พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่-19

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19

 พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19

headphones
อ่าน 3 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19

 

คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บท้องน้อยบริเวณเหนือขาหนีบ เนื่องจากมดลูกที่ยืดขยายใหญ่นั้น จะดึงเส้นเอ็นที่ยึดมดลูกให้ยืดขยายขึ้นมาก ในขณะที่บริเวณยอดมดลูกไม่ได้ยึดกับอะไร เวลาเดิน มดลูกส่วนบนย่อมมีการโยกเอน และทำให้เอ็นด้านล่างเสมือนถูกดึงสลับไปมาด้วย ดังนั้น จึงมีอาการเจ็บแปล๊บๆ ได้ง่าย เวลาเดินหรือลุกเปลี่ยนท่า ซึ่งไม่น่ากังวลและไม่ต้องทานยาแก้ปวดนะคะ เนื่องจากเป็นการปวดจากสรีระที่เปลี่ยนแปลง การทานยามากๆ อาจก่อผลเสียได้ คุณแม่สามารถปรับท่านอน โดยนอนงอเข่าและสะโพก หรือหาหมอนหนุน และสวมกางเกงในหรือกางเกงที่คอยพยุงหน้าท้องไม่ให้โย้ไปด้านหน้าหรือด้านข้างจนเกินไปนัก ก็จะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้

 

พัฒนาการลูก

ส่วนประสาทไขสันหลังพัฒนาต่อเนื่อง เริ่มหนาตัวขึ้น เซลล์สมองเพิ่มจำนวนขึ้น และน้ำหนักลูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ลูกมีความยาวประมาณ 23 ซม. ผนังหน้าท้องลูกเริ่มปิดสมบูรณ์

 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19

Tips 

  • นอกจากการรับประทานอาหารในกลุ่มโปรตีนแล้ว กรดไขมันจำเป็นที่คุณแม่ท้องควรได้รับ เช่น       โอเมก้า 3 ก็มีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาท และสายตาของลูก และถ้าพูดถึงอาหารที่ให้ทั้งสองอย่างได้ดี และยังให้แคลเซียมด้วย ก็คือปลา คุณแม่สามารถคิดค้นเมนูปลาที่หลากหลาย  ได้แก่

               ** ปลาผัดขิง : คุณแม่สามารถเลือกใช้ปลากระพง ซึ่งให้ DHA ช่วยบำรุงสายตาลูก และใส่ผัก เช่น คื่นช่าย ช่วยดับกลิ่นคาว เพราะแม่ท้องบางท่านแพ้ท้อง จะไม่ชอบทานปลา การผัดขิงนอกจากจะช่วยเรื่องดับกลิ่นคาวปลาแล้ว ขิงยังช่วยเรื่องลดอาการแพ้ท้องด้วย
               ** ต้มโคล้งปลากระพง ปลาแซลมอน : คุณแม่อย่าเพิ่งงงนะคะว่าเมนูแปลกจริง เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการแพ้ท้อง คุณแม่มักชอบทานอาหารรสจัด แต่ถ้าเผ็ดมากก็คงไม่ดี ต้มโคล้ง เป็นเมนูที่ลงตัวในแง่ที่มีรสเผ็ดไม่มาก เปรี้ยวๆ หวานๆ เล็กน้อย ทำให้เจริญอาหาร และใส่ปลาเพื่อให้ได้โปรตีน แคลเซียม โอเมก้า อันที่จริง คุณแม่สามารถใส่ไข่ต้ม เพื่อเพิ่มโปรตีน กรดอะมิโน แร่ธาตุ วิตามิน. A B E D ได้อีกด้วย

  • คุณแม่ไม่ควรทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือปรุงไม่สุก เนื่องจากลำไส้คุณแม่ท้องมักอ่อนแอกว่าปกติ เกิดปัญหาท้องเสีย อาหารเป็นพิษได้ง่ายค่ะ

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ  

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1
 

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูอาหารคนท้อง บำรุงคุณแม่ อาหารคนท้องที่ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูอาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน เมนูคนท้องและอาหารคนท้องอะไรบ้างที่ดีกับลูก ไปดูกัน

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

ใครอยากมีลูกต้องอ่าน วันตกไข่ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ อาการแบบไหนถึงรู้ว่าตัวเองอยู่ในช่วงวันตกไข่ และนับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้คนที่อยากมีลูก

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง