สุดยอด 3 สารอาหารในนมแม่ ช่วยลูกฉลาด สมองไว พัฒนาสมองลูก
คุณแม่หลายท่านคงพอทราบกันอยู่แล้วใช่ไหมคะว่า น้ำนมแม่นั้นมีสารอาหารที่คุณค่ามากมายมหาศาลกว่าสารอาหารใดๆ ช่วยให้ลูกสมองไว ฉลาด และแข็งแรง เราไปดูกันค่ะว่า มีสารอาหารในนมแม่ มีอะไรบ้าง และสารอาหารตัวไหนที่ช่วยให้ลูกน้อยฉลาด สมองดี เรียนรู้ไว ไปดูกันเลยค่ะ
สารอาหารในนมแม่มีอะไรบ้าง และสำคัญอย่างไรสำหรับลูกน้อย
จากการศึกษาเชิงสังเกตของ Dr. Chetham และ Dr. Sheppard ที่มหาวิทยาลัย North Carolina ประเทศ สหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารในนมแม่ คือ ลูทีน โคลีน และ ดีเอชเอ ที่ส่งผลกับความจำของทารกอายุ 6 เดือน โดยการวิเคราะห์สารอาหารสำคัญในน้ำนมแม่ที่ให้นมบุตรอายุ 3 -4 เดือน และทดสอบความจำ ในทารก 67 คนที่ดื่มนมแม่ ที่นำมาวิเคราะห์ ที่อายุ 6 เดือน เพื่อดูความสัมพันธ์ของผลการทำงานร่วมกันของ DHA Choline Lutein กับความจำทารก
ผลลัพธ์การศึกษาเด็กที่ได้รับสารอาหารในนมแม่
ผลการศึกษาแสดงถึงความสัมพันธ์ของทำงานร่วมกัน 3 สารอาหารในนมแม่ที่มี 3 สารอาหารในปริมาณที่สูงกว่า (ดีเอชเอ &โคลีน, โคลีน & ลูทีน) มีความสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างความจำที่ดีกว่าในทารก อย่างไรก็ตามยังต้องการ การศึกษาเพิ่มเติมในการทำงานร่วมกันของสารอาหารเหล่านี้
แอลฟา-แล็คตัลบูมิน อีก 1 สารอาหารสำคัญที่พบในน้ำนมแม่
เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำนมแม่เป็นแหล่งสารอาหารสำคัญต่างๆ เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็น และสำคัญสำหรับการพัฒนาสมองหลายอย่าง เช่น ดีเอชเอ เอเอ ลูทีน ธาตุเหล็ก และหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญคือ แอลฟา- แล็คตัลบูมิน แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” เป็นโปรตีน คุณภาพสูงซึ่งเป็นสารอาหารที่พบได้มากในน้ำนมแม่ และสำคัญต่อการสร้างสื่อประสาท เช่น ทริปโทเฟน ช่วยในการนอนหลับ ทำให้อารมณ์ดีและยังลดความเครียดอีกด้วยผลวิจัยทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่าเด็กที่ได้รับนมแม่ จะสร้างสารสื่อประสาทมากกว่า ส่งผลให้เด็กนอนหลับและมีอารมณ์ดีกว่า ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลดีต่อพฤติกรรม การเรียนรู้ และการพัฒนาสมอง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เคล็ดลับนมแม่! ช่วยให้การให้นมลูกเป็นเรื่องง่าย
5 ผักสุดอร่อยช่วยเพิ่มน้ำนมแม่
อ้างอิง
- Cheatham CL and Sheppard KW. Synergistic Effects of Human Milk Nutrients in the Support of Infant Recognition Memory: An Observational Study. Nutrients 2015: 7; 9079-95.
- Lonnerdal B, Lien EL. Nutritional and physiologic significance of alpha-lactalbumin in infants. Nutr Rev 2003: 61(9); 295-305
- Steinberg LA, O’Cornell NC, Hatch TF, Picciano MF, Birch LL. Tryptophan intake influences infants’sleep latency. J Nutr 1992: 122(9); 1781-91
- Cubero J, Valero V, etc. The circadian rhythm of tryptophan in breast milk affects rhythms of 6-sulfatoxymelatonin and sleep in newborn. Neuroendocrinology letters 2005: 26(6); 657-61.
- Touchette E, Petit D, Seguin JR, etc. Associations between sleep duration patterns and behavioral/cognitive functioning at school entry. Sleep 2007: 30(9); 1213-9
บทความที่เกี่ยวข้อง