สุดยอดวิธีพัฒนาสมองลูกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี เคล็ดลับง่ายๆ ให้ลูกฉลาดได้ตั้งแต่วันนี้
สุดยอดวิธีพัฒนาสมองลูกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี เพื่อตอบคำถามพบบ่อยว่า เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด ทำยังไงให้ลูกฉลาด
คุณพ่อ คุณแม่ ทราบไหมว่า วิธีส่งเสริมการ พัฒนาการของลูกน้อยที่ดีเติบโตสมวัย ร่างกายแข็งแรง สมองดี โดยเฉพาะการอยากให้ลูกฉลาดสมองดีนั้น นอกจากอาหารแล้วการกระตุ้นสมอง ด้วยวิธีการต่างๆ ก็ช่วยพัฒนาสมองลูกได้
ฝึกสมองลูกวัยแรกเกิดถึง 1 ปี เลี้ยงลูกให้ฉลาด ทำยังไงให้ลูกฉลาด
“คุณแม่รู้ไหม… กระตุ้นสมองลูกได้ตั้งแต่ในครรภ์ด้วยการอ่านหนังสือ”
- ลูกน้อยของคุณจะฉลาดได้ สมองของเค้าสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่อยู่ท้องแม่แล้วค่ะ โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนก่อนคลอด อารมณ์ความรู้สึกของแม่มีผลกระทบถึงลูกในท้องได้ด้วย พ่อแม่สามารถกระตุ้นสมองของลูกด้วยการเริ่มอ่านหนังสือให้ลุกฟัง พูดคุยกับลูกในท้อง
- ในช่วง 6 เดือน เป็นช่วงที่เด็กสามารถจดจำใบหน้าของคนได้แล้ว พ่อแม่สามารถกระตุ้นด้วยการให้ลูกได้เห็นใบหน้าบ่อยๆ พูดคุยและกระตุ้นการมองเห็นของลูก โดยอาจใช้ของเล่น โมบาย หรือหนังสือ
- เสียงเป็นปัจจัยในการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของเด็กได้ด้วย หากบรรยากาศเงียบจนเกินไป อาจส่งผลเสียให้กับเด็กด้วยซ้ำ
- เมื่อถึงวัยที่เริ่มคลาน เด็กจะสนใจของเล่นมากขึ้น การให้ของเล่นแก่เด็กในวัยนี้ มีข้อควรระวังในเรื่องของความปลอดภัยเพราะเป็นวัยที่มักหยิบของเข้าปาก
ฝึกสมองของลูกวัย 1-2 ปี

“ลองผิดลองถูกคือการเรียนรู้ที่มีค่ามหาศาลสำหรับลูกวัยนี้”
- การพัฒนาสมองของเด็กในช่วงวัยนี้ทำได้โดย ฝึกให้เด็กหยิบจับสิ่งของด้วยตนเอง โดยสิ่งของเหล่านั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก ควรหัดให้เด็กได้ลองผิดลองถูก การทดลองทำนั้นเป็นการเรียนรู้ที่มีค่ามหาศาล
- สมองของเด็กวัย 1 ปี พร้อมที่จะจำตัวอักษรต่างๆ พอๆ กับการฟังและเข้าใจภาษาได้หลายภาษา สมองของเด็กในวัยนี้ จะรับความรู้ต่างๆ ได้ง่าย ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อถอยหมดกำลังใจในการเรียนรู้ เราจึงสามารถสอดแทรกการสอนอ่านหนังสือและการพูดไปพร้อมๆ กันได้
- สมองของคนเรามีลักษณะพิเศษที่ต่างจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆ คือ ยิ่งใส่ความจำเข้าไปมากเท่าใด สมองก็จะยิ่งแสดงผลได้ดีขึ้น สถาบันวิจัยด้านสมองหลายสถาบันมีข้อมูลยืนยันว่า สมองของคนเรานั้นมีความสามารถในการจดจำที่มากกว่าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ในโลก
- พ่อแม่อย่ากังวลไปว่าการให้ลูกเรียนรู้มากเกินไป จะทำให้สมองลูกรับไม่ได้เพราะเรื่องการให้ความรู้มากเกินไปนั้น ไม่น่าห่วงเท่าการละเลย หรือการให้น้อยจนเกินไป
ฝึกสมองของเด็กวัย 2-6 ปี

“ความคิดสร้างสรรค์ มีความสำคัญกับเด็กวัยนี้”
- ร่างกายของเด็กวัยนี้มีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถเดินและวิ่งได้ เริ่มเข้าสังคมเป็น ชอบทำกิจกรรมต่างๆ ชอบเล่นกับเพื่อน ช่างสงสัย ชอบถาม เพราะต้องการจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- การต่อไม้บล็อก การเล่นต่อภาพหรือ่านหนังสือ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษา รู้จักความหมายของสิ่งต่างๆ มากขึ้น สามารถแยกความแตกต่าง และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมองของเด็ก
- การส่งเสริมเรื่องจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในวัยนี้ก็มีความสำคัญและเป็นวัยที่เหมาะสมที่สุดในกรพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ หากเด็กได้รับการส่งเสริมในเรื่องจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในช่วงนี้อย่างดีแล้ว เขาก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ติดตัว และสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน
เข้าใจพัฒนาการลูกน้อยวัย 2 ขวบ
เลือกของเล่นเสริมพัฒนาการ 1 ขวบ
อ้างอิง
https://www.thaihealth.or.th/Content/39226-จะพัฒนาสมอง%20(เด็ก)%20ได้อย่างไร%20.html
อ้างอิงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562
บทความแนะนำ

เทคนิคพัฒนาสมอง เสริมสร้างศักยภาพให้ลูกน้อยฉลาด พร้อมเรียนรู้
-
คัดลอกลิงค์
https://www.s-momclub.com/boost-brain-power

กิจกรรมฝึกสมองเด็กวัยซน (3 – 5 ปี)
-
คัดลอกลิงค์
https://www.s-momclub.com/article/toddlers/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9D%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%993-5%E0%B8%9B%E0%B8%B5

กินอะไรให้ลูกฉลาด สารอาหารชนิดไหนช่วยพัฒนาสมองลูก
-
คัดลอกลิงค์
https://www.s-momclub.com/articles/toddler/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94

28 เคล็ดไม่ลับ "วิธีสร้างสมอง… สู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 2 ปี"
-
คัดลอกลิงค์
https://www.s-momclub.com/articles/toddler/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2-2-%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%9A