พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6

ลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเห็นจากอัลตร้าซาวด์ หัวใจเริ่มมีการสร้างครบทั้งสี่ห้อง ซึ่งในช่วงนี้คุณหมอจะเริ่มประเมินการเจริญเติบโตของลูกและคำนวณอายุครรภ์เปรียบเทียบจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายกับค่าที่วัดได้จาก   อัลตร้าซาวด์

headphones
อ่าน 2 นาที

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6

 

อายุครรภ์นี้ จะสามารถตรวจอัลตร้าซาวด์พบทารกและหัวใจเต้นแล้ว ด้วยระดับฮอร์โมนbeta-hCGที่เพิ่มสูงขึ้น  ทำให้คุณแม่หลายท่านเริ่มมีอาการแพ้ท้อง และมักเกิดอาการในช่วงเช้า ยิ่งถ้าท้องว่าง รู้สึกหิว และไม่ได้ทานทันทีก็จะอาเจียน หรือถ้าทานจนอิ่มมากเกินไป ก็จะอาเจียนเช่นกัน ความรุนแรงของคุณแม่แต่ละท่านแตกต่างกัน บางท่านมีอาการไม่กี่สัปดาห์ บางท่านมีอาการหลายเดือนแต่โดยมากอาการจะดีขึ้นหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ 

 

พัฒนาการลูก

ลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเห็นจากอัลตร้าซาวด์ หัวใจเริ่มมีการสร้างครบทั้งสี่ห้อง ซึ่งในช่วงนี้คุณหมอจะเริ่มประเมินการเจริญเติบโตของลูกและคำนวณอายุครรภ์เปรียบเทียบจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายกับค่าที่วัดได้จาก   อัลตร้าซาวด์ โดยการวัดความยาวของตัวลูกจากศีรษะจนถึงก้น เพื่อประเมินอายุครรภ์และกำหนดคลอดที่น่าเชื่อถือของคุณแม่

 

Tips

เรามาดูวิธีป้องกันรักษาอาการแพ้ท้องกันค่ะ

  •  คุณแม่บางท่านมีอาการเบื่ออาหาร และอยากทานรสเปรี้ยวหรือเผ็ดจัด แนะนำให้หลีกเลี่ยงของหมักดอง อาจทานเป็นผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม หรือเลือกปรุงอาหารให้มีรสชาติ แต่ไม่เผ็ดมาก เช่น ต้มโคล้งปลาใส่ไข่ต้ม แม้เมนูจะดูแปลกๆ แต่ทำให้มีรสชาติ ได้รับโปรตีนที่มีประโยชน์จากปลาและไข่  เป็นต้น 
  •  พยายามไม่ให้หิวหรืออิ่มจัด นั่นคือ แบ่งอาหารต่อวันเป็นมื้อย่อยๆ ทานครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ มื้อ ทุกเช้าหลังตื่นนอน มักอาเจียนขณะแปรงฟัน ซึ่งเลี่ยงยาก หลังแปรงฟัน คุณแม่สามารถดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งอุ่นๆ หรือน้ำขิงอุ่นๆ และอาจหลับต่อสักครึ่งชั่วโมง ตื่นมาแล้วจะสดชื่นพร้อมทานอาหารเช้าค่ะ
  •  ไม่ควรทานอาหารที่ทอดน้ำมันเยิ้มๆ อาหารมันๆ หรือใส่เครื่องเทศเยอะๆ เพราะอาจกระตุ้นอาการได้
  • ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างจนหิว ต้องบ้วนนำ้ลายบ่อยๆ หรือหาของทานเล่นเรื่อยๆ เช่น คุกกี้ แครกเกอร์ แต่หากต้องควบคุมแป้ง อาจทานเป็นปลาเล็กปลาน้อย ปลากรอบ ทำให้ได้โปรตีนและแคลเซียมด้วย
  •  หลังอาเจียน คุณแม่กลั้วปากด้วยน้ำอุ่น จะช่วยลดกลิ่นคาวที่ตกค้าง เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการได้ค่ะ
  •   หากิจกรรมหรืองานทำเรื่อยๆ เพราะในคุณแม่ที่แพ้ท้องมากๆ มักจะคอยจับสังเกต ระแวงว่าจะมีอาการอีกครั้งเมื่อไร แต่หากมีกิจกรรมเรื่อยๆ จะทำให้คุณแม่มีสุขภาพจิตและอาการดีขึ้นได้ค่ะ

 


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5 

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง