พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16 

headphones
อ่าน 3 นาที

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16 

 

เป็นช่วงอายุครรภ์ในสัปดาห์ที่ 16 นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ได้แก่

  • อาการแพ้ท้องมักหายไป คุณแม่เริ่มปรับตัวกับการเลือกรับประทานอาหารได้มากขึ้น จัดสูตรอาหารที่มีประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย และเริ่มดูแลให้น้ำหนักคุณแม่ขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม ได้ตามเกณฑ์
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่ 2ขึ้นไป จะเริ่มรู้สึกลูกในท้องดิ้นให้คอยสังเกตได้แล้วค่ะ
  • คุณแม่สามารถเริ่มทำฟันได้ค่ะ เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรก หลายท่านยังมีอาการแพ้ท้อง เวลาไปทำฟัน มีโอกาสกระตุ้นการอาเจียนและสำลักได้ เมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ อาการต่างๆ ดีขึ้น จึงเหมาะที่จะไปทำฟันค่ะ
  • ในคุณแม่ที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยตั้งครรภ์แล้วลูกในท้องผิดปกติ หรือมีประวัติความผิดปกติทางโครโมโซมคุณหมอจะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อนำเซลล์ที่อยู่ในน้ำคร่ำไปตรวจโครโมโซมของลูกว่ามีความผิดปกติทางโครโมโซมหรือไม่ ซึ่งจะเริ่มเจาะขณะอายุครรภ์ 16 สัปดาห์นี้เอง

 

นอกจากนี้ในคุณแม่และคุณพ่อที่เป็นพาหะโรคเลือดจาง (ธาลัสซีเมีย) ทั้งคู่ชนิดที่ทำให้ลูกมีโอกาสเป็น   โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงก็สามารถวินิจฉัยความผิดปกตินี้ของลูกด้วยการตรวจเซลล์ในน้ำคร่ำที่อายุครรภ์นี้เช่นกัน


พัฒนาการลูก 

ลูกเริ่มมีขนอ่อนขึ้น ระบบประสาทเริ่มสร้างปลอกหุ้มรอบใยประสาท เพื่อส่งเสริมการทำงานส่งสัญญาณเชื่อมต่อกันของระบบประสาท ลูกมีความยาวประมาณ 16 ซม. และคุณแม่ครรภ์หลังจะเริ่มรู้สึกลูกดิ้นที่อายุครรภ์นี้

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16


Tips 
           

  • ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ คุณหมอจะทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อวัดขนาดทารก ยืนยันอายุครรภ์ ประเมินตำแหน่งรก น้ำคร่ำ เพื่อเลือกตำแหน่งในการเจาะ จากนั้นใช้เข็มขนาดเล็กมาก แทงผ่านหน้าท้องคุณแม่ผ่านผนังมดลูกเข้าไปในถุงน้ำคร่ำเพื่อดูดน้ำคร่ำออกมา ซึ่งการตรวจจะอยู่ภายใต้การอัลตร้าซาวด์ เพื่อประเมินตำแหน่งที่ปลอดภัยในการเจาะ ไม่ให้เข็มบาดเจ็บถูกตัวลูก 
  • หลังเจาะน้ำคร่ำ คุณแม่ควรนอนพักประมาณ 30-45 นาที จากนั้นคุณหมอจะทำอัลตร้าซาวด์อีกครั้ง เพื่อประเมินหัวใจทารก รวมถึงรกและน้ำคร่ำ ว่ามีเลือดออกหรือมีการบาดเจ็บจากการเจาะน้ำคร่ำหรือไม่ ทั้งนี้ คุณแม่ควรนอนพักหลังการเจาะน้ำคร่ำ งดกิจกรรม งดการออกกำลังกาย และหากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง หรือเลือดออกควรรีบมาโรงพยาบาล

 


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง

ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก

ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการคนท้อง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยอาการเริ่มแรกที่หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สัมผัสได้ คือ การขาดประจำเดือน แต่ความจริงแล้วในช่วงท้อง 1 สัปดาห์ - 2 สัปดาห์แรก ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์อาจมีอาการเลือดออกเล็กน้อยคล้ายประจำเดือนที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ทำให้ว่าที่คุณแม่อาจไม่ทันได้สังเกตคิดว่าประจำเดือนมาปกติ ส่วนอาการอื่น ๆ อย่างอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และอารมณ์แปรปรวน จะตามมาทีหลัง รวมถึงมีสัญญาณการตั้งครรภ์อื่น ๆ ตามมา

อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์

โภชนาการหญิงตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องเลือกทานอาหารให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย หากได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือน้อยไปย่อมส่งผลไม่ดีต่อตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์เอาได้ การเลือกอาหารสำหรับคนท้องจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก แล้วแบบนี้คนท้องควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

เทคนิคสำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอดให้ยุบไว หายเร็ว ไม่ติดเชื้อ

เทคนิคสำหรับแม่หลังผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอด ให้ยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี

คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด มีหลายอย่างที่จะต้องเตรียมตัว รวมถึงการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด โดยเฉพาะการดูแลแผลผ่าตัดคลอด เพราะร่องรอยผ่าคลอดที่อยู่บนร่างกาย หากไม่ดูแลให้ดีจะเสี่ยงแผลผ่าคลอดอักเสบ ติดเชื้อรุนแรงได้ มาอ่านวิธีดูแลแผลผ่าคลอด เพื่อให้แผลยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ กันได้ในบทความนี้

ผ่าคลอดครั้งแรก เตรียมตัว เตรียมใจ อย่างไรให้พร้อมก่อนขึ้นเตียงผ่าตัด

ผ่าคลอดครั้งแรก เตรียมตัว เตรียมใจ อย่างไรให้พร้อมก่อนขึ้นเตียงผ่าตัด

เมื่อคุณหมอแจ้งว่าต้องผ่าคลอด คุณแม่ย่อมตื่นเต้นเป็นเรื่องธรรมดา นับวันรอพร้อมหาข้อมูลเตรียมตัวก่อนผ่าตัดคลอด ศึกษาด้วยว่าหลังผ่าคลอดแล้วจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งจะตั้งท้องเป็นครรภ์แรก