ทารกไม่ยอมนอน ลูกงอแงไม่ยอมนอนไม่มีสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือ

ทารกไม่ยอมนอน ลูกงอแงไม่ยอมนอนไม่มีสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือ

29.01.2024

การนอนเต็มอิ่มอย่างเพียงพอ จะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายของเด็กอย่างมาก โดยเฉพาะพัฒนาการการเจริญเติบโตด้านร่างกาย (ความสูง) การนอนหลับที่ได้คุณภาพนอนหลับสนิทจะกระตุ้นให้สมองหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ที่เป็นฮอร์โมนการเจริญเติบโตหลั่งออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนอนหลับที่ดี นอนหลับง่ายอาจไม่ใช่กับเด็กทุกคน เพราะยังมีคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในอีกหลายครอบครัวที่ประสบปัญหาลูกเล็ก ทารกไม่ยอมนอน

headphones

PLAYING: ทารกไม่ยอมนอน ลูกงอแงไม่ยอมนอนไม่มีสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือ

อ่าน 6 นาที

สรุป

  • สาเหตุที่ทำให้ทารกไม่ยอมนอน ได้แก่ มีปัญหาสุขภาพ ห้องนอนมีการจัดสภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการนอน รวมถึงกินนมอิ่มมากเกินไปก่อนเข้านอนทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นนท้อง
  • การนอนที่มีคุณภาพของลูกน้อย ควรจัดให้มีสภาพแวดล้อมของห้องนอนที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวก เงียบไม่มีเสียงรบกวน และไม่มีแสงสว่าง แสงไฟรบกวนต่อการนอน
  • การนอนหลับสนิท นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม จะช่วยให้ลูกมีความจำดี อารมณ์ดี โกรทฮอร์โมนหลั่งได้เต็มที่ ช่วยให้มีพัฒนาการการเจริญเติบโตดีสมวัย และมีภูมิคุ้มกันดี ไม่เจ็บป่วยบ่อย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การรับมือเวลาที่ลูกไม่ยอมนอน ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากที่จะแก้ไข เพราะการที่ลูกไม่ยอมนอน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ทราบถึงต้นตอของการไม่ยอมนอน นอนหลับยากของลูกแล้ว ก็จะสามารถรับมือและช่วยให้ลูกนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่าเพราะเหตุใดบ้างถึงลูกงอแงไม่ยอมนอน

 

สาเหตุที่ทารกไม่ยอมนอน

  • สภาพแวดล้อมในห้องนอน: ภายในห้องนอนของลูกอากาศถ่ายเทได้ไม่ดี อึดอัดร้อน มีเสียงดังจากภายนอกเข้ามารบกวนการนอน หรือมีความสว่างจากแสงภายนอกเข้ามาในห้องนอน รวมถึงเวลานอนกลางคืนไม่ปิดไฟ
  • เจ็บป่วยไม่สบาย: ลูกอาจมีอาการไม่สบายที่มาจากโรคประจำตัว หรืออาการป่วยไข้ที่เกิดขึ้นได้ในเด็ก ส่งผลให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวเวลานอน
  • มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ: ลูกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จึงทำให้เวลานอนหายใจได้ยากลำบาก หายใจไม่สะดวก
  • กินนมอิ่มมากเกิน: ลูกรู้สึกไม่สบายท้องเวลานอน เพราะมีอาการท้องอืด แน่นท้องจากการที่กินนมอิ่มมากเกินไป ในเด็กอายุ 6 เดือนเป็นต้นไป ก่อนนอนกลางคืนไม่ควรให้กินนมเกิน 8 ออนซ์

 

เทคนิคช่วยแก้ปัญหา ทารกไม่ยอมนอนตอนกลางคืน

เพื่อให้ลูกน้อยมีช่วงเวลาของการนอนที่ได้คุณภาพ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีเทคนิคที่ช่วยให้ลูกนอนหลับได้ง่ายขึ้น หลับสนิท หลับนาน ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า

 

1. สภาพแวดล้อมห้องนอนต้องเหมาะกับการนอน

ห้องนอนของลูก หรือนอนห้องเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ แนะนำให้จัดห้องนอนให้สะอาดน่านอน ไม่เหม็นอับ และต้องมีความเงียบ ไม่มีเสียงรบกวนใด ๆ ไม่ว่าจะจากทีวี มือถือ เครื่องเสียง หรือเสียงภายนอกที่เล็ดลอดเข้ามารบกวนการนอน

 

2. กล่อมลูกหลับบนเตียงนอน

การกล่อมลูกให้นอนหลับที่เตียงนอนจะช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่าที่นอนของเขาคือเตียง ไม่ควรกล่อมลูกให้หลับคาไหล่หรืออกคุณพ่อคุณแม่ก่อนแล้วค่อยวางลูกลงนอน เพราะลูกอาจจะสะดุ้งตื่นและร้องงอแงขึ้นมาเมื่อถูกวางลงบนเตียงนอน (4)

 

3. ปรับแสงไฟให้เหมาะกับการนอน

การถูกรบกวนจากแสงไฟที่จ้ามากในห้องนอนจะทำให้ลูกหลับยาก แนะนำว่าควรปิดไฟในห้องนอน หรือเปิดไฟพอแค่มีแสงสลัว ๆ จะช่วยให้ลูกหลับได้ง่ายขึ้น

 

4. เล่านิทานให้ฟังก่อนนอน

การอ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอนจะช่วยให้ลูกเคลิ้มหลับได้ง่ายขึ้น ไม่แนะนำให้ชวนลูกเล่นสนุกที่ต้องออกแรงก่อนเข้านอน

 

5. อุณหภูมิห้องนอน

ลูกจะนอนหลับอย่างสบายตัว ไม่สะดุ้งตื่นขึ้นมาร้องงอแงกลางดึก แนะนำให้ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้มีความเย็นสบายแบบพอดี ต้องไม่ร้อนมากจนเหงื่อซึม หรือเย็นมากจนหนาว อุณหภูมิห้องนอนที่เหมาะกับการนอนควรให้อยู่ 25-26 องศา

 

6. พาลูกเข้านอนเวลาเดิมทุกวัน อย่าปล่อยให้เล่นเกินเวลา

ควรพาลูกเข้านอนเป็นเวลาทุกวัน เช่น เข้านอนตอน 1 ทุ่ม หรือเข้านอนตอน 2 ทุ่ม ก็ควรจะเป็นเวลาเดิมเพื่อให้ลูกเกิดการเรียนรู้และเป็นการฝึกให้ลูกมีวินัย ว่าเมื่อถึงเวลาเข้านอนจะต้องนอน และหยุดเล่นกิจกรรมทุกอย่าง

 

7. พาลูกออกกำลังกายเบา ๆ

การพาลูกออกกำลังกายช่วงเช้าหรือเย็นจะช่วยให้นอนหลับได้ดี แต่ไม่แนะนำให้ออกกำลังกายก่อนเข้านอน เพราะจะส่งผลทำให้นอนหลับได้ยาก

 

8. ให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่สบายตัว

ไม่รัดแน่น และไม่ทำให้ร้อนและใช้ตุ๊กตา ผ้าห่ม หรือของเล่นชิ้นโปรด วางไว้ใกล้ ๆ ให้ลูกรู้สึกอุ่นใจ และหลับได้ง่ายขึ้น

 

เด็กแต่ละวัย ควรนอนวันละกี่ชั่วโมง

ชั่วโมงการนอนของทารกและของเด็กวัยกำลังโตจะแตกต่างกันไปตามช่วงวัย ดังนี้

  • เด็กทารกวัย 4-12 เดือน จะนอนกลางวันและกลางคืนวันละ 12-16 ชั่วโมง
  • เด็กวัย 1-2 ปี จะนอนกลางวันและกลางคืนวันละ 11-14 ชั่วโมง
  • เด็กวัย 3-5 ปี จะนอนกลางวันและกลางคืนวันละ 10-13 ชั่วโมง
  • เด็กวัย 6-12 ปี จะนอนวันละ 9-12 ชั่วโมง
  • เด็กวัย 13-18 ปี จะนอนวันละ 8-10 ชั่วโมง

 

ข้อดีของการให้ลูกน้อยได้นอนหลับอย่างเพียงพอ

  1. โกรทฮอร์โมนมีประสิทธิภาพ: สมองจะหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ดีในช่วง 4 ทุ่มถึงตี 2 โกรทฮอร์โมนมีผลดีต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กและยังช่วยซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่สึกหรอให้กลับมาทำงานได้อย่างสมบูรณ์
  2. อารมณ์ดี: การนอนหลับสนิท นอนเต็มอิ่ม จะส่งผลให้มีอารมณ์ที่ดีและมั่นคง
  3. ความจำดี: การนอนหลับที่เพียงพอ จะช่วยให้มีสมาธิในการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ดี และมีความจำดี
  4. ภูมิคุ้มกันดี: การนอนหลับส่งผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกัน หากเด็ก ๆ ได้นอนหลับพักผ่อนที่เต็มอิ่ม ไม่นอนดึก ก็จะช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยไม่สบายในเด็ก
  5. ร่างกายแข็งแรง: ไม่นอนดึกและนอนหลับสนิท ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก ๆ โดยตรง เนื่องจากจะช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้

 

ไอเทมเด็ด ช่วยให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้น

เด็กแต่ละคนจะนอนหลับยากง่ายไม่เหมือนกัน เด็กบางคนนอนหลับได้เองโดยที่ไม่ต้องมีตัวช่วยใด ๆ แต่กับเด็กบางคนคุณพ่อคุณแม่อาจต้องหาของที่ลูกชอบมาวางไว้ใกล้ ๆ หรือให้กอดขณะที่นอนหลับไปด้วย ได้แก่

  1. หนังสือนิทาน: เด็กส่วนมากชอบให้คุณพ่อคุณแม่อ่านนิทานให้ฟังก่อนนอน และจะมีนิทานเรื่องโปรดที่ต้องอ่านให้ฟังก่อนเข้านอน
  2. ตุ๊กตา ผ้าห่ม หรือของเล่นชิ้นโปรด: การได้กอดน้องตุ๊กตาตัวโปรด หรือผ้าห่มผืนโปรด จะช่วยให้ลูกรู้สึกอุ่นใจ และหลับได้ง่ายขึ้น
  3. โคมไฟแบบหรี่แสงได้: เด็กบางคนชอบให้ปิดไฟนอนแต่ต้องไม่มืดจนเกินไป เพราะจะเกิดความกลัวแล้วจะนอนไม่หลับ ในห้องนอนจึงต้องมีแสงไฟสลัว ๆ จากโคมไฟ ก็จะนอนหลับได้ง่ายขึ้น

 

ข้อควรระวังการนอนในเด็กทารกแรกเกิดที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญและใส่ใจมากเป็นพิเศษก็คือ ไม่ควรให้ลูกนอนคว่ำ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือที่เรียกว่าไหลตายในทารก คือการเสียชีวิตกะทันหันโดยไม่มีสาเหตุ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  • สุขภาพดีง่าย ๆ เริ่มจากการนอน, โรงพยาบาลนครธน
  • นอนไม่หลับเกิดจากอะไร, โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์
  • อยากให้ลูกนอนเป็นเวลา, โรงพยาบาลเปาโล
  • ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยไม่ยอมนอน, โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร
  • ไม่อยากให้ลูกตื่นกลางดึกแม่ต้องฝึกไว้, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  • นอนหลับกี่ชั่วโมงถึงจะเพียงพอ, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • 5 คุณประโยชน์ของการนอนที่ดี (Surprising Reasons to Get More Sleep), คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • การนอนในเด็กสำคัญอย่างไร, สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต

อ้างอิง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

วิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้อาหารในเด็ก

วิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้อาหารในเด็ก

ทารกแพ้อาหาร ภูมิแพ้อาหารในเด็ก หนึ่งในอาการเด็กแพ้อาหารของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อเด็กแพ้อาหาร

ลูกแพ้อาหารหรือลูกมีอาการเด็กแพ้นมวัว พร้อมวิธีป้องกันอาการแพ้

ลูกแพ้อาหารหรือลูกมีอาการเด็กแพ้นมวัว พร้อมวิธีป้องกันอาการแพ้

อาการลูกแพ้นมวัว เมื่อลูกแพ้นมวัวและมีอาการแพ้แสดงออกมา คุณพ่อคุณแม่ควรเช็กอาการแพ้ของลูกน้อย เพื่อดูว่าลูกแพ้อาหารทั่วไปหรือลูกแพ้นมวัวกันแน่ พร้อมวิธีป้องกัน

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารกเป็นอย่างไร ผื่นแพ้อาหารทารก หนึ่งในอาการของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ทำไมพ่อแม่ยุคใหม่ ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ทำไมพ่อแม่ยุคใหม่ ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ลมพิษในเด็ก อาการผื่นนูนแดงที่เกิดขึ้นตามร่างกายของลูกน้อย ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นลมพิษมีอาการอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลมพิษในเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก