คุณแม่ตั้งครรภ์ - น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไร เพื่อพัฒนาการที่ดีต่อลูกน้อย
น้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งหัวข้อสนทนาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ให้ความสนใจและสอบถามบ่อย ทั้งนี้ เพราะเรื่องอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นแม่ในอนาคต
คุณแม่ตั้งครรภ์ น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไร
น้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งหัวข้อสนทนาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ให้ความสนใจและสอบถามบ่อย ทั้งนี้ เพราะเรื่องอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นแม่ในอนาคต โดยในระหว่างการตั้งครรภ์จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อพัฒนาการทารกในครรภ์และสุขภาพของตัวเอง แต่ขณะเดียวกัน หากรับประทานมากเกินไป อาจจะทำให้น้ำหนักตัวของคุณแม่มากเกินความจำเป็น ซึ่งในแต่ละวัน คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 300 กิโลแคลอรีต่อวัน คือจากประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี เพื่อสร้างเนื้อเยื่อทั้งของแม่และลูกในครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ - น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไร
น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นสำหรับคุณแม่แต่ละท่าน จะไม่เหมือนกันเนื่องจากน้ำหนักและส่วนสูงแตกต่างกันไปแต่ละคน ดังนั้น น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ ควรคำนวณจากดัชนีมวลกาย ซึ่งจะบอกสถานะว่าคุณแม่ก่อนตั้งตั้งครรภ์มีน้ำหนักเข้าเกณฑ์ใด และตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ น้ำหนักที่ควรเพิ่มเป็นเท่าไร โดยทั่วไปตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไม่ควรน้อยกว่า 7 กิโลกรัม และไม่ควรมากกว่า 13 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ (BMI)
|
น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเป็นกี่กิโลกรัม |
BMI < 18.5 (ผอม)
|
12.5 – 18.0
|
BMI 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ)
|
11.5 – 16.0
|
BMI 25.0 – 29.9 (น้ำหนักตัวเกิน)
|
7.0 – 11.5
|
BMI ≥ 30 (โรคอ้วน)
|
5.0 – 9.0
|
การตั้งครรภ์แฝด
|
15.9 – 20.4
|
- คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเป็นกรณีพิเศษ คือ คุณแม่ที่ก่อนตั้งครรภ์ผอม ในช่วง 3 เดือนแรกควรจะพยายามปรับให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นให้ตรงตามเกณฑ์ แล้วใช้เวลาในระยะ 6เดือนต่อมาเพิ่มน้ำหนักให้ได้เท่าที่ต้องการตลอดการตั้งครรภ์
- คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรให้ความสำคัญดูแลน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ คุณแม่ที่ก่อนตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โดยควรเลือกกินอาหารเป็นพิเศษ
- คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดสองหรือแฝดสาม
ไม่ได้หมายความว่า จะต้องมีน้ำหนักเพิ่มเป็นสองหรือสามเท่าตามจำนวนของทารกในครรภ์ แต่อาจจะเพิ่มน้ำหนักโดยเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อทารก 1 คน การรับประทานอาหารควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- จำไว้เสมอว่า ระยะเวลาตลอดการตั้งครรภ์ไม่ใช่เวลาที่จะควบคุมน้ำหนักด้วยการงดอาหาร
อย่างเด็ดขาด เพราะทารกในครรภ์จะได้พลังงานจากการเผาผลาญไขมันของคุณแม่เท่านั้น แต่จะไม่ได้สารอาหารใดๆ ทั้งสิ้น
- การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ ในช่วงระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เดือนที่ 1 – 3
- น้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเพิ่มน้อย คือ โดยเฉลี่ยแค่ประมาณ 1 – 2 กิโลกรัมเท่านั้น เนื่องจากอาการแพ้ท้อง
- ในช่วงระยะไตรมาสสองของการตั้งครรภ์ เดือนที่ 4 – 6
น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ย ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ - ในช่วงระยะไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ เดือนที่ 7 – 9
น้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นเพียง 2 – 3 กิโลกรัมเท่านั้น ในระยะเดือนสุดท้ายอาการใกล้คลอดน้ำหนักจะคงที่ หรือลดลงบ้างเล็กน้อยประมาณ ½ กิโลกรัม กล่าวคือ
- ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเลยในระยะอายุ 2 – 4 เดือน หรือกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเลยภายใน 2 สัปดาห์ทั้งที่อยู่ในเกณฑ์ที่ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย
- กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในช่วงไตรมาส 2 หรือเดือนที่ 4 – 6 หรือมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ในไตรมาสที่สาม เดือนที่ 7 – 9 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่นิยมกินอาหารรสจัดหรือกินบ่อยเกินไป
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อ้างอิง
- เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ โภชนาการคุณแม่ตั้งครรภ์ ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช
- Institute of Medicine NRC. Weight Gain During Pregnancy: Reexamining the Guidelines. Washington, DC: The National Academies Press, 2009.
- เว็บไซต์ haamor.com