อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 8 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 8 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

04.03.2020

อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ หรือการตั้งครรภ์ 2 เดือน ซึ่งถือเป็นไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้รูปร่างภายนอกของคุณแม่อาจจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้อง รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ จึงทำให้น้ำหนักขึ้นได้ไม่มาก ในช่วงอายุครรภ์นี้ ทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการของอวัยวะสำคัญมากขึ้น อาทิ แขน ขา ตา และระบบประสาท สามารถตรวจการเต้นของหัวใจได้เป็นจังหวะมากขึ้น ซึ่งคุณแม่ต้องระมัดระวังการติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ หรือการรับประทานยาเท่าที่คุณหมอสั่งเท่านั้น รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์เกิดความพิการได้

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 8 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 6 นาที

สรุป

  • คุณแม่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน ถือเป็นการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก คุณแม่บางท่านอาจจะยังมีอาการแพ้ท้องเนื่องจากฮอร์โมน hCG ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย จึงทำให้น้ำหนักของคุณแม่ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก
  • ลูกน้อยในครรภ์สัปดาห์นี้ จะมีการพัฒนาอวัยวะแขนและขา รวมถึงระบบประสาท ดวงตา และหัวใจเต้นเป็นจังหวะ แต่ด้วยขนาดที่ยังเล็กมาก คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์
  • คุณแม่ควรดูแลตนเองด้วยการรับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย เน้นสารอาหารให้ครบถ้วน โดยเฉพาะ โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโฟเลต เพื่อช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ พัฒนาการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงการออกกำลังกายเบา ๆ และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก จะเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและอารมณ์ เพราะเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotropin) ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้มีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย และอาจมีอาการปวดท้องน้อย คัดเต้านม และมีตกขาวได้ รวมถึงอาการคลื่นไส้ และไวต่อกลิ่นต่าง ๆ มากขึ้น จึงทำให้คุณแม่บางคนรับประทานอาหารได้น้อยลง หรือรู้สึกเหม็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งถือว่าเป็นอาการแพ้ท้อง

 

อาการคนท้อง 8 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

  • ความชอบอาหารเปลี่ยนไป เนื่องจากคุณแม่จะมีความไวต่อกลิ่นต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ส่งผลต่อการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้น เพราะอาจเหม็นกลิ่นของส่วนประกอบบางอย่างในอาหารเมนูนั้น ๆ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น พอเริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดมดลูก รวมถึงทำให้อาจไปกระตุ้นการทำงานของระบบไตและเพิ่มระดับน้ำในร่างกายมากขึ้น
  • รู้สึกคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ เกิดขึ้นได้จากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่สูงขึ้นขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ พะอืดพะอมได้
  • ท้องผูก การทำงานของลำไส้เคลื่อนไหวลดลง ซึ่งอาจเกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่สูงขึ้น ส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกได้
  • ท้องอืด เกิดได้จากอาหารไม่ย่อยหรือย่อยช้าลง ทำให้เกิดลมหรือแก๊สที่ระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากการทำงานของลำไส้ที่ช้าลง
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงการตั้งครรภ์ 1-3 เดือนแรก ซึ่งคุณแม่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการเดินหรือยืนนาน ๆ หากมีเลือดออกกระปริบกระปรอยเป็นเวลานานหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ หรือมีเลือดออกปริมาณมาก ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

 

ท้อง 8 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

ในสัปดาห์ที่ 8 นี้ คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่เริ่มคับมากขึ้น ขนาดหน้าอกขยายใหญ่มากขึ้น และอาจรู้สึกคัดตึง ช่วงขาใหญ่ขึ้น แต่กรณีของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง ยังคงอยู่ น้ำหนักอาจจะยังขึ้นไม่มากนัก และในบางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกปวดท้องน้อยได้ ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของมดลูก

 

ท้อง 8 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ขนาดของลูกในครรภ์อายุ 8 สัปดาห์ อาจมีขนาดประมาณเมล็ดกาแฟ ลูกน้อยจะเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น แต่ด้วยขนาดที่ยังเล็ก คุณแม่จึงยังไม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวได้มากนัก

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 8 สัปดาห์

  • มีพัฒนาการของอวัยวะต่าง ๆ อาทิ ระบบทางเดินอาหาร สมอง เปลือกตา หู จมูก และริมฝีปาก
  • นิ้วมือและนิ้วเท้ายังคงติดกัน

 

 

แม่ท้อง 8 สัปดาห์และระบบและอวัยวะของทารก อายุครรภ์ 8 สัปดาห์

 

ระบบและอวัยวะของทารก อายุครรภ์ 8 สัปดาห์

ลูกน้อยในครรภ์อายุ 8 สัปดาห์ จะมีขนาดความยาวประมาณ 4-25 มิลลิเมตร เด็กมีรูปร่างโค้งงอ โดยมีการพัฒนาอวัยวะแขนและขา รวมถึงระบบประสาท สายตา และหัวใจเต้นเป็นจังหวะ ซึ่งด้วยขนาดที่ยังเล็กมาก เลยทำให้รูปร่างของคุณแม่ในช่วงนี้ยังดูไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เมื่อเด็กอายุครบ 8 สัปดาห์เต็ม จะมีอวัยวะที่พัฒนาขึ้น อาทิ สมอง ระบบทางเดินอาหาร หัวใจซึ่งสามารถตรวจเสียงหัวใจได้จากการอัลตร้าซาวด์ รวมถึงนิ้ว มือ หู และอวัยวะเพศ ซึ่งเรียกตัวอ่อนในระยะนี้ว่า Fetus

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 8 สัปดาห์

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย โดยเน้นสารอาหาร โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโฟเลต เพื่อช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ พัฒนาการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ โดยมีอาหารที่แนะนำให้คุณแม่รับประทาน อาทิ ไข่วันละ 1 ฟอง นมวัวหรือนมถั่ว วันละ 1-2 แก้ว ตับ งาดำ ลูกพรุน และผักใบเขียว เป็นต้น

 

คุณแม่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ ควรรับประทานอาหารที่ดีเพื่อสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เสริมสร้างการเจริญเติบโต รวมถึงการสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงการรับประทานยาต่าง ๆ ต้องอยู่ในการดูแลของคุณหมอเท่านั้น เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการที่ล่าช้า เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด โดยคุณแม่สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยการเดิน หรือเล่นโยคะ แต่หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักที่เสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์กับความเสี่ยงในไตรมาสแรก, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. เทคนิคคุณแม่ดูแลครรภ์ 9 เดือนอย่างมีคุณภาพ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  3. ท้อง 8 สัปดาห์ คุณแม่และทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร, Helloคุณหมอ

อ้างอิง ณ วันที่ 11 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ

คุณแม่อยากมีลูกแฝด การทำลูกแฝดยากไหมในปัจจุบัน หากอยากทำลูกแฝด มีวิธีไหนบ้าง ไปดูขั้นตอนการทำลูกแฝดทางการแพทย์และความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม คำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม ถ้าอยากกิน ต้องกินปริมาณเท่าไหร่ กินยังไงไม่ให้กระทบกับคุณแม่และทารกในครรภ์ ไปดูกัน

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์กินสับปะรดได้หรือเปล่า กินมากไปอันตรายกับทารกในครรภ์ไหม กินแล้วเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออย่างไรดี หากมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม คำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย ชาไทยมีคาเฟอีนไหม กินทุกวันอันตรายหรือเปล่า ไปดูวิธีดื่มชาเย็นแบบปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายสำหรับทารกในครรภ์กัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ช่วงไหนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม ไปดูสาเหตุ อาการและวิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคามเบื้องต้น

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกินและช่วยบำรุงครรภ์มีอะไรบ้าง คนท้องกินผลไม้ได้ทุกชนิดไหม คนท้องอ่อนห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง ไปดูผลไม้ที่คนท้องควรกินและมีประโยชน์กับสุขภาพกัน