มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ค. 10, 2024
2นาที

มูกเลือด ออกระหว่างตั้งครรภ์ดูเหมือนเป็นเรื่องน่ากลัว แต่มูกใส หรือ การที่มีเลือดที่เป็นมูก ๆ ในช่วงอายุครรภ์ใกล้ถึงกำหนดคลอดอาจไม่ใช่สิ่งน่ากลัวเสมอไป อีกทั้งอาจเป็นร่องรอยว่าร่างกายของคุณแม่พยายามปกป้องลูกน้อยมาตลอด และอาจเป็นสัญญาณจากร่างกายคุณแม่ว่า ลูกน้อยใกล้ออกมาดูโลกแล้ว อย่างไรก็ตามคุณแม่หลายคนก็คงยังข้องใจอยู่ถึงความแตกต่างของมูกเลือดออกทางช่องคลอดกับตกขาวที่มาอยู่เรื่อย ๆ ระหว่างตั้งท้อง รวมถึงคงอยากรู้ว่ามูกเลือดออกทางช่องคลอดเป็นสัญญาณบอกอะไรได้บ้าง และมีอาการอื่น ๆ อีกไหมที่ต้องคอยสังเกตเพื่อให้มั่นใจว่าสถานการณ์ปลอดภัย บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยลดความกังวลใจให้กับคุณแม่

 

สรุป

  • มูกเลือดออกทางช่องคลอดในคนท้องช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าคุณแม่กำลังใกล้คลอด
  • มูกเลือดออกทางช่องคลอดมีความหนา เหนียว และมีลักษณะคล้ายเยลลี่ เวลามีมูกเลือดออกทางช่องคลอด ควรปล่อยให้ไหลตามธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วเขี่ยหรือดึงมูกเลือดออกทางช่องคลอดด้วยตนเอง จะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
  • มูกเลือดออกทางช่องคลอดไม่ใช่ตกขาว แม้ว่าหน้าที่จะคล้ายกันตอนอยู่ในร่างกาย นั่นคือป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอด แต่ตกขาวที่มีลักษณะมูกใสก่อนคลอดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด ขณะที่มูกเลือดออกทางช่องคลอดมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้คลอด กรณีถ้ามีตกขาวจะต้องคอยสังเกตสี ถ้าสีเข้ม หนา คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติที่อาจเป็นอันตรายได้
  • มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดอาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด ปกติอายุครรภ์ที่จะมีมูกเลือดออกทางช่องคลอดคือ 37 สัปดาห์ ถ้ามาก่อนหน้านั้นและมีอาการอื่น ๆ เช่น ท้องแข็ง เจ็บอุ้งเชิงกราน ปวดท้องส่วนล่าง ปวดขา รวมถึงน้ำคร่ำแตก ควรรีบพบคุณหมอทันที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

มูกเลือดออกทางช่องคลอดในคนท้อง อันตรายหรือไม่

  • คุณแม่จะพบว่ามีมูกเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงท้ายของการตั้งท้อง มูกเลือดออกทางช่องคลอดมีลักษณะเป็นวุ้นหนาและมีเลือดเจือปน ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งท้องต่อมที่ผลิตเมือกที่แต่เดิมผลิตเมือกขึ้นมาช่วงตกไข่ เพื่อช่วยในการเดินทางของสเปิร์มไปยังไข่ที่รออยู่ ได้ผลิตเมือกหนาขึ้นสะสมบริเวณปากมดลูกเพื่อป้องกันเชื้อโรค เมื่อใกล้คลอด ปากมดลูกเริ่มนิ่มและขยายจึงทำให้หลอดเลือดบางส่วนแตกพร้อมกับมูกเลือดออกทางช่องคลอดที่ไหลออกมา
  • เป็นกระบวนการในร่างกายตามธรรมชาติ แต่เพื่อความปลอดภัยทางสุขภาพ คุณแม่อย่าใช้นิ้วไปแตะต้องหรือพยายามดึงมูกเลือดออกทางช่องคลอดเพื่อฝืนนำออกมา เพราะนั่นอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ ปล่อยให้ร่างกายขับออกมาตามธรรมชาติ

 

การมีเลือดออกทางช่องคลอดของคนท้อง เกิดขึ้นได้ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ และช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ การมีเลือดออกทางช่องคลอดของคนท้องนั้นมีหลากหลายสาเหตุ อาจร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรงแล้วแต่ในบางกรณี การมีเลือดออกในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์และคุณแม่ได้ เพื่อความปลอดภัยในการตั้งครรภ์ และต่อทารกน้อยในครรภ์และตัวของคุณแม่ เมื่อมีเลือดออกทางช่องคลอด ควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์ทันที

 

ความแตกต่างของ “ลักษณะมูกใสก่อนคลอด” และ “ลักษณะมูกเลือดออกทางช่องคลอด”

ลักษณะมูกใสก่อนคลอด (ตกขาว)

ลักษณะมูกใสก่อนคลอดคือสีใส สีขาวขุ่นหรือสีเหลืองอ่อน เป็นเมือกบาง ๆ ลักษณะมูกใสก่อนคลอดจะมีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่นก็ได้ ทำหน้าที่คอยป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด ถ้าหากมูกใสก่อนคลอดเยอะ สีแปลก และเกาะตัวหนา มักเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ใกล้จะคลอด ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มเปิด มูกจะหลุดไหลออกมาทางช่องคลอดในช่วงประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนคลอด มูกจะมีลักษณะสีขาวเหนียวข้น

 

มูกเลือดออกทางช่องคลอด

การที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็นเพราะปากมดลูกเริ่มเปิด หรือมีการฉีกขาดของหลอดเลือดฝอย หรือเยื่อบุบริเวณนั้น ๆ อาจจะส่งสัญญาณว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อาจคลอดได้ภายใน 1 วัน หรือในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายการคลอดอาจเลื่อนออกไปอีกหลายวัน มูกเลือดทางช่องคลอดนั้น มีความหนา เหนียว และมีลักษณะคล้ายเยลลี่ มูกนี้ขณะอุดที่ปากมดลูกมีสีขาวเหนียวข้น แต่มักพบว่าที่ออกมาจากช่องคลอดมีริ้วเลือดเป็นสีชมพู แดง หรือน้ำตาล คือมีเลือดปะปนออกมา เพราะเส้นเลือดฝอยในปากมดลูกที่เปิดออกแตก ถ้ามีมูกเลือดออกทางช่องคลอดมาเร็วกว่า 37 สัปดาห์นั้น อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 

ความแตกต่าง ระหว่างมูกก่อนคลอด และ มูกเลือดออกทางช่องคลอด

มูกใส หรือมูกขาวข้นทางช่องคลอดนั้น จะหลุดออกมาในช่วงประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนคลอด ในช่วงเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มเปิด มูกนี้จะอยู่ที่ปากมดลูกของคุณแม่และจะหลุดไหลออกมาเอง เป็นลักษณะสีขาว เหนียวข้น มูกใสหรือมูกขาวข้นนี้ จึงเป็นสัญญาณเตือนคุณแม่ว่าให้เตรียมความพร้อมการคลอดไว้ เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายในอีกไม่กี่วันก่อนถึงเวลาคลอด ส่วนมูกเลือดนั้น เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกของคุณแม่จะขยายและเปิด ทำให้เส้นเลือดที่อยู่บริเวณปากมดลูกมีการแตก ทำให้มีมูกเลือดไหลออกมา

 

อาการร่วมพร้อมกับมีมูกเลือดออกทางช่องคลอดเมื่อใกล้คลอด

 

อาการร่วม เมื่อมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด

อาการหลายอย่างสามารถจะเกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน เป็นสัญญาณว่าคุณแม่กำลังจะคลอด ได้แก่

  1. ท้องแข็ง เพราะการหดตัวของมดลูก อาการท้องแข็ง ในกรณีที่กำลังจะคลอด ความรู้สึกเกร็งจนปวดจะเกิดขึ้นครั้งละไม่น้อยกว่า 30 วินาที ไม่ได้เป็นแล้วหายอย่างรวดเร็ว และเป็นซ้ำห่างกันทุก 3-5 นาที การเคลื่อนไหวเปลี่ยนอิริยาบถก็ไม่ช่วยให้บรรเทาอาการลงได้ คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาล
  2. เจ็บท้องเตือน มีลักษณะการปวดคล้ายเป็นประจำเดือน ก้ำกึ่งกับตะคริว และจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ อาการเจ็บท้องเตือน จะเป็นพร้อม ๆ กับอาการท้องแข็ง
  3. ปวดท้องหน่วง ๆ ร้าวไปที่หลังและขา ปวดหลังเป็นอาการทั่วไปที่พบในระหว่างตั้งท้อง แต่หากมีความรู้สึกปวดหลังรุนแรงมากกว่าปกติ อาจมาจากศีรษะของทารกที่ติดอยู่ในครรภ์ไปสัมผัสกับกระดูกสันหลังของแม่ในท้อง เป็นอีกหนึ่งสัญญาณแจ้งเตือนว่าใกล้ถึงเวลาคลอด

 

มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดกี่วัน ถึงจะคลอด

  • ตามข้อมูลจากสมาคมแพทย์สูติ-นรีวิทยาแห่งอเมริกา (American College of Obstetricians and Gynecologists) มูกเลือดออกทางช่องคลอดจะหลุดออกผ่านช่องคลอดเมื่อปากมดลูกเริ่มขยายออก ดังนั้น การมีมูกเลือดออกทางช่องคลอดอาจแสดงว่าการคลอดใกล้เข้ามาแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าจะคลอดในทันทีทันใด ยกเว้นมีอาการเตือนอื่นร่วมด้วย หรือเมื่อพบว่ามีน้ำคร่ำไหลออกมาด้วย
  • มูกเลือดออกทางช่องคลอดอาจจะบ่งชี้ว่า อีกประมาณหนึ่งถึงสามวันมีแนวโน้มถึงกำหนดคลอด คุณแม่เตรียมหรือตรวจสอบข้าวของสำหรับใช้ในโรงพยาบาล และเดินทางไปพบคุณหมอเพื่อให้เฝ้าดูอาการว่าปากมดลูกเปิดแล้วหรือยัง ทั้งนี้ ข้อมูลเพื่อการสังเกตดังกล่าวไม่ได้แม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์ คุณแม่ควรสังเกตตนเองในระยะนี้อย่างสม่ำเสมอ หากไม่มั่นใจควรรีบเดินทางไปพบแพทย์

 

มูกเลือดออกทางช่องคลอด ที่เป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ

หากมูกเลือดออกทางช่องคลอดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใกล้คลอด การมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

  • ฮอร์โมนทำงานอย่างผิดปกติ เช่น ผู้หญิงที่มีภาวะไข่ไม่ตก วัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน หรือคนในวัยหมดประจำเดือน รวมถึงการใช้ยามีส่วนผสมของฮอร์โมน ถ้าหากระดับฮอร์โมนแปรปรวนหรือไม่สมดุล ก็จะทำให้มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้
  • ความผิดปกติในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งหรือหลายส่วน เช่น มีภาวะที่เกี่ยวข้องกับท่อนำไข่ โพรงมดลูก ปากมดลูก หรือช่องคลอด อาจเป็นท่อนำไข่อักเสบอุดตัน การเกิดเนื้องอกในมดลูก การมีติ่งเนื้อในปากมดลูก หรือการอักเสบของโพรงมดลูกหรือปากมดลูก และอื่น ๆ
  • มะเร็งในระบบสืบพันธุ์ มะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดออกจากช่องคลอดได้เช่นกัน

 

มูกเลือดออกทางช่องคลอดแบบไหน คือสัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด

หากมีมูกเลือดออกทางช่องคลอดก่อนการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37 มูกเลือดมีปริมาณมากเกินจนผิดปกติ ต้องสงสัยไว้ก่อนว่าปากมดลูกเปิดแล้ว และคุณแม่กำลังเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด ยิ่งถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย มีความเสี่ยงที่มากขึ้นว่า คุณแม่อาจจะคลอดก่อนกำหนด อาการอื่น ๆ ที่ว่า คือ เจ็บบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือท้องส่วนล่าง ปวดหลัง ปวดท้องน้อยคล้ายมีประจำเดือน รู้สึกได้ว่าท้องแข็ง และเห็นว่าน้ำเดินหรือมีน้ำคร่ำไหลออกมา การรอจนเห็นน้ำเดินไม่ใช่สิ่งที่ดี นั่นคือใกล้คลอดมากแล้ว อาจจะไปโรงพยาบาลไม่ทันคลอด ดังนั้นแค่มูกเลือดออกทางช่องคลอดมามากหรือเจ็บปวดที่ท้องนานกว่าปกติ คุณแม่ควรตื่นตัวและรีบไปพบคุณหมอทันที

 

ร่างกายของคุณแม่มีการให้สัญญาณเพื่อให้เตรียมพร้อมก่อนถึงกำหนดคลอด เป็นระบบที่ดีและน่าอัศจรรย์ แต่บางครั้งสัญญาณก็อาจปรากฏกระชั้นกับการคลอดที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อไม่ประมาท เมื่อไปตามนัดเพื่อพบกับคุณหมอเมื่ออายุครรภ์ใกล้กับ 37 สัปดาห์ ควรยึดว่าเป็นกำหนดการเตรียมของใช้เตรียมคลอด ในวันคลอดก่อนล่วงหน้า โดยมีแผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัยที่จะช่วยซึมซับมูกเลือดออกทางช่องคลอดเตรียมไว้ด้วย หวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณแม่สบายใจพร้อมรับมือกับสถานภาพท้องแก่ใกล้คลอด และมีความเข้าใจว่าเลือดออกตอนตั้งท้องไม่น่ากลัวเสมอไปค่ะ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

อ้างอิง:

  1. Losing Your Mucus Plug & Bloody Show: Is Labor Near?, What to Expect
  2. What’s the Difference Between a Mucus Plug vs. Discharge, K Health
  3. What Does a Mucus Plug Look Like?, Parents
  4. When Does Labor Start After Losing Your Mucus Plug?, Parents
  5. 5 Signs You're Having Labor Contractions, Parents
  6. 6 สัญญาณเตือนการใกล้คลอด ที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  7. เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด...สัญญาณเตือนจากโรคทางนรีเวช, โรงพยาบาลเปาโล
  8. Patient education: Preterm labor (Beyond the Basics), UpToDate
  9. สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา, โรงพยาบาลนครธน
  10. ภาวะเลือดออกในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์, โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์
  11. สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา, โรงพยาบาลนครธน
  12. อาการเมื่อคุณแม่ใกล้คลอด, ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ้างอิง ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

1นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

2นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

2นาที อ่าน

View details ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง
บทความ
ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่านอนคนท้อง-ท่านั่งคนท้องแบบไหนดีกับคุณแม่ ท่าไหนที่คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการปวดเมื่อยไม่สบายตัว

5นาที อ่าน

View details วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม
บทความ
วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

ไขข้อข้องใจ พุงคนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน ลักษณะท้องของคนท้องกับคนทั่วไปต่างกันยังไง มีวิธีสังเกตยังไง ไปดูลักษณะท้องของคนท้องและพุงคนท้องกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย
บทความ
คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม หลั่งในตอนท้องอันตรายไหมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้องบ้าง

7นาที อ่าน

View details ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม
บทความ
ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

รู้จักกับอาการครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นอย่างไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ท้องต้องระวัง พร้อมวิธีดูแลครรภ์ให้ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

4นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม
บทความ
ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด คุณแม่ตรวจครรภ์ 2 ขีดจางมาก ๆ บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์เจ้าตัวเล็กหรือเปล่านะ ไปดูวิธีตรวจครรภ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความ
BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คือ การวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์ประเมินพัฒนาการของทารกได้ BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ควรศึกษาก่อนไปอัลตราซาวด์ท้อง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม คนท้องกินขนุนได้ไหม หากกินเยอะเกินไปจะอันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า ปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมสำหรับแม่ท้อง

6นาที อ่าน

View details คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเป็นกรดไหลย้อนอันตรายไหม คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออย่างไรดี หากมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม หากกินมากเกินจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ไหม

7นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์
บทความ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

7นาที อ่าน

View details ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า
บทความ
ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม คุณแม่ทำหมันหลังคลอดทันที พักฟื้นนานหรือเปล่า มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังการทำหมันหญิงหลังคลอด

5นาที อ่าน

View details อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี
บทความ
อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
บทความ
หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการแบบไหน ทารกในครรภ์ 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 2 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

2นาที อ่าน