อาหารบำรุงสมองเด็ก ให้ลูกฉลาด สมองไว เติบโตได้อย่างสมวัย
หลังจากลูกน้อยกินนมแม่มาตลอด 6 เดือน ก็ถึงเวลาทำความรู้จักกับอาหารชนิดอื่น ๆ รวมถึงอาหารบำรุงสมองลูกน้อยที่อุดมด้วยสารอาหารจำเป็นต่อการพัฒนา ระบบประสาท สมอง และร่างกาย ให้ทำงานได้เต็มศักยภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนสุขภาพ (สสส.) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการบำรุงสมองว่า นอกจะต้องนอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอแล้ว เด็ก ๆ ยังจำเป็นต้อง ทานอาหารที่ดีต่อสมอง
อาหารบำรุงสมองลูกน้อยตามวัย
หลังจากลูกน้อยกินนมแม่มาตลอด 6 เดือน ก็ได้เวลาทำความรู้จักกับอาหารบำรุงชนิดอื่น ๆ ที่อุดมด้วยสารอาหารจำเป็นต่อการพัฒนา ระบบประสาท สมอง และร่างกาย ให้ทำงานได้เต็มศักยภาพ
- คาร์โบไฮเดรต ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต ฟักทอง ข้าวโพด ควรทานในช่วงเช้า เพราะเป็นอาหารที่ให้พลังงาน
- โปรตีน มีความจำเป็นต่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ดี แม่ควรเลือกให้เด็ก ๆ กินโปรตีนที่ดี อย่าง ไข่ไก่ วันละ 1-2 ฟอง เพราะในไข่แดงมีเลซิตินที่มีประโยชน์ต่อสมองมาก ๆ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลสะสมมากจนเป็นอันตราย
- ไขมัน เป็นแหล่งของ DHA และ โอเมก้า 3 พบใน ปลาแซลมอน ปลาทู ปลาช่อน น้ำมันปลา รวมถึง ไข่แดง ถั่วเหลือง อัลมอนด์ น้ำมันมะกอก น้ำมันงา มีประโยชน์มาก ๆ ในการบำรุงระบบประสาทและสมอง
- แร่ธาตุจากพืชผัก แม่ควรให้เด็กกินผักหลากหลายสี เพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุจำเป็นต่อการพัฒนาสมองอย่างครบถ้วน
- วิตามินจากผักผลไม้ การกินผลไม้เป็นประจำอย่างน้อย 1 จานเล็ก ๆ จะช่วยบำรุงสมอง ชะลอความเสื่อมของสมอง และช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคให้แข็งแรง
- นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง อื่น ๆ ได้แก่
- ธาตุเหล็ก อาหารบำรุงสมองลูกน้อยอย่างดี เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาท ช่วยในการพัฒนาสมอง เพิ่มศักยภาพในกระบวนการคิดและเรียนรู้ ธาตุเหล็กมีอยู่ใน เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลา ธัญพืช ผัก และผลไม้ โดยเด็กวัย 1 – 2 ปี ควรทานเนื้อสัตว์อย่างน้อยวันละประมาณ 45 กรัม และอายุ 3 – 6 ปี ควรทานประมาณ 90 กรัม
- โคลีน มีผลต่อระบบความจำ และความสามารถในการเรียนรู้ เพราะทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท สื่อสารข้อมูลระหว่างเซลล์ต่าง ๆ ในสมอง โคลีนพบได้ใน นม ตับ เนื้อไก่ ไข่แดง และจมูกข้าวสาลี
- สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเสียหายของสมองจาก อนุมูลอิสระ ต่าง ๆ ที่เกิดจาก สารพิษ อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และ มลภาวะรอบตัว โดยแหล่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ พบได้ใน ผักและผลไม้สีต่าง ๆ เนื้อแดง ปลาทูน่า ไข่ และ ธัญพืชต่าง ๆ
- ไอโอดีน เป็นสารประกอบของไทรอยอ์ฮอร์โมน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการทางสมอง พบได้ในเกลือสมุทร และเกลือเสริมสารอโอดีน หากขาดไอโอดีน จะทำให้โตช้า เฉื่อยชา และมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์
เมื่อทราบว่าอาหารชนิดใด จำเป็นต่อการบำรุงสมองแล้ว คราวนี้ เราลองมาดูกันว่า แม่ควรดูแลให้ลูกรัก อายุ 6 เดือน – 5 ปี กินอาหารอย่างไร เพื่อช่วยให้สมองของเจ้าตัวเล็ก พัฒนาได้เต็มศักยภาพ

อาหารบำรุงร่างกายและสมองลูก อายุ 6 - 8 เดือน
• กินนมเป็นหลัก
• กินอาหารเสริมวันละ 1 มื้อ และค่อย ๆ เพิ่ม เป็น 2 มื้อช่วงเดือนที่ 8
• เน้นกิน ข้าว ไข่ไก่ ปลา ตับ รวมกับผักหลากสี เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้ขับถ่ายได้ดี
• เหยาะน้ำมันพืช น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ลงในอาหารประมาณ ½ ช้อนชา เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินที่ช่วยละลายไขมัน และเพิ่มความเข้มข้นของพลังงาน
อาหารบำรุงร่างกายและสมองลูก อายุ 9 – 12 เดือน
• ยังคงกินนมเป็นหลัก แล้วเสริมด้วยอาหาร 2-3 มื้อ
• กินอาหารครบ 5 หมู่ ต้องเป็นอาหารปรุงสุก และไม่ปรุงแต่งรสชาติ
• เน้นทาน ข้าว ไข่ไก่ ปลา ตับ รวมกับผักหลากสี เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้ขับถ่ายได้ดี
• เหยาะน้ำมันพืช น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ลงในอาหารประมาณ ½ ช้อนชา เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินที่ช่วยละลายไขมัน และเพิ่มความเข้มข้นของพลังงาน
• สามารถดื่มน้ำเปล่าได้บ้างแล้ว เพื่อช่วยในการกลืนและย่อยอาหาร แต่ไม่ควรมากเกินไป
อาหารบำรุงร่างกายและสมองลูก อายุ 1 – 2 ปี
• กินอาหารได้ทุกชนิด หมุนเวียนให้ครบทั้ง 5 หมู่ วันละ 3 มื้อ และทานนมเสริม 2 - 3 แก้วต่อวัน
• เน้นอาหารบำรุงสมอง ได้แก่ เนื้อปลา โปรตีนคุณภาพ อุดมด้วยกรดไขมันจำเป็น มี DHA สูง ไข่ ให้วิตามินและแร่ธาตุสำคัญ ที่ช่วยสร้างสารสื่อประสาท ตับ แหล่งธาตุเหล็ก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง สร้างภูมิต้านทานโรค และป้องกันภาวะโลหิตจาง (เพิ่มเติมตาม Ref.6)
• กินผักและผลไม้ หลากหลายสีสัน เพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้ท้องผูกได้ดี
• ไม่ควรกินอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด และเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น ขาหมู หมูสามชั้น เพื่อป้องกันการสะสมของไขมันในร่างกายและหลอดเลือดในอนาคต
• ไม่ควรกินขนม ที่มีแป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือสูง และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ขนมขบเคี้ยว มันฝรั่งทอด หรือขนมหวาน มากเกินไป เพื่อป้องกันภาวะผอม อ้วน และฟันผุ
อาหารบำรุงร่างกายและสมองลูกน้อย อายุ 2 – 5 ปี
• กินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ วันละ 3 มื้อ เสริมด้วยนมวันละ 3 แก้ว
• หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารรสจัด เช่น หวาน เปรี้ยว เค็ม เผ็ด อาหารทอด ปิ้งย่าง และอาหารไขมันสูง เพื่อป้องกันการเกิดโรคไต ความดันสูง โรคอ้วน ได้ในอนาคต
• เลือกกินอาหารว่างที่มีประโยชน์ และให้พลังงาน เช่น ขนมปังโฮลวีท ธัญพืชอบ เป็นต้น
• กินโยเกิร์ต ช่วยในการพัฒนาสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยรักษาสมดุลในลำไส้ ลดปัญหาอาการท้องผูก
• กินผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี ช่วยในเรื่องของการมองเห็น ระบบประสาทและสมอง เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า โภชนาการที่ดีมีผลต่อสุขภาพร่างกาย รวมทั้ง ระดับสติปัญญาและความฉลาด ดังนั้น ในช่วงเวลาสำคัญที่ร่างกายและสมองของลูกกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว แม่ควรดูแลให้ลูกได้รับ อาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานที่ดี เมื่อลูกมีร่างกายแข็งแรง มีสมองดี ก็จะเรียนรู้ได้ไว และประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าเด็กที่ขาดการใส่ใจในด้านโภชนาการนั่นเอง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
คำแรกทั้งที่ต้องมีสฟิงโกไมอีลิน
สารอาหารในนมมีประโยชน์อะไรบ้าง
อ้างอิง
1. https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/533_49_1…
2. https://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170121162528.pdf
3. https://th.theasianparent.com/%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B…
4. https://www.thaihealth.or.th/Content/41482-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%…
5. https://www.healthline.com/health/parenting/6-month-old-feeding-schedul…
6. http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9…
อ้างอิง วันที่ 20 เมษายน 2563
บทความแนะนำ

ยิ่งเล่น ลูกยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฉลาด
การเล่นคืองานของเด็ก และการเล่น ไม่ใช่แค่การเล่น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ การเล่นของเด็กเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ เด็กต้องการเล่นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่กำหนดเวลา และเด็กมีความสุขเมื่อได้เล่น การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ที่สมองของเด็กในช่วงวัยนี้จะทำงานสูงสุดขณะเล่น ด้วยเป็นภาวะที่สมองพร้อมเรียนรู้ ไม่ตึงเครียด มีภาวะตื่นตัว และมีแรงจูงใจ การเล่นช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานของสมอง ประสบการณ์ขณะเล่นจะกระตุ้นเซลล์สมองและสารสื่อประสาทต่างๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของเครือข่ายเส้นใยสมอง และเพื่อให้การเรียนรู้นอกบ้านไม่สะดุด คุณแม่ควรเลือกนมยูเอชทีกล่องแรกสำหรับลูก ที่มีสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โอเมก้า 3, 6, 9 โคลีน แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และลูทีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

เริ่มนมยูเอชทีกล่องแรก คุณแม่ต้องเลือกอย่างไร
เด็กวัย 1 ปี สามารถกินอาหารได้ครบ 3 มื้อแบบผู้ใหญ่ แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดื่มนมวันละ 3 แก้ว เพื่อเสริมสารอาหารที่มีประโยชน์ เด็กวัยนี้จะเรียนรู้โลกกว้างจากการได้พบเจอสิ่งใหม่ๆ จากการลงมือทำ ดังนั้นเมื่อต้องออกไปเรียนรู้นอกบ้าน นมกล่องสำหรับเด็กจึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก คุณแม่ควรเลือกนมกล่องที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากนมแม่

โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง
หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน

กินอะไรให้ลูกฉลาด สารอาหารชนิดไหนช่วยพัฒนาสมองลูก
นอกจากวิธีการกระตุ้นพัฒนาการของลูกแล้ว “ให้ลูกกินอะไร ลูกถึงจะสมองดี?” ก็เป็นอีกคำถามยอดฮิตที่คุณแม่หลายคนสงสัยกัน เพราะเรื่องโภชนาการหรืออาหารการกินของลูกนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดังนั้น ในวันนี้เราจึงอยากแนะนำและให้ข้อมูลแก่คุณแม่ เกี่ยวกับอาหาร โภชนาการที่จะช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาให้กับสมองของลูกน้อย