พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31

 พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31 

headphones
อ่าน 3 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31 

 

ในไตรมาสที่ 3 คุณแม่หลายท่านเผชิญปัญหาตะคริวแทบทุกวัน ซึ่งนอกจากจะเป็นตะคริวบริเวณ  ต้นขาและน่องแล้ว ยังเกิดตะคริวในบางตำแหน่งที่ไม่เคยเป็นและไม่น่าจะเกิด เช่น ตะคริวบริเวณหน้าท้อง อันที่จริงตะคริวเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • มีความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในร่างกาย หรือกรณีดื่มน้ำน้อย จนขาดน้ำ
  • การนั่งหรือนอนในบางท่านานๆ จนเกร็ง ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี
  • ขาดแคลเซียม เนื่องจากลูกในครรภ์ต้องใช้แคลเซียมในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน จึงดึงแคลเซียมจากร่างกายคุณแม่ หากคุณแม่ไม่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม หรือทานแคลเซียมไม่เพียงพอ ก็เป็นอีกเหตุผลที่สามารถทำให้เกิดตะคริวได้
  • ในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ มดลูกที่ยืดขยายใหญ่ไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ทางขวาในอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลกลับห้องหัวใจลดลง และไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อต่างๆ ลดลง จึงเกิดตะคริวในกล้ามเนื้อบางมัดได้บ่อยๆ

พัฒนาการลูก

น้ำหนักลูกประมาณ 1,400 กรัม เซลล์สมองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเรื่องการส่งสัญญาณและสารสื่อประสาท ซึ่งจะพัฒนาต่อเนื่องจนคลอด

 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31


Tips

             เรามารู้จักวิธีป้องกันและบรรเทาอาการตะคริวกันค่ะ

  • เมื่อเกิดอาการตะคริว เช่น ที่น่อง ให้พยายามยืดขาข้างนั้น และใช้มือนวดน่องนั้นเบาๆ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลา นม ผักใบเขียว งาดำ แต่ในคุณแม่ท้องมีความต้องการแคลเซียมมากขึ้น จึงควรรับประทานแคลเซียมเสริมค่ะ แต่ในแคลเซียมทั่วไป มักเป็นชนิดแคลเซียมคาร์บอร์เนตซึ่งดูดซึมพร้อมน้ำย่อยที่ออกมาขณะทานอาหาร จึงควรทานพร้อมหรือหลังอาหาร และไม่ควรทานร่วมกับยาตัวอื่น เพราะจะแย่งการดูดซึมยาตัวอื่นได้  คุณหมอมีเทคนิคแนะนำคือ อาจกำหนดให้ทานมื้อที่ไม่ค่อยต้องทานยา เช่น มื้อเที่ยง เป็นต้น
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  • ก่อนนอนหรือตื่นตอนเช้า คุณแม่อาจแช่เท้าด้วยน้ำอุ่น หรือประคบกล้ามเนื้อหน้าท้อง หรือขาตำแหน่งที่มักเป็นตะคริวด้วยผ้าอุ่นๆ นอกจากนี้ อาจฝึกยืดกล้ามเนื้อ โดยยืดขาสัก 30 วินาที เบาๆ ข้างละ 5-10 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการนั่ง หรือทำกิจกรรมอยู่ในบางท่านานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ และค่อยๆ เปลี่ยนท่า

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูอาหารคนท้อง บำรุงคุณแม่ อาหารคนท้องที่ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูอาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน เมนูคนท้องและอาหารคนท้องอะไรบ้างที่ดีกับลูก ไปดูกัน

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

ใครอยากมีลูกต้องอ่าน วันตกไข่ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ อาการแบบไหนถึงรู้ว่าตัวเองอยู่ในช่วงวันตกไข่ และนับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้คนที่อยากมีลูก

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง