พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 

 

headphones
อ่าน 2 นาที

  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 

 

เป็นอายุครรภ์ที่ลูกมีการสร้างอวัยวะสมบูรณ์ คุณหมอจึงมักนัดคุณแม่มาตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจเช็คความพิการของลูก ซึ่งคุณแม่หลายท่านเข้าใจว่า ได้ตรวจเลือดเมื่อตอนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หรือเจาะน้ำคร่ำตอนอายุครรภ์ 16 สัปดาห์แล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจอัลตร้าซาวด์ เพราะลูกจะไม่มีความพิการแล้ว แต่อันที่จริงนั้น ความผิดปกติของลูกมีทั้งที่เป็นโรค กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับโครโมโซมผิดปกติ หรือลูกมีโครโมโซมปกติ สติปัญญาดี แต่มีความพิการเฉพาะอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ที่ไม่เป็นโรคในหลายอวัยวะก็ได้ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ โดยไม่พบความผิดปกติอื่น เป็นต้น ดังนั้น แม้ตรวจเจาะน้ำคร่ำแล้ว ก็ยังควรตรวจอัลตร้าซาวด์ประเมินความผิดปกติของอวัยวะอื่นของลูกด้วย

พัฒนาการลูก 


 ลูกมีความยาว 25.5 ซม. น้ำหนักประมาณ 320-340 กรัม และระบบการทำงานของอวัยวะเริ่มพัฒนาเต็มที่ และเริ่มสร้างไขมันควบคุมอุณหภูมิ และปกป้องผิวจากน้ำคร่ำ 

 

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20

Tips

 

  • อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ มดลูกที่ยืดขยายจะยืดและโตเอียงไปทางขวาของคุณแม่ ร่างกายคนเราจะมีเส้นเลือดดำใหญ่ซึ่งนำเลือดกลับสู่หัวใจอยู่ทางขวา ดังนั้นหากคุณแม่นอนหงาย มดลูกจะเอียงไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ทำให้เลือดไหลเวียนกลับห้องหัวใจได้ไม่ดี เลือดจากหัวใจสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ลดลง  คุณแม่ก็จะมีอาการหน้ามืดเป็นลมได้ง่าย 
  • ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลังของการตั้งครรภ์คือ นอนตะแคงซ้าย ซึ่งเท่ากับเป็นการโยกมดลูกออกจากทางขวาให้เอียงมาทางซ้ายหน่อย ก็จะไม่กดทับเส้นเลือดดำใหญ่ อาการต่างๆ ก็จะดีขึ้น
  • การนอนตะแคงซ้าย จะเพิ่มเลือดไปเลี้ยงมดลูก ทำให้มดลูกคลายตัว เป็นการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด แต่เป็นธรรมดา เมื่อมดลูกมีการคลายตัว คุณแม่จะรู้สึกลูกดิ้นชัดเจนขึ้น ดังนั้น ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะหลายท่านเข้าใจว่า พอนอนตะแคงซ้ายแล้ว ไปทับลูกทำให้ลูกดิ้นมากผิดปกติ อันที่จริง ไม่ใช่เลย ไม่ต้องกังวลนะคะ

 


 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง

ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก

ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการคนท้อง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยอาการเริ่มแรกที่หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สัมผัสได้ คือ การขาดประจำเดือน แต่ความจริงแล้วในช่วงท้อง 1 สัปดาห์ - 2 สัปดาห์แรก ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์อาจมีอาการเลือดออกเล็กน้อยคล้ายประจำเดือนที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ทำให้ว่าที่คุณแม่อาจไม่ทันได้สังเกตคิดว่าประจำเดือนมาปกติ ส่วนอาการอื่น ๆ อย่างอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และอารมณ์แปรปรวน จะตามมาทีหลัง รวมถึงมีสัญญาณการตั้งครรภ์อื่น ๆ ตามมา

อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์

โภชนาการหญิงตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องเลือกทานอาหารให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย หากได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือน้อยไปย่อมส่งผลไม่ดีต่อตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์เอาได้ การเลือกอาหารสำหรับคนท้องจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก แล้วแบบนี้คนท้องควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

เทคนิคสำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอดให้ยุบไว หายเร็ว ไม่ติดเชื้อ

เทคนิคสำหรับแม่หลังผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอด ให้ยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี

คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด มีหลายอย่างที่จะต้องเตรียมตัว รวมถึงการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด โดยเฉพาะการดูแลแผลผ่าตัดคลอด เพราะร่องรอยผ่าคลอดที่อยู่บนร่างกาย หากไม่ดูแลให้ดีจะเสี่ยงแผลผ่าคลอดอักเสบ ติดเชื้อรุนแรงได้ มาอ่านวิธีดูแลแผลผ่าคลอด เพื่อให้แผลยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ กันได้ในบทความนี้

ผ่าคลอดครั้งแรก เตรียมตัว เตรียมใจ อย่างไรให้พร้อมก่อนขึ้นเตียงผ่าตัด

ผ่าคลอดครั้งแรก เตรียมตัว เตรียมใจ อย่างไรให้พร้อมก่อนขึ้นเตียงผ่าตัด

เมื่อคุณหมอแจ้งว่าต้องผ่าคลอด คุณแม่ย่อมตื่นเต้นเป็นเรื่องธรรมดา นับวันรอพร้อมหาข้อมูลเตรียมตัวก่อนผ่าตัดคลอด ศึกษาด้วยว่าหลังผ่าคลอดแล้วจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งจะตั้งท้องเป็นครรภ์แรก