BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ท้องต้องให้ความสำคัญก่อนไปอัลตราซาวด์

BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ท้องต้องให้ความสำคัญก่อนไปอัลตราซาวด์

09.04.2024

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์จะได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งแพทย์จะทำการอัลตราซาวด์ให้คุณแม่หลังจากที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ เพื่อดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ ความสมบูรณ์แข็งแรง การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ รวมถึงดูว่าตั้งครรภ์ในมดลูกหรือนอกมดลูก และคำนวณอายุครรภ์ให้กับคุณแม่ทราบในเบื้องต้น

headphones

PLAYING: BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ท้องต้องให้ความสำคัญก่อนไปอัลตราซาวด์

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • Biparietal Diameter หรือ BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ เป็นการวัดสัดส่วนของทารกในครรภ์ที่แพทย์ใช้ในการคำนวณอายุครรภ์ให้กับคุณแม่ทราบ
  • BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ ในทางการแพทย์จะวัด BPD ได้อย่างชัดเจนตั้งแต่การตั้งครรภ์ของคุณแม่เข้าสู่อายุครรภ์ในไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป
  • BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ เป็นการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา โดยจะวัดจากกระดูกด้านข้างของกระหม่อมข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง ซึ่งแพทย์จะใช้ประกอบเพื่อประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์ และคำนวณอายุครรภ์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

Biparietal Diameter หรือ BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ เป็นการวัดสัดส่วนของทารกในครรภ์ที่แพทย์ใช้ในการคำนวณอายุครรภ์ให้กับคุณแม่ทราบ สำหรับการวัดขนาดศีรษะทารกจะบอกได้ถึงขนาดความยาวของตัวทารกในครรภ์  ซึ่งความยาวของทารก แพทย์จะวัดความยาวจากยอดศีรษะ   (crown) ไปจนถึงส่วนล่างสุดของสะโพก (rump) เท่านั้น จะไม่ได้วัดรวมในส่วนของแขนขา (limbs) และถุงไข่แดง (yolk sac) สำหรับการวัดความยาวของทารกในครรภ์มีประโยชน์ต่อการคำนวณอายุครรภ์ได้ตั้งแต่ไตรมาสแรก

 

BPD คืออะไร คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

Biparietal Diameter หรือ BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ เป็นการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา โดยจะวัดจากกระดูกด้านข้างของกระหม่อมข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง การวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารก แพทย์จะใช้ประกอบเพื่อประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์ และคำนวณอายุครรภ์

 

ประโยชน์ของการวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์

  1. ช่วยในการคำนวณอายุครรภ์
  2. ช่วยให้ทราบสัดส่วนของทารกในครรภ์
  3. ช่วยในการประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์
  4. ช่วยให้ทราบว่าสมองของทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนามีการเจริญเติบโตอย่างไร

 

Biparietal Diameter ทำได้โดยวิธีการอัลตราซาวด์วิธีเดียวไหม?

การวัด BPD ความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ ทำการวัดได้โดยการอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยในการตรวจจับภาพด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  แพทย์จะทำการปรับภาพจนเห็นภาพศีรษะ และลักษณะทางกายวิภาคของทารกในครรภ์

 

BPD เริ่มทำได้ตอนอายุครรภ์เท่าไหร่

BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ ในทางการแพทย์จะวัด BPD ได้อย่างชัดเจนตั้งแต่การตั้งครรภ์ของคุณแม่เข้าสู่อายุครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป โดยแพทย์จะนำผล BPD ที่วัดได้จากการอัลตราซาวด์มาใช้ประกอบในการประเมินอายุครรภ์ ได้อย่างแม่นยำโดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 14-28 สัปดาห์

 

คุณแม่ต้องรู้ BPD คืออะไร ควรทำกี่ครั้ง

 

ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงคลอด แพทย์จะทำ BPD กี่ครั้ง

  • การตรวจ BPD แพทย์จะทำระหว่างการตรวจอัลตราซาวด์ปกติในคนท้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการอัลตราซาวด์ 1-3 ครั้ง (การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง) โดยปกติจะมีการตรวจตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ไปจนถึงอายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 20  แต่ในคุณแม่ท้องที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ ขณะตั้งครรภ์อาจต้องทำการตรวจอัลตราซาวด์เพิ่มตามที่แพทย์แนะนำค่ะ
  • การตรวจครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์เฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 ครั้ง แพทย์จะตรวจครรภ์คุณแม่ครั้งแรกตอนฝากครรภ์ จากนั้นจะนัดคุณแม่มาเพื่อตรวจครรภ์
    1. คุณแม่มีอายุครรภ์ น้อยกว่า 28 สัปดาห์ แพทย์นัดตรวจครรภ์ทุก 4 สัปดาห์
    2. คุณแม่มีอายุครรภ์ ระหว่าง 28-36 สัปดาห์ แพทย์นัดตรวจครรภ์ทุก 2 สัปดาห์
    3. คุณแม่มีอายุครรภ์ มากกว่า 36 สัปดาห์ แพทย์นัดตรวจครรภ์ทุก 1 สัปดาห์ จนคลอดลูก

 

BPD ให้ผลแม่นยำมากแค่ไหน

BPD คือการวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ ซึ่งความถูกต้องแม่นยำของความกว้างศีรษะทารกที่แพทย์จะใช้ในการคำนวณอายุครรภ์ จะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของคุณแม่ และรูปร่างของศีรษะทารก

  • การวัด BPD ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ความคลาดเคลื่อนในการคำนวณอายุครรภ์เท่ากับ 7 วัน
  • การวัด BPD ช่วงอายุครรภ์หลัง 20 สัปดาห์ ความคลาดเคลื่อนในการคำนวณอายุครรภ์เท่ากับ 7-11 วัน หรือ 1-2 สัปดาห์
  • การวัด BPD ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ความคลาดเคลื่อนมีได้สูงถึง 2-4 สัปดาห์

 

สำหรับการวัด BPD ถ้ากรณีที่รูปร่างของศีรษะทารกผิดไปจากปกติ เช่น ทารกอยู่ในท่าก้น น้ำคร่ำน้อย หรือมีก้อนเนื้องอกมดลูกกดเบียดศีรษะทารก ก็อาจมีผลต่อค่าความกว้างของศีรษะทารกในครรภ์

 

ตาราง BPD ขนาดศีรษะของทารกตามอายุครรภ์

Biparietal Diameter (BPD) ขนาดความกว้างของศีรษะทารกในครรภ์ จะมีขนาดดังต่อไปนี้ค่ะ 

อายุครรภ์ (สัปดาห์)

ขนาดศีรษะของทารกในครรภ์ (mm)

16

32.3

16.5

34.2

17

36.0

17.5

37.7

18

39.5

18.5

41.3

19 

43.0

19.5 

44.7

20

46.4

20.5

48.1

21

49.7

21.5

51.4

22

53.0

22.5

54.6

23

56.2

23.5

57.8

24

59.3

24.5

60.8

25

62.3

25.5

63.8

26

65.3

26.5

66.7

27

68.1

27.5

69.5

28

70.8

28.5

72.2

29

73.5

29.5

74.7

30

76.0

30.5

77.2

31

78.4

31.5

79.6

32

80.7

32.5

81.9

33

82.9

33.5

84.0

34

85.0

34.5

86.0

35

87.0

35.5

87.9

36

88.8

36.5

89.7

37

90.5

37.5

91.3

38

92.1

38.5

92.8

39

93.5

39.5

94.2

40

94.8

40.5

95.4

41

95.9

41.5

96.5

42

96.9

  

ศัพท์ทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ควรรู้ก่อนไปอัลตราซาวด์

  • การวัดความยาวของทารก (Crown-Rump Length; CRL)
  • การวัดความกว้างของศีรษะทารก (Biparietal Diameter; BPD)
  • การวัดเส้นรอบวงศีรษะ (Head Circumference; HC)
  • การวัดเส้นรอบท้อง (Abdominal Circumference; AC)
  • การวัดความยาวกระดูกต้นขา (Femur Length; FL)
  • การวัดน้ำคร่ำ (Amniotic Fluid Index; AFI)
  • การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimated Fetal Weight; EFW)

 

การวัดความกว้างของขนาดศีรษะทารกในครรภ์ (Biparietal Diameter หรือ BPD) รวมถึงการตรวจต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ไปจนถึงช่วงคลอด คุณแม่สามารถสอบถามจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่อย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงคำแนะนำการดูแลสุขภาพครรภ์ให้แข็งแรงปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ

 

การดูแลพัฒนาการสมองของทารกตั้งแต่ในครรภ์เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก นอกจากยาบำรุงและวิตามินที่แพทย์จัดให้รับประทานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานอาหารบำรุงครรภ์ ที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้โภชนาการสารอาหารที่หลากหลาย ทารกในครรภ์จะได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรง และหลังคลอดให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในการพัฒนาสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ตอบข้อสงสัยคุณแม่...เรื่องอัลตร้าซาวด์, โรงพยาบาลพญาไท
  2. การวัดสัดส่วนทารกสำหรับสูติแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป(Fetal Biometry for Obstetrician and General Practitioners), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. Biparietal Diameter and Your Pregnancy Ultrasound, verywell family
  4. ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  5. Hadlock Ultrasound Measurements Based on Gestational Age, babyMed
  6. OB Ultrasound for Extern, คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ้างอิง ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

รู้ทันโรคภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มท้อง

รู้ทันโรคภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มท้อง

คนท้องเป็นภูมิแพ้ กับ 2 สาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้คนท้อง เพื่อให้คุณแม่หาวิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ให้ลูกน้อยจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเสี่ยงลูกเป็นภูมิแพ้

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงช่วยลดความเสี่ยงในการแท้งและลดความเสี่ยงทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์ คุณแม่ควรทานอาหารที่มีโฟเลตสูงก่อนท้อง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง

คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง

คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง

ปวดหน่วงท้องน้อยตั้งครรภ์ อันตรายไหม หากคุณแม่ปวดหน่วงน้องท้องน้อยตั้งครรภ์และมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไร คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก