อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 5 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 5 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

04.03.2020

อายุครรภ์ 5 สัปดาห์อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ที่เปราะบาง ทารกในครรภ์เริ่มที่จะพัฒนาอวัยวะสำคัญภายนอกขึ้นมา เช่น ดวงตา และแขน ขาทั้งสองข้าง ไม่แนะนำให้คุณแม่รับประทานวิตามินหรือยาบำรุงครรภ์ นอกเหนือจากแพทย์สั่งให้ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวของทารกในครรภ์ ในช่วงอายุครรภ์นี้คุณแม่ควรดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเองให้ดี พยายามอย่าเครียด และระมัดระวังการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนกับทารกในครรภ์

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 5 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ อยู่ในการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก เทียบเท่ากับต้นสัปดาห์ของเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์
  • อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะมีขนาด 2.5 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวแค่ 9-10 กรัม เทียบได้กับเมล็ดแห้งพริกไทยดำ
  • อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ จะเริ่มพัฒนาขึ้นของอวัยวะสำคัญทั้งภายในและภายนอก เช่น หัวใจ สมอง ระบบประสาทส่วนกลาง ไขสันหลัง ดวงตา แขน ขาทั้งสองข้าง ฯลฯ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

รกและน้ำคร่ำสองสิ่งที่จำเป็นต้องมีไปตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน ซึ่งหน้าที่สำคัญของรกและน้ำคร่ำที่มีรอบตัวทารกตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ดังนี้

  1. รก (Placental) จะอยู่ติดกับมดลูกของคุณแม่ทำหน้าที่ช่วยพัฒนาให้ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโต รกจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างสายสะดือของทารกกับมดลูกคุณแม่ ในการลำเลียงเลือด ออกซิเจน และสารอาหารจากคุณแม่ส่งต่อมาให้ยังทารกในครรภ์
  2. น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) คือพื้นที่สำหรับทารกใช้ในการเคลื่อนไหวพลิกขยับร่างกาย ช่วยพัฒนาให้ปอดแข็งแรงทารกหายใจได้ดี ช่วยปกป้องทารกในครรภ์ไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนได้รับอันตรายจากด้านนอกครรภ์

 

อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน

การเทียบอายุครรภ์สัปดาห์ เพื่อให้ทราบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุครรภ์ได้กี่เดือนแล้วนั้น ในทางการแพทย์จะแบ่งการตั้งครรภ์ใน 1 รอบการตั้งครรภ์ออกเป็นทั้งหมด 3 ไตรมาสดังนี้

  • อายุครรภ์ 1 ถึง 13 สัปดาห์ เป็นการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก เท่ากับการตั้งครรภ์ระหว่าง 1–3 เดือน
  • อายุครรภ์ 14 ถึง 17 สัปดาห์ เป็นการตั้งครรภ์ไตรมาส 2 เท่ากับการตั้งครรภ์ระหว่าง 3–6 เดือน
  • อายุครรภ์ 28 ถึง 42 สัปดาห์ เป็นการตั้งครรภ์ไตรมาส 3 เท่ากับการตั้งครรภ์ระหว่าง 6–9 เดือน

 

อาการคนท้อง 5 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

  • แพ้ท้อง เป็นอาการที่พบได้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องจะรู้สึกคลื่นไส้พะอืดพะอม อยากอาเจียน มีอาการเหม็นกลิ่นอาหารและกลิ่นต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เป็นต้น
  • ปัสสาวะบ่อย ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากมดลูกมีการเคลื่อนตัวสูงขึ้น จึงไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะทำงานหนักมากขึ้น โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญอย่างหัวใจจะทำงานหนักเพิ่มขึ้น50% รวมถึงเม็ดเลือดแดงที่มีการนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้คุณแม่ท้องรู้สึกอ่อนเพลีย และเหนื่อยง่ายมาก
  • ปวดท้องน้อย คุณแม่มีอาการปวดหน่วงตรงบริเวณท้องน้อยเบาๆ นานๆ ครั้ง คือไม่เกิน 5 ครั้ง/วัน ถือเป็นภาวะปกติที่พบได้ระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากมดลูกมีการเกร็งตัวขึ้นเล็กน้อย แต่หากในหนึ่งวันคุณแม่มีอาการปวดหน่วงตรงท้องน้อยถี่ๆ เกิน 10 ครั้ง ควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด เป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์โดยที่ไม่มีสาเหตุ นั่นเป็นเพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายของคุณแม่ท้อง
  • คัดและเจ็บเต้านม ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่จะรู้สึกว่าคัดและเจ็บเต้านม นั่นเป็นเพราะว่าไขมันและต่อมน้ำนมมีการเจริญเติบโตขึ้น จนทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณเต้านมเกิดการขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เจ็บหัวนมและหัวนมไวต่อสิ่งสัมผัส

 

ท้อง 5 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

ขนาดครรภ์ในอายุครรภ์ 5 สัปดาห์ ยังไม่ใหญ่เพิ่มขึ้นจนสังเกตเห็นได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ ปกติแล้วในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก หากคุณแม่ไม่ได้มีอาการแพ้ท้องและสามารถรับประทานอาหารได้เป็นปกติ เกณฑ์น้ำหนักของคนท้องในช่วง 1-3 เดือนแรกควรจะเพิ่มขึ้น 1-2 กิโลกรัม

 

ท้อง 5 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 5 สัปดาห์มีขนาดเล็กจิ๋วมาก เปรียบเสมือนเมล็ดแห้งพริกไทยดำ (9) หรือประมาณ 2.5 เซนติเมตร ในช่วงนี้ทารกในครรภ์ยังเป็นตัวอ่อน ซึ่งมีน้ำหนักตัวเพียงแค่ 9-10 กรัมเท่านั้น

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 5 สัปดาห์

  • เริ่มมีการสร้าง แขน ขา และดวงตา
  • เริ่มมีการพัฒนาขึ้นของระบบประสาทส่วนกลาง และไขสันหลัง
  • หัวใจมีการเต้นชัดเจน

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 5 สัปดาห์

เพื่อให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการสมบูรณ์และแข็งแรงไปตลอดอายุครรภ์จนถึงคลอด การดูแลบำรุงร่างกายของคุณแม่ในช่วงอายุครรภ์ 5 สัปดาห์ จึงมีความสำคัญอย่างมาก

1. ทานวิตามินเสริมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

โดยปกติร่างกายของคุณแม่จะได้รับวิตามินต่างๆ จากการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพในทุกวันอยู่แล้ว ซึ่งวิตามินที่ได้จากอาหารมีความจำเป็นต่อร่างกายของคุณแม่ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และสำหรับทารกในครรภ์วิตามินยังมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ในบางกรณีที่คุณแม่อาจจะได้รับวิตามินเสริมตามคำแนะนำของแพทย์ที่คุณแม่ฝากครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานวิตามินที่แพทย์จัดให้เท่านั้น ไม่แนะนำให้ซื้อวิตามินมารับประทานเสริมเองโดยที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อนโดยเด็ดขาด

 

2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้คุณแม่ท้องนอนหลับได้ง่ายสบายขึ้น แนะนำให้ทำสมาธิก่อนเข้านอน จะช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลายลง

 

3. ระหว่างวันควรดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น

การดื่มน้ำอย่างเพียงพอขณะตั้งครรภ์จะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องผูกในคนท้อง และช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์

 

4. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอและเหมาะสม ได้แก่ อาหารกลุ่มโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งอาหารที่มีประโยชน์ที่คุณแม่ควรบริโภค เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ ผักใบเขียว ผลไม้ ปลาตัวเล็กรับประทานได้ทั้งตัว

 

5. โฟเลต หรือ โฟลิก (Folic Acid)

มีความสำคัญกับทั้งคุณแม่และลูกน้อยในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสแรกอย่างมาก เพราะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนาสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โฟลิกที่คุณแม่รับประทานจะถูกส่งต่อไปยังทารกในครรภ์

  1. ช่วยในกระบวนการการสร้างเม็ดเลือดแดงให้กับทารก
  2. ช่วยสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย
  3. ช่วยสร้างเซลล์ประสาทและสมองของทารกให้มีความสมบูรณ์ ลดความเสี่ยงการเกิดความพิการของทารกตั้งแต่ในครรภ์
  4. ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของคุณแม่มีการสร้างน้ำนมไว้สำหรับทารกหลังคลอด

 

ซึ่งปริมาณโฟลิกที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับต่อวันคือ 800 ไมโครกรัม สำหรับแหล่งอาหารที่มีโฟลิก ได้แก่ ผักใบเขียว บรอกโคลี ตับ และไข่แดง ฯลฯ รวมถึงได้รับตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อให้ร่างกายได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป

 

คุณแม่บางคนอาจท้องไม่รู้ตัว แต่เมื่อคุณแม่ทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว แนะนำให้ไปพบแพทย์และฝากครรภ์ทันที การฝากครรภ์เร็วสามารถช่วยให้คุณแม่และลูกในครรภ์ปลอดภัย ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ที่สำคัญควรรับประทานอาหารสำหรับคนท้อง เพื่อประโยชน์สุขภาพและพัฒนาการที่สมบูรณ์ของทารกในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  2. ความผิดปกติของรก (Placental Abnormalities), สูติศาสตร์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. รกและฮอร์โมนจากรก (Placental), สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. น้ำคร่ำ (Amniotic fluid), สูติศาสตร์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. วิธีนับอายุครรภ์ นับอย่างไรให้แม่นยำ, POBPAD
  6. เมื่อเริ่มตั้งครรภ์...อะไรในร่างกายคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง, โรงพยาบาลพญาไท
  7. คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1-3, โรงพยาบาลบางปะกอก สมุทรปราการ
  8. คุณแม่ตั้งครรภ์กับความเสี่ยงในไตรมาสแรก, โรงพยาบาลสมิติเวช
  9. ขนาดทารกในครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ต่าง ๆ เปรียบเทียบกับขนาดผักและผลไม้, hellokhunmor
  10. โฟเลตกับชีวิต (Folic acid), สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
  11. กรดโฟลิก…ทำไมจึงจำเป็นกับคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  12. สังเกตอาการคุณแม่ท้อง 2 เดือน และการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์, POBPAD
  13. ภาวะปัสสาวะบ่อย, โรงพยาบาล MedPark
  14. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์...ควรทำอย่างไร?, โรงพยาบาลพญาไท
  15. อาการระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้, โรงพยาบาลพญาไท
  16. อาการคนท้องเดือนแรก สัญญาณเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์, โรงพยาบาลศิครินทร์
  17. อาการคนท้อง ระยะแรก ยืนยันว่าคุณตั้งครรภ์แล้วแน่ๆ, สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
  18. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  19. เคล็ดลับการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มีนาคม 2567

บทความแนะนำ

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่์ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่์ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มดลูกแข็งแรง เพิ่มโอกาสการมีลูกให้ง่ายมากขึ้น อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

อยากมีลูก อยากท้อง ทำยังไงดี พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง ทำยังไงดี พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง แต่ไม่มีสักที อาการแบบนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณแม่อยากมีลูก อยากท้อง ต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้มีลูกง่ายขึ้น ไปดูวิธีเตรียมความพร้อมกัน

การนับลูกดิ้น ลูกดิ้นตอนกี่เดือน สัญญาณที่บ่งบอกถึงสุขภาพลูกน้อย

การนับลูกดิ้น ลูกดิ้นตอนกี่เดือน สัญญาณที่บ่งบอกถึงสุขภาพลูกน้อย

การนับลูกดิ้น บอกถึงอะไรได้บ้างสำหรับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย ไปดูสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์กัน

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ที่คุณแม่ต้องรู้

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ที่คุณแม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร สัญญาณเตือนคนท้องอะไรบ้าง ที่บอกให้รู้ว่าคุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 2 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์