นมสูตร 3 สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป พร้อมสารอาหารที่สำคัญสำหรับลูก
สำหรับเด็กแรกเกิด นมแม่ ดีที่สุดสำหรับลูก เพราะนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้งสารอาหารต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานและเสริมพัฒนาการที่ดีให้กับลูกน้อยได้ ดังนั้นลูกควรได้รับนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม
เมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้นถึงวัย 1 ขวบ ก็เริ่มต้องการสารอาหารที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากอาหารหลัก 3 มื้อแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริม นมสูตร 3 ที่พัฒนาขึ้นสำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารหลากหลาย พร้อมพัฒนาสมองให้ดีไปตามพัฒนาการตามช่วงวัยได้
นมสูตร 3 เหมาะสำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป
เด็กวัย 1 ปีขึ้นไปเริ่มมีระบบการย่อยและดูดซึมอาหารที่ดีใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ โดยสามารถรับประทานอาหารมื้อหลักได้ครบ 3 มื้อได้ แต่ที่สำคัญคือ เด็กวัยนี้ยังต้องดื่มนมเป็นอาหารเสริม เพราะนมสูตร 3 อุดมไปด้วยโปรตีนและแคลเซียม ช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอกับความต้องการ เพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองที่ดีตามวัย
นมสูตร 3 ที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็กวัยนี้ จึงมีปริมาณของโปรตีนและแคลเซียมเพิ่มขึ้นอีกระดับมากกว่าสูตร 1 และสูตร 2 แม้จะมีความใกล้เคียงกับนมวัว แต่นมสูตร 3 มีสารอาหารครบถ้วนกว่าด้วยการเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายและสมอง ที่ช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารจำเป็นในปริมาณที่เพียงพอสำหรับพัฒนาการที่ดีรอบด้านในช่วง 1-3 ปีแรกของชีวิต ไม่ว่าจะเป็น เรื่องที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง รวมไปถึงช่วยในการพัฒนาระบบประสาทและสมองให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การดื่มนมสูตร 3 ยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงห่างไกลจากโรคต่าง ๆ ช่วยให้เด็กเรียนรู้โลกกว้างของเขาได้อย่างไม่มีสะดุด
นมสูตร 3 มีสารอาหารที่สำคัญที่ดีต่อสมองและพัฒนาการของเด็ก
เด็กวัย 1 ปีมีพลังงานเหลือเฟือในการสำรวจโลกใบใหม่ โดยพร้อมที่จะเล่นและเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจได้อย่างเพลิดเพลิน รวมไปถึงการจดจำภาษาและเรื่องราวรอบตัว ดังนั้นในการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีรอบด้าน รวมถึงการเพิ่มพลังสมองให้เด็กวัยนี้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่ต้องมอบสารอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ โดยเลือกอาหารที่หลากหลาย ทำให้การรับประทานอาหารเป็นเรื่องน่าสนุกสำหรับลูกน้อย และไม่ควรพลาดที่จะเสริมสารอาหารสำคัญต่อการพัฒนาสมอง ได้แก่

- สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง โดยเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง ไมอีลิน ปลอกหุ้มแขนงประสาทนำออก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้สมองของลูกสามารถส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้ว สฟิงโกไมอีลินนั้นเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่ แต่นอกจากนมแม่แล้ว สฟิงโกไมอีลินยังสามารถพบได้ ในอาหารประเภท นม ชีส ผลิตภัณฑ์จากนม และไข่
- ดีเอชเอ คือกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของเซลล์สมองและจอประสาทตา มีประโยชน์ต่อดวงตาและการมองเห็น โดยเฉพาะในเด็ก ทำให้มีการมองเห็นที่ดี และเรียนรู้ได้เร็ว
- โคลีน สารอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองของลูก ช่วยบำรุงสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและความสามารถในการเรียนรู้ และการควบคุมกล้ามเนื้อ
- ใยอาหารชนิด 2’-เอฟแอล (2’-Fucosyllactose) เป็น HMOs (Human Milk Oligosaccharides) หรือ โอลิโกแซกคาไรด์ในนมแม่ ซึ่งเป็นใยอาหารชนิดที่พบมากสุดในนมแม่ ทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติก ที่ส่งเสริมระบบทางเดินอาหาร รวมถึงเป็นกลไกป้องกันการติดเชื้อของลำไส้ ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคมาเกาะผิวลำไส้ และช่วยกระตุ้นและส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้เด็กได้ดีขึ้น
- ใยอาหารจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มกากในระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการขับถ่าย ลดอาการท้องผูก ดีต่อการขับถ่ายและสุขภาพ พร้อมต่อการเรียนรู้อย่างสบายตัวและอารมณ์ดี
ใน 1 วัน เด็กควรดื่มนมสูตร 3 วันละกี่แก้ว?
นอกจากอาหารหลัก 3 มื้อที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนแล้ว เด็กในวัย 1 ขวบขึ้นไป ควรดื่มนมสูตร 3 เป็นอาหารเสริมวันละ 2 แก้ว เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเด็กวัยนี้ยังควรได้รับสารอาหารจากนมสูตร 3 เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาสมองให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โปรตีนคุณภาพดี กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ครบถ้วน รวมถึงแคลเซียมที่เสริมสร้างกระดูกและฟัน

เมื่อการดื่มนมมีความสำคัญไม่แพ้การรับประทานอาหารหลัก 3 มื้อ คุณแม่ควรเลือกนมสูตร 3 ที่อุดมด้วยสารอาหารหลากหลาย ทั้งสารอาหารเพื่อพัฒนาการที่ดีทางร่างกาย สารอาหารบำรุงสมองเด็กและสารอาหารสำคัญต่อการพัฒนาสมอง อาทิ สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โคลีน และ 2’-FL เป็นต้น โดยศึกษาด้านข้อมูลอย่างถี่ถ้วนในการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างเต็มที่รอบด้าน และมีพัฒนาการสมวัย
เอกสารอ้างอิง:
- คู่มืออาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ https://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170121162528.pdf
อ้างอิง ณ วันที่ 27 เมษายน 2566
บทความแนะนำ

พัฒนาการลูกน้อยวัย 3 ขวบ เด็กวัยอนุบาลมีพัฒนาการที่สำคัญอะไรบ้าง
เมื่อลูกมีอายุได้ 3 ขวบ ก็นับว่าเขาเข้าสู่ช่วงวัยอนุบาลเป็นที่เรียบร้อย ในช่วงนี้ลูกจะมีความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้น ทั้งร่างกาย พัฒนาการ รวมถึงนิสัย ความคิดความอ่านและบุคลิกภาพ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมและดูแลลูกวัยอนุบาลให้ดียิ่งขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจถึงพัฒนาการเด็กวัย 3 ขวบกันก่อนค่ะพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของ ลูกน้อยวัย 3 ขวบมีอะไรบ้าง

พัฒนาการของลูกน้อยวัย 2 ขวบ วัยนี้ลูกน้อยควรทำอะไรได้บ้าง
สัญญาณเตือนแบบไหนที่แสดงว่ามีพัฒนาการช้า เมื่อลูกน้อยมีอายุเข้าถึงวัย 2 ปี นั่นคือช่วงเวลาที่เขาได้เปลี่ยนจากเด็กทารก เข้าสู่การเป็นเด็กวัยเตาะแตะ และเตรียมเข้าสู่วัยอนุบาล ซึ่งในช่วงวัยนี้ ลูกจะมีพัฒนาการที่สำคัญมากมายหลายอย่าง เช่น จากที่พูดไม่เป็นภาษา ก็จะเริ่มสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่เป็นคำได้แล้ว และแน่นอนว่า ลูก ๆ มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องพัฒนาการของลูกวัย 2 ขวบกันค่ะ

อาหารตามวัย บำรุงร่างกายและสมองลูก
หลังจากลูกน้อยกินนมแม่มาตลอด 6 เดือน ก็ถึงเวลาทำความรู้จักกับอาหารชนิดอื่น ๆ รวมถึงอาหารบำรุงสมองลูกน้อยที่อุดมด้วยสารอาหารจำเป็นต่อการพัฒนา ระบบประสาท สมอง และร่างกาย ให้ทำงานได้เต็มศักยภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนสุขภาพ (สสส.) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการบำรุงสมองว่า นอกจะต้องนอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอแล้ว เด็ก ๆ ยังจำเป็นต้อง ทานอาหารที่ดีต่อสมอง

อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันแม่จ๋ารีบหาให้ลูกทาน สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกกันเถอะ
เด็กๆ ควรได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ได้รับพลังงาน เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพื่อให้เจริญเติบโตสมวัยเพื่อการพัฒนาการของลูกน้อยที่ดีนั่นเองค่ะ นอกจากจะมีประโชน์กับเด็กๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น คุณแม่รู้ไหมคะว่าสารอาหารบางชนิดยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บให้กับเด็กๆ ได้ด้วยนะ ส่วนจะเป็นสารอาหารตัวไหนและพบในอาหารชนิดใดไปดูกันเลยค่ะ