้อง หลังจากท้อง 1 สัปดาห์ คุณแม่อาจรู้สึกปวดเกร็งบริเวณช่องท้องในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 วัน จากการฝังตัวอ่อนของลูกน้อยบริเวณผนังมดลูกเท่านั้น
  • เลือดออกจากช่องคลอด ผู้หญิงหลายคนพอเห็นว่ามีเลือดออกจากช่องคลอดคิดว่าเป็นเลือดประจำเดือน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เลือดที่ออกมานี้เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ที่ออกมาเล็กน้อยเพียง 1-2 วันเท่านั้น
  • ปัสสาวะบ่อย เมื่อร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส่งผลให้คนท้องปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่อาการนี้ผู้หญิงหลายคนอาจจะรู้สึกได้เมื่อมีการตั้งครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 หรือ 8 ไปแล้ว
  • ท้องผูก ในระหว่างการตั้งครรภ์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายของคุณแม่เริ่มสูงขึ้น ทำให้คนท้องเกิดอาการท้องผูกได้ง่าย ในช่วงนี้คุณแม่ต้องดื่มน้ำเยอะ ๆ และทานผักผลไม้ที่มีกากใยสูงเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกในระหว่างการตั้งครรภ์
  • ท้องอืด คุณแม่ที่เริ่มต้นตั้งครรภ์อาจรู้สึกท้องอืดบ่อย ๆ คล้ายอาการเริ่มเป็นประจำเดือน เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่อาจรู้สึกปวดหัวหรือปวดหลังเล็กน้อย บางคนอาจรู้สึกเวียนหัวบ่อย ๆ
  • คัดตึงหน้าอก อาการคัดตึงหน้าอกเป็นอาการเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ที่คล้ายกับอาการมีประจำเดือน คุณแม่หลายคนจึงรู้สึกว่าหน้าอกเริ่มขยายใหญ่ขึ้นและลานนมมีสีที่เข้มขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน คนท้อง 1 สัปดาห์จะมีอาการคล้ายกับช่วงประจำเดือนมา คุณแม่จึงมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เพราะฮอร์โมนในระยะนี้ที่ไม่สมดุล

 

ทั้งหมดนี้ เป็นอาการคนท้อง 1 สัปดาห์เบื้องต้นที่คุณแม่อาจพบเจอได้ สำหรับบางคนอาจมีอาการแพ้ท้องอื่น ๆ เช่น จมูกไวต่อกลิ่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปากขม หรืออยากอาหารมากขึ้นกว่าปกติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คนท้องในระยะแรกอาจมีการแสดงบางอาการเท่านั้นหรือบางคนอาจไม่มีอาการของคนท้องเกิดขึ้นเลยก็เป็นไปได้

 

ท้อง 1 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

ท้องของคนท้อง 1 สัปดาห์อาจยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เนื่องจากทารกยังเป็นเพียงตัวอ่อนขนาดเล็ก หลังจากนั้นพุงจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นโดยจะยื่นออกมาเรื่อย ๆ เมื่อลูกน้อยในท้องมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น

 

ท้อง 1 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 1 สัปดาห์ มีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดตัวและรูปร่างคล้ายกับวุ้นไข่เลย

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 1 สัปดาห์

  • ไข่จะเจริญเติบโตไปเป็นตัวอ่อนหลังจากปฏิสนธิได้แล้ว 5-7 วัน
  • มีการสร้างรกและสายสะดือ เพื่อลำเลียงอาหารและขับของเสีย
  • รอบ ๆ ลูกน้อยจะมีถุงน้ำห่อหุ้มอยู่ที่เรียกว่า “amniotic sac” เพื่อปกป้องลูกน้อย

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์

1. เปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเมื่อรู้ว่าท้อง

การตั้งครรภ์อาจทำให้คนท้องมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการดื่มแอลกอฮอล์เพราะอาจส่งผลทำให้ลูกน้อยในท้องพิการ หรืออันตรายถึงชีวิตได้ รวมถึงการทานอาหารที่มีเกลือ น้ำตาล หรือไขมันที่มากเกินไป และอาหารแปรรูปต่าง ๆ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกน้อยในท้องพัฒนาการที่ล่าช้าได้

 

2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

คุณแม่ควรรับประทานอาหารคนท้องไตรมาสแรก ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอต่อร่างกาย รวมถึงรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างร่างกายและระบบประสาทของลูกน้อย เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโฟเลต จากอาหารจำพวกผัก ผลไม้ เต้าหู้ เนื้อสัตว์สีแดง ไข่ และนมไขมันต่ำ

 

3. เลิกสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทันที

คนท้องควรงดการสูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้กับคนสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ที่อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนลดน้อยลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กที่ล่าช้าในอนาคตได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในท้องด้วย

 

4. รีบไปฝากครรภ์

เมื่อคุณแม่ทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ควรรีบไปฝากครรภ์ทันที เพราะคุณหมอจะให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองของคุณแม่และลูกน้อยในท้อง หากคุณแม่มีการตั้งครรภ์ปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุณหมอจะทำการนัดตรวจครรภ์เดือนละครั้ง ในกรณีที่คนท้องมีอาการแพ้ที่รุนแรงหรือมีอาการผิดปกติคุณหมอจะนัดตรวจบ่อยขึ้น เพื่อติดตามอาการของคนท้องและดูแลครรภ์คุณแม่ให้ดีที่สุด

 

หลังจากประจำเดือนขาด หญิงที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์สามารถใช้ที่ตรวจครรภ์มาตรวจทดสอบเองได้ หากพบว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นว่าที่คุณแม่ควรเข้ารับการฝากครรภ์กับคุณหมอทันที พร้อมกับการเริ่มต้นดูแลตนเองตั้งแต่เรื่องการรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ เพื่อให้ลูกน้อยในท้องค่อย ๆ เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

อ้างอิง:

  1. ตรวจครรภ์ได้ตอนไหน, hellokhunmor
  2. ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอ ไหม และวิธีตรวจครรภ์มีอะไรบ้าง, hellokhunmor
  3. Early Pregnancy Symptoms, WebMD
  4. 5 สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์ สังเกตอาการตั้งครรภ์ที่คุณอาจไม่รู้ตัว, pobpad
  5. พุงคนท้องระยะแรก มีลักษณะอย่างไร, hellokhunmor
  6. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  7. เตรียมตัวตั้งครรภ์ วิธีดูแลสุขภาพก่อนตั้งครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  8. สุขใจได้เป็นแม่, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 10 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก