ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

อาการตกเลือดหลังคลอดเป็นยังไง ตกเลือดหลังคลอดอันตรายไหม

อาการตกเลือดหลังคลอดเป็นยังไง ตกเลือดหลังคลอดอันตรายไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ส.ค. 29, 2024
6นาที

ภาวะตกเลือดหลังคลอดนั้น เป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดทุกคน การเฝ้าระวังความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตนเองหลังคลอด ทั้งตอนที่พักฟื้นที่โรงพยาบาล และกลับไปพักฟื้นที่บ้าน เป็นเรื่องที่สำคัญที่ไม่ควรละเลย คุณแม่ควรศึกษาข้อมูล และเตรียมพร้อมรับมือ หากมีภาวะตกเลือดหลังคลอดเกิดขึ้น ให้รีบแจ้งสูติแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจส่งผลรุนแรงกับชีวิตได้

 

สรุป

  • ภาวะตกเลือดหลังคลอดนั้น คือ ภาวะที่เสียเลือดมากหลังการคลอด สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน ไม่ว่าจะคลอดแบบใดก็ตาม สำหรับการผ่าคลอด จะถือว่ามีภาวะตกเลือดหลังคลอด หากมีเลือดออกปริมาณ 1,000 มิลลิลิตรขึ้นไป สำหรับการคลอดธรรมชาติ จะมีเลือดออกประมาณ 500 มิลลิลิตรขึ้นไป
  • ภาวะตกเลือดหลังคลอด มี 2 แบบ คือการตกเลือดแบบเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการคลอดลูก และตกเลือดระยะหลังคลอด เกิดภายหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกไปแล้ว 24 ชั่วโมง ไปจนถึง12 สัปดาห์หลังการคลอดลูก
  • ภาวะตกเลือดหลังคลอด อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ ในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หลังการคลอดเมื่อพักฟื้นที่โรงพยาบาล คุณแม่ควรหมั่นสังเกตให้ดีว่ามีเลือดออกมากผิดปกติหรือไม่ มีอาการวิงเวียน คล้ายจะเป็นลม หน้ามืด ต้องรีบแจ้งให้พยาบาล หรือสูติแพทย์ทราบทันที
  • คุณแม่ที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดในการตั้งครรภ์ท้องแรก อาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดซ้ำอีกได้ในการตั้งครรภ์ถัดไป เมื่อไปฝากครรภ์ คุณแม่ควรรีบแจ้งให้สูตินรีแพทย์ที่ฝากครรภ์ให้ทราบ ว่าเกิดภาวะตกเลือดมา มีปัญหาสุขภาพอะไรที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์บ้าง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ


ตกเลือดหลังคลอด เกิดจากอะไร

ภาวะตกเลือดหลังคลอดนั้น คือ ภาวะที่เสียเลือดมากหลังการคลอดลูก การมีภาวะตกเลือดหลังคลอดนั้น แบ่งเป็น 2 กรณี ตามวิธีคลอด โดยหลังการผ่าคลอดหากมีเลือดออกปริมาณ 1,000 มิลลิลิตรขึ้นไป หรือหลัง การคลอดธรรมชาติ มีเลือดออกประมาณ 500 มิลลิลิตรขึ้นไป ถือว่ามีภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะตกเลือดหลังคลอด มีสาเหตุมาจากหลายกรณีเช่น

  1. มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  2. ปากมดลูก หรือช่องคลอดของคุณแม่มีการฉีกขาด
  3. มีเยื่อหุ้มทารก หรือ เศษรก ค้างอยู่ในโพรงมดลูก
  4. คุณแม่ติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
  5. กล้ามเนื้อมดลูกของคุณแม่หดรัดตัวได้ไม่ดี
  6. คุณแม่มีแขนงเส้นเลือดโป่งพองในโพรงมดลูก

 

ภาวะตกเลือดหลังคลอด มักเกิดขึ้นหลังคลอดกี่ชั่วโมง

1. ตกเลือดเฉียบพลัน

การตกเลือดแบบเฉียบพลันนั้น มักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการคลอดลูก สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี มีเยื่อหุ้มทารก เศษรกค้างในโพรงมดลูก การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือช่องคลอด หรือปากมดลูกฉีกขาด

 

2. ตกเลือดระยะหลัง

การตกเลือดระยะหลังคลอด จะเกิดภายหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกไปแล้ว 24 ชั่วโมง ไปจนถึง12 สัปดาห์หลังการคลอดลูก
สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ คุณแม่ติดเชื้อภายในโพรงมดลูก มีเยื่อหุ้มทารก เศษรกค้างในโพรงมดลูก

 

อาการตกเลือดหลังคลอด ที่คุณแม่ควรสังเกตตัวเอง

คุณแม่ที่มีภาวะตกเลือดหลังการคลอดนั้น จะมีอาการแตกต่างกันไป หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเองหลังคลอด ให้รีบไปพบแพทย์ด่วน อย่ารอช้า หรือชะล่าใจ

  1. มีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ ซึ่งจะเป็นอาการหลักที่พบเจอ
  2. ปวดท้องน้อย ปวดอุ้งเชิงกราน
  3. หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่อิ่ม
  4. เป็นไข้ หนาวสั่น
  5. หน้ามืด อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
  6. ความดันต่ำ ตัวเย็น ผิวซีด
  7. มีความผิดปกติที่ช่องคลอด เช่น ช่องคลอดเจ็บ อักเสบ บวม ช้ำ
  8. กระวนกระวาย สับสน เห็นภาพเบลอ
  9. คลื่นไส้ อาเจียน อาการคล้ายเป็นลม

 

รู้หรือไม่ ภาวะตกเลือดหลังคลอด คุณแม่ต้องเสียเลือดไปเท่าไหร่

 

ภาวะตกเลือดหลังคลอด คุณแม่ต้องเสียเลือดไปเท่าไหร่

ภาวะตกเลือดหลังคลอด เป็นภาวะที่คุณแม่เสียเลือดหลังจากคลอดลูก ประมาณ 500-1,000 มิลลิลิตร หรือมากกว่า ตามวิธีคลอดที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ ภาวะตกเลือดหลังคลอดนี้ สามารถเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการคลอดลูก หรือ เกิดภายหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกไปแล้ว 24 ชั่วโมง ไปจนถึง 12 สัปดาห์หลังการคลอดลูก

 

ตกเลือดหลังคลอด อันตรายถึงชีวิตจริงไหม

ภาวะตกเลือดหลังคลอด อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ ในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่เกิดการเสียเลือดในปริมาณมาก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย ทำให้คุณแม่มีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ โลหิตจาง ช็อก ไปจนถึงเสียชีวิตในที่สุด

 

อาการตกเลือดหลังคลอดแบบไหนอันตรายมาก

ภาวะตกเลือดหลังคลอดที่มีปริมาณการเสียเลือดมาก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการตกเลือดหลังคลอดมีมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่สูญเสียไป โดยมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อาจทำให้ไตวาย เลือดไม่แข็งตัว หรือถึงขั้นวิกฤต ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

 

ภาวะตกเลือดหลังคลอด มีโอกาสเกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกคนไหม

คุณแม่ที่คลอดลูก สามารถเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ทุกคน ไม่ว่าจะคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ หรือผ่าคลอดก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้ ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะที่รุนแรง ควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพราะหากรักษาไม่เหมาะสม ล่าช้า อาจเสี่ยง อันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

คุณแม่ท้องลูกคนที่ 2 มีโอกาสตกเลือดซ้ำไหม

คุณแม่ที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดในการตั้งครรภ์ท้องแรก ในการตั้งครรภ์ท้องถัดไป อาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดซ้ำอีกได้ และจะมีโอกาสตกเลือดหลังคลอดมากขึ้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อตั้งครรภ์ถัดไป คุณแม่ควรรีบแจ้งให้สูตินรีแพทย์ที่ฝากครรภ์ทราบ ว่าเกิดภาวะตกเลือดมา มีปัญหาสุขภาพอะไรที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดบ้าง

 

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อมีอาการตกเลือดหลังคลอด

  1. ลิ่มเลือดทางช่องคลอด หลังการคลอดเมื่อพักฟื้นที่โรงพยาบาล คุณแม่ต้องสังเกตว่า ตนเองมีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นลิ่ม ๆ หรือ มีเลือดออกมากผิดปกติหรือไม่ มีอาการวิงเวียน คล้ายจะเป็นลม หน้ามืด ต้องรีบแจ้งให้สูติแพทย์ทราบทันที
  2. ปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด หลังการคลอดเมื่อพักฟื้นที่โรงพยาบาลครบกำหนดแล้วต้องกลับบ้าน คุณแม่ก็ควรสังเกตตัวเองให้ดีว่า มีปริมาณ และลักษณะเลือดที่ออกมาจากช่องคลอดนั้น เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ หากมีเศษรกค้างในโพรงมดลูก หรือมีการติดเชื้อขึ้นในโพรงมดลูกหลังคลอด คุณแม่อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดมดลูก ปวดท้องน้อย มีไข้ หนาวสั่น หากมีอาการเหล่านี้ ให้คุณแม่รีบไปพบสูติแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และรับการรักษาทันที
  3. น้ำคาวปลาหลังคลอด น้ำคาวปลาของแม่หลังคลอดกับเลือดออกผิดปกติหลังคลอด จะแตกต่างกัน น้ำคาวปลานั้นจะมีสีแดงในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด เมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์ สีของน้ำคาวปลาจะจางลง ปริมาณน้ำคาวปลาจะลดน้อยลง จะไม่มีอาการปวดท้อง หรือมีไข้ หนาวสั่น หากมีอาการเลือดออกผิดปกติที่ไม่ใช่น้ำคาวปลา ควรรีบไปพบแพทย์ตรวจอย่างละเอียด เพื่อรับการรักษาอย่างทันที

 

คุณแม่ท้องใกล้คลอด ควรหาข้อมูลภาวะตกเลือดหลังคลอด และหมั่นสังเกตอาการของตัวเองให้ดี และภายหลังการคลอด หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ที่ส่งสัญญาณว่าอาจตกเลือดหลังคลอด ให้รีบแจ้งสูติแพทย์หรือพยาบาลทันที เพื่อดูแลและรับการรักษา ก่อนการคลอดคุณแม่ควรแจ้งประวัติสุขภาพของตนเองให้สูติแพทย์ทราบให้หมด เพื่อสูติแพทย์จะได้ประเมินความเสี่ยง หากมีความเสี่ยงต่อการแข็งตัวของเลือด แพทย์จะได้เตรียมความพร้อมในการทำคลอดให้อย่างปลอดภัย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ตกเลือดหลังคลอด อันตรายถึงชีวิต, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  2. ภาวะตกเลือดหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้…หลังจากกลับไปบ้าน, โรงพยาบาลพญาไท 3
  3. ภาวะตกเลือดหลังคลอด, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  4. ตกเลือดหลังคลอด (POSTPARTUM HEMORRHAGE), Pobpad

อ้างอิง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง
บทความ
อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอะไรให้ลูกแข็งแรงและมีโภชนาการที่ดี อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 มีเมนูไหนเหมาะกับคุณแม่ท้องบ้าง ไปดูกัน

 

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด 2567 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด 2567 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด 2567 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกุมภาพันธ์ 2567 วันมงคล เวลาดี
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกุมภาพันธ์ 2567 วันมงคล เวลาดี

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกุมภาพันธ์ 2567 วันมงคล เวลาดี

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด กุมภาพันธ์ 2567 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

4นาที อ่าน

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 วันมงคล เวลาดี
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 วันมงคล เวลาดี

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 วันมงคล เวลาดี

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

4นาที อ่าน

View details เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ
บทความ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ไปดูวิธีรับมืออาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์กัน

5นาที อ่าน

View details ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร
บทความ
ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึก ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ เกิดจากอะไร ลูกในท้องสะอึกบ่อยจะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่ วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกในครรภ์หยุดสะอึก

4นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว
บทความ
ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์ คืออะไร ที่ตรวจครรภ์ เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการเช็กว่าท้องหรือยัง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ใช้งานง่าย พร้อมวิธีใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

9นาที อ่าน

View details อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย
บทความ
อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง แต่ไม่มีสักที อาการแบบนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณแม่มือใหม่อยากมีลูก อยากท้อง ต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้มีลูกง่ายขึ้น ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง
บทความ
อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

การอยู่ไฟหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอด ยังจำเป็นอยู่ไหม การอยู่ไฟ มีประโยชน์กับคุณแม่อย่างไร ไปดูวิธีเตรียมตัวเมื่อคุณแม่ต้องอยู่ไฟหลังคลอดกัน

6นาที อ่าน

View details มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม
บทความ
มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันธ์หลังเป็นประจำเดือน 1 วันจะท้องไหม มีเพศสัมพันธ์หลังมีเมนกี่วันถึงท้อง มาทำความเข้าใจเรื่องวงจรการตกไข่ เพื่อประเมินว่ามีเกณฑ์ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย
บทความ
คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้องท่าไหน ปลอดภัยที่สุด

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน และ ท่านอนคนท้อง 8-9 เดือน แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ท้อง ไปดูท่านอนคนท้องที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่กัน

2นาที อ่าน

View details อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน
บทความ
อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงมีความคล้ายกันและมักแยกกันไม่ออก ไปดูความแตกต่างอาการก่อนเมนส์มากับท้อง เพื่อสังเกตอาการเบื้องต้น

7นาที อ่าน

View details เข็มกลัดคนท้องจำเป็นไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง
บทความ
เข็มกลัดคนท้องจำเป็นไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง

เข็มกลัดคนท้องจำเป็นไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง

เข็มกลัดคนท้องสำคัญแค่ไหนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ติดเข็มกลัดคนท้องช่วยป้องกันลูกน้อยจากสิ่งชั่วร้ายได้จริงไหม ไปดูประโยชน์ของเข็มกลัดคนท้องที่คุณแม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว
บทความ
วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม คุณแม่สังเกตได้อย่างไร สัญญาณอะไรที่บอกว่าลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลงอันตรายและอาการแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์

8นาที อ่าน