ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง
ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดเต้าเป็นแผล ลูกกัดหัวนม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ คุณแม่ควรมีวิธีรับมืออย่างถูกต้องเหมาะสม และค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมในการกินนมของลูก จะทำให้ลูกกลับมาเข้าเต้าดูดนมได้ตามปกติ และเลิกกัดหัวนมไปในที่สุด หากหัวนมคุณแม่อักเสบจนมีแผลเป็นหนอง ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ระบายหนองออกอย่างถูกวิธี และควรรับยาฆ่าเชื้อภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น
PLAYING: ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง
สรุป
- ลูกกัดหัวนม ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง เป็นเรื่องที่คุณแม่ให้นมลูกมักพบเจอ ลูกชอบกัดหัวนม เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ลูกกินนมแม่ไม่ถูกท่า หรือ เกิดอาการคัน ระคายเคืองที่ฟัน จึงงับเต้านมแม่เพื่อลดอาการเจ็บ คันที่ฟัน หรือ เด็กบางคนเมื่อกินนมแม่อิ่มแล้ว จะชอบกัดหัวนมแม่
- ลูกกัดหัวนมแม่ ทำให้เกิดมีบาดแผลที่หัวนม และมีการติดเชื้อ เชื้อโรคจะเข้าสู่ท่อน้ำนมทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำนม จนทำให้เกิดเป็นหนอง และมีฝีขึ้นมา หากเต้านมมีการอักเสบมีหนองจนมีฝีร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี และระบายเอาหนองออก แม้ว่าอาการอาจไม่ได้มีความรุนแรง แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดได้
- ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนม หากรักษาไม่ถูกต้อง ดูแลรักษาไม่ถูกวิธี อาจส่งผลอันตรายได้ หากพบว่า เต้านมที่เป็นแผลนั้นมี มีอาการปวด บวมแดง อักเสบ มีฝีหนอง ควรรีบพบแพทย์รับการรักษาอย่างถูกวิธี
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ลูกกัดหัวนมแม่ เพราะอะไร
- ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง อาการเป็นยังไง
- ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง หายเองได้ไหม
- ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง แผลจะติดเชื้อได้ไหม
- ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ให้นมลูกต่อได้ไหม
- ลูกกัดเต้าเป็นแผล ดูแลทำความสะอาดยังไงดี
- ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ต้องทายาอะไรไหม
- ลูกกัดเต้าเป็นแผล ปรับวิธีให้นมแบบนี้ช่วยได้
ลูกกัดหัวนมแม่ เพราะอะไร
ลูกกัดหัวนม ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณเต้านม และหัวนม เป็นเรื่องที่คุณแม่ให้นมลูกมักพบเจอ โดยสาเหตุที่ลูกชอบกัดหัวนมแม่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี เช่น
1. ท่าให้นมไม่ถูก
แม่เอาลูกเข้าเต้าด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง สาเหตุนี้มักพบได้บ่อยในวัยเด็กทารกแบเบาะ หากคุณแม่ให้นมลูกในท่าที่ถูกต้อง จะช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้ง่ายขึ้น
2. น้ำนมไม่พอ
ลูกกินนม อมหัวนมไม่ถึงลานนม ทำให้ดูดนมแล้วไม่ได้น้ำนม จึงงับ เคี้ยวหัวนมแม่
3. สนใจสิ่งแวดล้อม สิ่งแปลกใหม่
เด็กที่อยู่ในวัยเตาะแตะ มักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย ขณะที่กำลังดูดนม เมื่อได้ยินเสียงอะไร จะทำให้หันไปมองในทันที และหุบขากรรไกรลง จึงเป็นผลให้เผลองับหัวนมของคุณแม่
4. ฟันเริ่มขึ้น
ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น ลูกจะเกิดการคัน เจ็บ ระคายเคืองที่ฟัน จึงทำให้ลูกพยายามงับ หรือกัด หัวนม เต้านมคุณแม่เพื่อลดอาการ เจ็บ ระคายเคืองที่ฟัน
5. ลูกกัดเล่น
เพราะอิ่มแล้ว เด็กบางคนเมื่อกินนมแม่อิ่มแล้ว จะชอบกัดหัวนมแม่
ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง อาการเป็นยังไง
ลูกกัดเต้าจนเป็นแผลมีหนอง มักเกิดจากการอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกต้อง ทำให้ลูกอมหัวนมไม่กระชับ เมื่อดูดแล้วจะรู้สึกเจ็บ จนเป็นแผล เต้านมที่เป็นแผลอาจติดเชื้อจนกลายเป็นหนองเกิดขึ้นเป็นฝี หรือที่เรียกว่า ฝีเต้านม ซึ่งจะทำให้เจ็บปวด ทรมานเต้านม การติดเชื้อนี้จะเกิดเป็นฝีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผล คุณแม่จะมีอาการ ปวด ร้อน บริเวณเต้านม เต้านมบวมแดง
ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง หายเองได้ไหม
ลูกกัดเต้านมเป็นแผลมีหนอง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้แผลลุกลาม จนติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง เกิดจากลูกเข้าเต้า กินนมไม่ถูกท่า ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดมีบาดแผลที่หัวนม และมีการติดเชื้อ เชื้อโรคจะเข้าสู่ท่อน้ำนม ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำนม จนเกิดเป็นหนอง และมีฝีขึ้นมา
หากเต้านมมีการอักเสบมีหนองจนมีฝีร่วมด้วย คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อระบายเอาหนองออก แม้ว่าอาการอาจไม่ได้มีความรุนแรง แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด ควรพบแพทย์ตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างถูกวิธี ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาทานเอง ควรทานยาเพื่อการรักษาแผลหนอง ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น
ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง แผลจะติดเชื้อได้ไหม
ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง หากรักษาไม่ถูกวิธี อาจส่งผลอันตรายได้ หากคุณแม่พบว่า เต้านมที่เป็นแผลนั้นมีหนอง อักเสบ บวมแดง มีอาการปวด ควรรีบพบแพทย์รับการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะการชะล่าใจ ปล่อยทิ้งไว้จนทำให้เต้านมอักเสบมีหนองและมีฝีร่วมด้วย อาจทำให้เชื้อลุกลามจนติดเชื้อในกระแสเลือดได้
ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ให้นมลูกต่อได้ไหม
คุณแม่ที่มีหัวนมเป็นแผล ที่เกิดจากลูกกัดหัวนม สามารถให้ลูกกินนมแม่ต่อได้ หากเกิดอาการเจ็บ และมีบาดแผล ควรให้ลูกดูดนมข้างที่ไม่เป็นแผลก่อน หรือจะสลับท่าอุ้มให้ลูกดูดนม เช่น ท่าอุ้มบนตัก หรือท่าฟุตบอล เมื่อเวลาลูกดูดจะได้ไม่โดนตรงรอยแผลที่เจ็บ ระหว่างการให้ลูกดูดนมแม่ หากมีอาการเจ็บ ให้ใช้แผ่นป้องกันหัวนม ใส่เพื่อลดแรงดึงรอบ ๆ หัวนม และป้องกันไม่ให้ปากลูกสัมผัสกับหัวนม หากคุณแม่เจ็บหัวนมมากจนทนไม่ไหว ควรให้ลูกงดดูดนมแม่ก่อน 1-2 วัน จนแผลและอาการดีขึ้น แต่ควรบีบน้ำนมออกทุก 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาการคัดตึงของเต้านม
ลูกกัดเต้าเป็นแผล ดูแลทำความสะอาดยังไงดี
ลูกกัดหัวนม เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ให้นมทุกคนต้องเจอ หากลูกน้อยกัดเต้าคุณแม่จนหัวนมแตก เป็นแผล คุณแม่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเกิดเต้านมอักเสบได้ มีวิธีซึ่งจะช่วยทำให้แผลนั้นหายเร็ว ดังต่อไปนี้
- หมั่นทำความสะอาดและปล่อยให้แห้ง ไม่ควรทำควมสะอาดด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาใด ๆ
- ใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ใส่ยกทรงที่พยุงเต้าได้ดี ไม่รัดแน่นเกินไป
- ใช้น้ำนมแม่ทาแผล น้ำนมแม่จะช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น
ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ต้องทายาอะไรไหม
คุณแม่ที่มีแผลที่เต้านม เนื่องจากลูกกัดเต้า ควรบีบน้ำนมทาหัวนม แล้วปล่อยไว้ให้แห้ง โดยไม่สวมเสื้อทับ น้ำนมแม่จะช่วยสมานแผลให้หายเร็ว ไม่ควรใช้ครีมทา ไม่ควรใช้สบู่ล้างหัวนม เพราะจะทำให้ผิวตรงหัวนมแห้งและแตกง่าย หากเต้านมเป็นแผลลุกลามจนเป็นหนอง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาและระบายเอาหนองออกอย่างถูกวิธี ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง ควรใช้ยาภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น
ลูกกัดเต้าเป็นแผล ปรับวิธีให้นมแบบนี้ช่วยได้
ลูกกัดเต้าเป็นแผล เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยของคุณแม่ที่ให้นมลูก โดยเฉพาะในวันที่ฟันเริ่มขึ้น ลูกจะเกิดการคัน เจ็บที่ฟัน จึงทำให้ลูกพยายามงับ หรือกัด หัวนม เต้านมคุณแม่เพื่อลดอาการ เจ็บ ระคายเคืองที่ฟัน ทำให้เผลอกัดหัวนมแม่จนเป็นแผล คุณแม่จึงควรเตรียมพร้อม ปรับวิธีการให้นมลูกใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกัดเต้าเป็นแผล ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. เปลี่ยนสถานที่ให้นม
ดึงความสนใจของลูกมาที่ตัวของแม่ โดยการจ้องตาและพูดคุยกับลูก
2. ลูกกัดหัวนม
ให้บอกลูกทันทีว่าแม่เจ็บ หากบอกแล้วลูกยังกัดเต้า ให้คุณแม่ปิดเสื้อลงไม่ให้ลูกดูดนมต่อ เอาลูกออกจากเต้าโดยใช้นิ้วมือสอดเข้าที่มุมปากลูก และวางลูกลง ให้ลูกได้เรียนรู้ว่า หากทำอีก จะถูกลงโทษ
3. ดันศีรษะลูกเข้าชิดกับเต้านม
การบีบจมูกลูกเบา ๆ ให้ลูกอ้าปากคายหัวนมออก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าไม่ควรกัด
4. ลูกเริ่มกัดน้อยลงแล้วให้ชื่นชมลูก
คุณแม่ควรให้รางวัลลูก เมื่อลูกน้อยกัดหัวนมน้อยลง โดยการพูดชมและกอดลูก
แม้ว่าปัญหา ลูกกัดหัวนม ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง เป็นเรื่องปกติที่พบเจอได้ แต่ก็ควรรับมือกับปัญหานี้โดยการค่อย ๆ ทำความเข้าใจและปรับพฤติกรรมในการเข้าเต้า กินนมของลูกให้ถูกวิธี ในกรณีที่มีบาดแผลที่หัวนม จนอักเสบกลายเป็นหนอง คุณแม่ไม่ควรซื้อยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะมาทานเอง ควรทานยาภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- หัวนมบอด คืออะไร ปัญหาหัวนมบอดของคุณแม่ให้นมที่แก้ไขได้
- หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมคนท้องระหว่างตั้งครรภ์
- หัวนมแตก อาการเจ็บหัวนมดูแลอย่างไร คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม
- วิธีให้นมลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ การให้นมลูกหลังคลอดที่ถูกต้อง
- วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย
- วิธีกู้น้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมไม่ไหล น้ำนมหด พร้อมวิธีเพิ่มน้ำนม
- วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
- ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด
- ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด
- วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย
อ้างอิง:
- ลูกกัดหัวนม ขณะกินนมแม่ เกิดจากสาเหตุใด แก้ไขยังไงได้บ้าง , Hello Khunmor
- ปัญหาและวิธีแก้ กับเรื่อง “นมแม่” ที่ต้องอ่าน, โรงพยาบาลสมิติเวช
- อาการกับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนม, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- ฝีเต้านม รับมืออย่างไร ? , Rama Chanel คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- การดูแลหัวนมแตก หรือ หัวนมเป็นแผล , โรงพยาบาลสินแพทย์
- ภาวะหัวนมเจ็บ (Sore nipple) และหัวนมแตก (Cracked nipple) ในแม่ให้นมบุตร , ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
- วิธีรับมือ…เมื่อลูกกัดหัวนมแม่ , มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
- เต้านมอักเสบ - อาการและการรักษา - นมแม่ , โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
อ้างอิง ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2567