วิธีปลุกลูกกินนม คุณแม่ควรปลุกลูกกินนมแม่เวลาไหนบ้าง

วิธีปลุกลูกกินนม คุณแม่ควรปลุกลูกกินนมแม่เวลาไหนบ้าง

25.09.2019

เวลาที่ลูกน้อยนอนหลับสบาย คุณแม่ก็อยากให้นอนอย่างเต็มที่ แต่อีกใจก็กังวลกลัวว่าลูกน้อยจะหิว คุณแม่ควรปลุกลูกมากินนมตามเวลาหรือไม่ มาหาคำตอบไปด้วยกันว่าคุณแม่ควรให้นมลูกอย่างไรและมีวิธีปลุกลูกมากินนมอย่างไรในเวลาที่ลูกน้อยนอนหลับ

headphones

PLAYING: วิธีปลุกลูกกินนม คุณแม่ควรปลุกลูกกินนมแม่เวลาไหนบ้าง

อ่าน 3 นาที

ทารกแรกเกิดควรกินนมแม่บ่อยแค่ไหน

ส่วนใหญ่แล้ว ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักลดในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด จึงจําเป็นมากที่จะต้องให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดกินนมแม่บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด จนกว่าลูกน้อยจะมีน้ำหนักตัวเป็นปกติตามเกณฑ์ ซึ่งจะใช้เวลาราว 1-2 สัปดาห์หลังคลอด  หากลูกน้อยนอนยาวมากกว่า 4 ชั่วโมง คุณแม่ก็อาจต้องปลุกลูกมากินนมเป็นครั้งคราว

 

เมื่อลูกน้อยแรกเกิดมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่เหมาะสม คุณแม่ก็สามารถที่จะรอจนกว่าลูกจะตื่น จึงค่อยป้อนนมได้หรือรอให้ลูกนอนหลับ ให้เต็มที่ แล้วจึงปลุกลูกกินนมได้เช่นกัน


ทารกควรเข้าเต้าบ่อยแค่ไหนในแต่ละวัน

ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จำเป็นต้องกินนม 8-12 ครั้งต่อวัน ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าการปลุกลูกกินนมให้ลูกตื่นมาดูดนมแม่อาจเป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ค่อยอยากทำเท่าไหร่นัก  แต่การให้นมบ่อย ๆ ในช่วงแรกนั้น มีเหตุผลสำคัญหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ

  1. ให้นมลูกเร็วเท่าไหร่ ลูกหยุดร้องเร็วเท่านั้น ยิ่งคุณแม่ให้นมลูกเร็วเท่าไหร่ ก็จะประหยัดเวลาในการปลอบประโลมเขาให้เงียบได้เร็วเท่านั้น คุณแม่จึงควรสังเกตสัญญาณที่แสดงว่าลูกหิว เช่น ขยับตัว กระสับกระส่าย ทําท่าห่อปากดูดนม และขยับริมฝีปาก
  2. ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้มากขึ้น ถ้าคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความถี่ในการให้นมจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณแม่ได้       

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว

คุณแม่มือใหม่อาจกังวลว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมอิ่มพอแล้ว คุณแม่สามารถสังเกตสัญญาณบางอย่างได้ ดังนี้

  • เมื่อลูกอิ่มนมแล้ว ลูกจะคายหัวนมออกเอง และดูผ่อนคลาย ไม่โยเย
  • ลูกดูดนมช้าลงหรือหยุดดูดแล้ว
  • ลูกน้อยคายปากออกจากหัวนมแม่ หรือผลักนมออกจากตัว
  • ลูกน้อยหันศีรษะออกจากอกคุณแม่ หรือทำท่าโก่งหลังเพื่อให้หัวนมหลุดจากปาก
  • ลูกตาปรือ เริ่มนอนหลับ
  • เต้านมและลานนมของคุณแม่จะนิ่มลงเอง ไม่ตึงแข็ง

นอกจากนี้ คุณแม่อาจสังเกตได้จากปัสสาวะของลูกน้อยที่มักจะมีสีเหลืองอ่อนใส ชุ่มผ้าอ้อมประมาณวันละ 6-8 ครั้ง หรือน้ำหนักตัวของลูกน้อยที่ขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

วิธีปลุกลูกกินนม ลูกหลับสนิท ควรปลุกลูกเข้าเต้าดีไหม

 

ลูกหลับสนิท ควรปลุกลูกเข้าเต้าดีไหม?

คุณแม่สามารถให้ลูกดูดนมได้บ่อยตามความต้องการของลูก แต่โดยมากลูกจะดูดนมประมาณ 8-12 ครั้งต่อวันซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมแม่ มาเร็ว ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ถ้าหากว่าลูกหลับนานกว่า 3 ชั่วโมง ก็ควรปลุกลูกกินนมหรือให้ลูกดูดนมด้วยเหมือนกัน เพราะลูกอาจได้รับนมไม่พอ ตัวคุณแม่เองก็อาจจะมีปัญหาเต้านมคัดและน้ำนมลดลงได้เช่นกัน

 

กุมารแพทย์  แนะนำให้ปลุกลูกกินนม และควรรู้วิธีเอาลูกเข้าเต้า ด้วยวิธีที่ถูกต้อง หากถึงกำหนดเวลาต้องให้อาหารทั้งกลางวันและกลางคืน ทารกไม่ควรนอนหลับยาวโดยไม่ได้รับสารอาหารเกิน 3-4 ชั่วโมง

 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดกับการให้นมลูกตามเวลามากนักก็ได้ เพราะในแต่ละมื้อ ลูกอาจดูดนมได้ไม่เท่ากัน เพียงแค่หมั่นสังเกตว่า ลูกต้องการอย่างไร

 

วิธีปลุกลูกกินนม เข้าเต้าไม่ให้งอแง

 

วิธีปลุกลูกกินนม ให้ลูกเข้าเต้าไม่ให้งอแง

5 วิธีปลุกลูกกินนม เมื่อลูกน้อยนอนหลับสนิทมาเข้าเต้า โดยไม่เป็นการรบกวนลูกน้อย สามารถทำได้ ดังต่อไปนี้

  1. การปลุกลูกกินนม หากมีผ้าหรือผ้าห่มคลุมตัวทารกอยู่ให้เอาผ้าห่ม หรือผ้าคลุมตัวทารกออก เพื่อให้ทารกขยับแขนขาได้สะดวก แล้วค่อย ๆ อุ้มลูก ให้ริมฝีปากได้สัมผัสกับหัวนม ค่อย ๆ เขี่ยริมฝีปากลูก ให้ลูกรับรู้ว่าถึงเวลากินนมแล้ว
  2. จัดท่านั่งให้ลูกน้อยอย่างเหมาะสม โดยเป็นท่าที่ลำตัวค่อนข้างอยู่ในแนวตั้ง
  3. นวดลำตัวทารกเบา ๆ และพูดคุยกับลูกน้อย
  4. ไม่ปลุกลูกกินนม ด้วยการทำให้เจ็บโดยการตี หรือจิกที่แก้มหรือเท้า
  5. เปิดไฟหรี่ให้ห้องพอมีแสงสว่าง เพื่อไม่ให้ลูกน้อยรู้สึกแสบตา หรือเป็นการปลุกแบบฉับพลัน


ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะเข้าเต้าได้ไหม ควรบ่อยแค่ไหน?

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะต้องการสารอาหารเป็นพิเศษ และอาจไม่แสดงสัญญาณของความหิวที่แท้จริงได้จนกว่าลูกจะมีอายุมากขึ้น ถ้าลูกน้อยของคุณแม่คลอดก่อนกำหนดหรือคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปแบบการกินนม การเพิ่มน้ำหนักตัว หรือ พัฒนาการเด็กเล็ก แนะนำคุณพ่อคุณแม่ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำอย่างใกล้ชิด


อ้างอิง

  1. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/expert-answers/newborn/faq-20057752
  2. นมแม่จะพอหรือ รู้ได้อย่างไร

อ้างอิง ณ วันที่ 29 กันยายน 2566
 

บทความแนะนำ

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

รวมวิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดได้ ไปดูวิธีให้ลูกดูดขวดนมด้วยตัวเอง ก่อนคุณแม่กลับไปทำงานกัน

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก กับ 3 ข้อเท็จจริงของอาการภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ ป้องกัน ด้วย 2’FL ที่พบในนมแม่ วัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันลูกน้อย