คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไข่นั้นมีโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นกับร่างกายของคนท้อง และการแปรรูปไข่สดให้เป็นไข่เค็มนั้น เป็นการช่วยเพิ่มรสชาติให้ไข่ธรรมดา ๆ นั้นให้น่ากิน และมีรสมัน เค็ม อร่อย คนท้องควรควบคุมปริมาณในการกินไข่เค็ม แม้ว่าคนท้องกินไข่เค็มนั้นจะมีประโยชน์ แต่ปริมาณโซเดียมที่ได้รับจากไข่เค็มที่กินนั้น อาจส่งผลร้ายกับสุขภาพของตนเองและลูกในท้องโดยไม่รู้ตัว
สรุป
- ไข่เค็มคือ ไข่ที่ได้รับกระบวนการแปรรูป โดยนำไข่ไปหมักดองในน้ำเกลือ นำไข่สดมาพอกกับขี้เถ้าดินแกลบที่ผสมเกลือ เพื่อให้ไข่สดดูดความเค็มเข้ามาที่เนื้อของไข่
- ไข่เค็มจะมีรสเค็ม มีปริมาณเกลือ หรือโซเดียมมากกว่าไข่สดทั่วไป คนท้องไม่ควรกินไข่เค็มเกินวันละ 1 ฟอง คนท้องกินเค็มมาก ๆ มีผลต่อสุขภาพ
- คนท้องกินไข่เค็มในปริมาณมาก จะทำให้ได้รับโซเดียมมากเกินไป ทำให้ไตและหัวใจของคนท้องทำงานหนัก เกิดอาการบวมน้ำ เสี่ยงให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไต
- คนท้องกินเกลือ และโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป นอกจากจะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของคนท้องแล้ว ยังทำให้เสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้อีกด้วย เพราะจะทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก ส่งผลต่อการพัฒนาของไต หรืออาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม เสี่ยงอะไรกับลูกในท้องบ้าง
- คนท้องได้รับโซเดียมสูงเกินไป จะเกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่บ้าง
- ประโยชน์จากไข่เค็ม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- เมนูไข่เค็ม ที่คุณแม่ท้องสามารถกินได้
คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม ไข่เค็ม คือการแปรรูปไข่สดด้วยการหมักในน้ำเกลือ หรือพอกไข่ด้วยดินแกลบและขี้เถ้าที่ผสมเกลือ ทำให้ไข่ดูดซึมความเค็มเข้าไป ส่งผลให้ไข่เค็มมีปริมาณเกลือหรือโซเดียมสูงกว่าไข่สดทั่วไป
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ควรกินไข่เค็มเกินวันละ 1 ฟอง เพราะการบริโภคเกลือหรือโซเดียมมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ การกินเค็ม อาจทำให้ไตทำงานหนัก และหากไตไม่สามารถขับโซเดียมออกได้เหมาะสม จะเกิดการคั่งของเกลือในร่างกาย นำไปสู่อาการบวมน้ำ รวมถึงเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และไตวาย แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่าเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา
คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม เสี่ยงอะไรกับลูกในท้องบ้าง
ไข่เค็ม เป็นอาหารหมักดองด้วยเกลือจำนวนมาก ความเค็มของไข่เค็มหากกินในปริมาณมาก จะทำให้ได้รับโซเดียมมากเกินไป ส่งผลให้ไต และหัวใจของคนท้องทำงานหนัก เกิดการบวมน้ำ เสี่ยงให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคไต ไตวายเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เสี่ยงทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และทำให้ร่างกายเสี่ยงภาวะอันตรายหลายอย่าง เช่น
1. บวมน้ำ
เป็นภาวะน้ำที่สะสมค้างอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกายจนทำให้เกิดอาการบวม หากกินอาหารเค็มหรือโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ไตเสื่อม เพราะไตทำหน้าที่ในการขับโซเดียม อาการบวมน้ำนี้เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น มือ แขน ข้อเท้า เท้า และขา ซึ่งอวัยวะเหล่านี้จะทำให้เห็นอาการบวมน้ำได้อย่างชัดเจน
2. โรคไต ไตวายเรื้อรัง
จากการกินเค็มมากเกินไป ส่งผลให้ไตเสื่อมสภาพ ไม่สามารถกลับมาทำงานเป็นปกติได้ และทำให้เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต เพราะเมื่อเป็นโรคไตแล้วกินเค็มมากจะทำให้เกิดอาการไตเสื่อมเร็วขึ้น
3. ความดันโลหิตสูง
การกินเค็มจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
4. โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต
อาหารที่มีเกลือ รสเค็มจัด เช่น ไข่เค็ม หากกินในปริมาณที่มากเกินไป เสี่ยงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตสูงนั้นจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองแข็งและตีบ ทำให้สมองขาดเลือด เป็นอัมพฤกษ์ และอัมพาตในที่สุด
5. โรคหัวใจและหลอดเลือด
การกินอาหารที่มีรสเค็มจัดมากเกินไป ทำให้เลือดมีความเข้มข้นของโซเดียม ร่างกายจึงลดความเข้มข้นลง โดยการดึงน้ำเข้ามาในหลอดเลือดมากขึ้น ทำให้หัวใจทำงานหนัก เพราะต้องสูบฉีดเลือดอย่างหนัก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
6. โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
จากการศึกษาของนักวิจัยพบว่า การกินอาหารที่มีรสเค็ม มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารสูง
คนท้องได้รับโซเดียมสูงเกินไป จะเกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่บ้าง
คนท้องที่ได้รับโซเดียมในปริมาณที่สูงมากเกินไป จะทำให้เสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ ทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก ส่งผลต่อการพัฒนาของไต ทำให้ทารกโตช้า รกลอกตัวก่อนกำหนด และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในครรภ์แม่ คนท้องได้รับโซเดียมสูงเกินไป อาจส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ ดังนี้
1. ครรภ์เป็นพิษ
ครรภ์เป็นพิษ คือ ภาวะที่คนท้องมีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีภาวะโปรตีนหรือไข่ขาวอยู่ในปัสสาวะ หนึ่งในสาเหตุอาจเกิดจากคนท้องได้รับโซเดียมจากการกินอาหารรสเค็มจัดมากเกินไปจนเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทำให้คนท้องมีอาการบวม ครรภ์เป็นพิษมักเกิดในช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนด หากรุนแรงอาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
2. ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก
ทารกในครรภ์ตัวเล็ก เติบโตช้า ไม่เติบโตตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คุณแม่เป็นโรคไต หรือโรคความดันโลหิตสูง สาเหตุอาจมาจากการกินโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป
3. ส่งผลต่อการพัฒนาของไตทารก
คนท้องกินโซเดียม หรือเกลือมากจนเกินไป เสี่ยงทำให้ทารกเป็นโรคไตตั้งแต่เด็ก คนท้องควรหลีกเลี่ยงขนม อาหารที่มีรสเค็มมาก และควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
ประโยชน์จากไข่เค็ม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
แม้ไข่เค็มจะมีประโยชน์ แต่คุณแม่ท้องควรกินให้พอดี ไม่กินมากเกินไป เพราะไข่เค็มจะมีปริมาณของโซเดียมและเกลือมากกว่าไข่สด แม่ท้องไม่ควรกินไข่เค็มเกินวันละ 1 ฟอง ไข่เค็มอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นกับร่างกายของคนท้อง ดังนี้
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะมีวิตามินที่สำคัญกับร่างกายเช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินบี 1 บี 2 บี 6 ช่วยการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท
- บำรุงระบบประสาท เลซิธินในไข่แดงช่วยบำรุงสมอง บำรุงระบบประสาท ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
- บำรุงกระดูกและฟัน แคลเซียมและฟอสฟอรัสในไข่ช่วยเสริมสร้าง บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- บำรุงสายตา ซีแซนทีนและลูทีน ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย ช่วยป้องกันรังสีจากแสงแดด
เมนูไข่เค็ม ที่คุณแม่ท้องสามารถกินได้
ไข่เค็ม นอกจากจะนำไปกินกับข้าวต้มแล้ว ยังสามารถนำไข่เค็มไปประยุกต์ทำเมนูได้หลากหลาย ซึ่งจะช่วยทำให้ไข่เค็มมีรสชาติที่ดีขึ้น มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการสำหรับคนท้อง ซึ่งได้แก่เมนูดังต่อไปนี้
1. ยำไข่เค็ม
เมนูยำรสชาติเข้มข้น นำไข่เค็มมาหั่นเป็นชิ้น ๆ มายำกับสมุนไพรและน้ำยำ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ยำขนมจีนไข่เค็ม
เส้นขนมจีน ปรุงรสในรูปแบบคล้ายยำ ใส่ไข่เค็มเสิร์ฟ สามารถใส่เครื่องเคียงได้หลากหลาย
3. วุ้นเส้นผัดไข่เค็ม
วุ้นเส้นผัดคลุกเคล้ากับไข่เค็ม ใส่ผักเพื่อเพิ่มรสชาติและสีสัน และมีประโยชน์
4. ไข่เค็มผัดพริกเผา
นำปลาหมึกสดใหม่ไปผัดกับไข่เค็ม ซอสไข่เค็มที่ทำด้วยไข่เค็มบด ปรุงรสด้วยซอสหอยนางรม น้ำพริกเผา นำซอสไปผัดกับปลาหมึก คนให้เข้ากัน ก็จะได้ปลาหมึกผัดไข่เค็มแสนอร่อย
5. สปาเก็ตตี้ปลาหมึกไข่เค็ม
เมนูสำหรับคนเบื่อข้าว อาหารฝรั่งนำมาทำในรูปแบบไทย ๆ โดยการนำเส้นสปาเก็ตตี้มาคลุกเคล้ากับปลาหมึกที่นำไปผัดกับไข่แดง แล้วปรุงรส
6. ไข่ดาวเค็ม
สูตรไข่เค็มน้อย ใช้ไข่เค็มดิบที่หมักหรือดองประมาณ 8 วัน เพื่อจะได้มีรสไม่เค็มมาก ไข่แดงก็จะเริ่มมีความหนึบ เมื่อนำมาทอดเป็นไข่ดาว หรือทำเป็นไข่ดาวน้ำ เนื้อไข่แดงก็จะเป็นทราย ไข่ขาวก็จะมีความเค็มกำลังดี ก่อนนำไปทอดเป็นไข่ดาว ควรล้างไข่เค็มที่หมักแล้วให้สะอาด เพื่อล้างความเค็มออก
อาหารและโภชนาการต่าง ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับร่างกายคนท้องในการตั้งครรภ์ แต่การทานอาหารที่เสี่ยงอาจทำให้ก่อเกิดโรค หรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนท้องต้องเอาใจใส่และระมัดระวัง คุณแม่ท้องควรกินอาหารสำหรับคนท้อง ให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ และกินในปริมาณที่พอดี เพราะแทนที่จะได้รับประโยชน์ อาจจะได้รับโทษแทน
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- 12 เมนูอาหารคนท้อง คนท้องกินอะไรได้บ้าง ดีต่อสุขภาพครรภ์
- ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า
- คนท้องกินกาแฟได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินแตงโมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินเผ็ดได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินชาเย็นได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ
อ้างอิง:
- กินเค็มแค่ไหนไม่ป่วย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- เมนู “ไข่แปรรูป” เลือกกินอย่างไรให้ปลอดภัย, โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
- มารู้จักโซเดียมกันเถอะ, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- อาหารต้องห้ามที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้, Princhealth
- อาการบวม, Pobpad
- โรคไต ภัยที่ซ่อนในความเค็ม, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
- ลดเค็มพิชิตภัยเงียบ, สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย
- 9 ข้อความรู้โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต, โรงพยาบาลเพชรเวช
- กินอาหารอย่างไร...ห่างไกลโรคหลอดเลือดสมอง, โรงพยาบาลพญาไท
- “กินเค็ม ไม่ได้เสี่ยงแค่โรคไต แต่ยังเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด”, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณ
- 5 พฤติกรรม ทำให้เสี่ยง “มะเร็งกระเพาะอาหาร”, โรงพยาบาลเปาโล
- “ภาวะครรภ์เป็นพิษ“ ความเสี่ยงต่อชีวิตของคุณแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
- ครรภ์เป็นพิษ เรื่องที่แม่ท้องต้องระวัง, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- เรื่องไข่กินแล้วดี มีประโยชน์, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- ยำไข่เค็ม, Thai Thaifood
- Spicy Rice Vermicelli Salad (ยำขนมจีน), Pholfoodmafia
- วุ้นเส้นผัดไข่เค็ม, KRUA
- วิธีทำ ปลาหมึกผัดไข่เค็ม คลุกซอสไข่เค็มเข้มข้น หมึกเด้งเคี้ยวมัน, Sgethai
- สปาเก็ตตี้ปลาหมึกผัดไข่เค็ม เมนูอาหารจานเดียวรสเด็ด ของสาวกคนรักเส้น, Chefoldschool
- ไข่เค็ม โฮมเมด 8 วันได้กิน เค็มได้ตามสั่ง, Lovefitt
- Fetal growth restriction ภาวะทารกโตช้าในครรภ์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- โรคไตในเด็ก เรื่องไม่เล็กที่พ่อแม่ควรรู้, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
อ้างอิง ณ วันที่ 6 กันยายน 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง