พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32 

headphones
อ่าน 3 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32 

เนื่องจากมดลูกยืดขยายใหญ่มากขึ้น และทับหลอดเลือดดำใหญ่ในอุ้งเชิงกราน การไหลเวียนกลับของเลือดไม่ดี ทำให้คุณแม่มักมีอาการขาบวม ซึ่งจะบวมชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงบ่ายและค่ำ เมื่อนอนพักและพาดขาสูง ในตอนเช้าตื่นมาก็จะยุบบวม และจะเริ่มบวมอีกครั้งในช่วงบ่ายและเย็น แต่หากคุณแม่มีอาการบวมตั้งแต่เช้า บวมทั้งหน้า เปลือกตา แขน ขา และเป็นต่อเนื่องทั้งวันไม่ยุบ  น้ำหนักขึ้นมากผิดปกติจากการบวม ให้สงสัยว่าเป็นอาการเริ่มแรกของครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ 

 

  • คุณแม่ที่เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ ได้แก่ คุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไป, เป็นการตั้งครรภ์แรกหรือครรภ์แฝด  หรือเคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษมาก่อน หรือในกรณีคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โรคไต เป็นต้น)

 

พัฒนาการลูก


ลูกมีความยาว 40.5 ซม. เริ่มมีพัฒนาการการทำงานของถุงลมปอดมากขึ้นจนเกือบสมบูรณ์ ลูกมีกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น คุณแม่บางท่านที่รูปร่างผอมบาง อาจรู้สึกลูกดิ้นแรงจนเจ็บ หรือเห็นลักษณะมือ เท้าของลูกปูดมาทางผิวหน้งหน้าท้อง

 

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32


Tips

  • การวินิจฉัยครรภ์เป็นพิษ จะตรวจพบภาวะบวมผิดปกติ ทั้งหน้า แขน ขา และน้ำหนักขึ้นมากผิดปกติซึ่งสาเหตุเกิดจากการบวม หรือตรวจพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป หรือเกิดจากตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งเมื่อได้รับการวินิจฉัย  คุณหมอจะอธิบายถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อตัวคุณแม่เองและลูก  ร่วมกับการเฝ้าระวังและรักษา เนื่องจากครรภ์เป็นพิษที่ไม่ได้รับการควบคุมหรือควบคุมไม่ได้ ส่งผลอันตรายต่อชีวิตคุณแม่ เช่น มีอาการชัก เลือดออกในสมอง หรือเสียชีวิตได้ รวมถึงยังส่งผลอันตรายต่อชีวิตลูกในท้อง ทั้งทางตรง และทางอ้อมคือผลแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนด
  • เมื่อได้รับการวินิจฉัย คุณหมอจะเน้นให้คุณแม่นอนพัก งดกิจกรรม และเฝ้าระวังอาการเตือนที่จะบ่งถึงโอกาสที่จะชักหรือพัฒนาเป็นครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง ซึ่งได้แก่ ปวดศีรษะบริเวณขมับ ตุ๊บๆ, จุกแน่นอกเหมือนมีหินมาทับ, ตาพร่ามัว ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมอจะพิจารณาให้ยากันชักจนปลอดภัยและรีบพิจารณายุติการตั้งครรภ์ เพราะเชื่อว่าปัจจัยที่ทำให้มีอาการเกิดจากสารและฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์และรก
  • ในคุณแม่ที่มีประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ที่แล้ว และยิ่งถ้ามีอาการรุนแรงมาก่อน คุณหมอจะให้ยาป้องกันตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ในช่วงแรกๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดหรือลดความรุนแรงของครรภ์เป็นพิษได้

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง

ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก

ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการคนท้อง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยอาการเริ่มแรกที่หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สัมผัสได้ คือ การขาดประจำเดือน แต่ความจริงแล้วในช่วงท้อง 1 สัปดาห์ - 2 สัปดาห์แรก ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์อาจมีอาการเลือดออกเล็กน้อยคล้ายประจำเดือนที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ทำให้ว่าที่คุณแม่อาจไม่ทันได้สังเกตคิดว่าประจำเดือนมาปกติ ส่วนอาการอื่น ๆ อย่างอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และอารมณ์แปรปรวน จะตามมาทีหลัง รวมถึงมีสัญญาณการตั้งครรภ์อื่น ๆ ตามมา

อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์

โภชนาการหญิงตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องเลือกทานอาหารให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย หากได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือน้อยไปย่อมส่งผลไม่ดีต่อตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์เอาได้ การเลือกอาหารสำหรับคนท้องจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก แล้วแบบนี้คนท้องควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

เทคนิคสำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอดให้ยุบไว หายเร็ว ไม่ติดเชื้อ

เทคนิคสำหรับแม่หลังผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอด ให้ยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี

คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด มีหลายอย่างที่จะต้องเตรียมตัว รวมถึงการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด โดยเฉพาะการดูแลแผลผ่าตัดคลอด เพราะร่องรอยผ่าคลอดที่อยู่บนร่างกาย หากไม่ดูแลให้ดีจะเสี่ยงแผลผ่าคลอดอักเสบ ติดเชื้อรุนแรงได้ มาอ่านวิธีดูแลแผลผ่าคลอด เพื่อให้แผลยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ กันได้ในบทความนี้

ผ่าคลอดครั้งแรก เตรียมตัว เตรียมใจ อย่างไรให้พร้อมก่อนขึ้นเตียงผ่าตัด

ผ่าคลอดครั้งแรก เตรียมตัว เตรียมใจ อย่างไรให้พร้อมก่อนขึ้นเตียงผ่าตัด

เมื่อคุณหมอแจ้งว่าต้องผ่าคลอด คุณแม่ย่อมตื่นเต้นเป็นเรื่องธรรมดา นับวันรอพร้อมหาข้อมูลเตรียมตัวก่อนผ่าตัดคลอด ศึกษาด้วยว่าหลังผ่าคลอดแล้วจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งจะตั้งท้องเป็นครรภ์แรก