พัฒนาการลูกน้อยอายุ 8-9 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย 8-9 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร

04.03.2020

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 8-9 เดือน อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย คุณพ่อ คุณแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการอะไรลูกได้บ้าง 

headphones

PLAYING: พัฒนาการลูกน้อย 8-9 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร

อ่าน 3 นาที

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 8-9 เดือน

 

  • ลูกเป็นอย่างไรในวัยนี้ 


เด็กวัยนี้จะคืบตัวได้เก่ง เริ่มตั้งคลานและเริ่มเหนี่ยวตัวขึ้นเพื่อเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน การกระตุ้นพัฒนาการในวัยนี้ทำได้โดยนำของเล่นที่เคลื่อนที่ได้ เช่น ลูกบอล มากลิ้งเล่นกับเขา ให้เขาฝึกคลานไปหาลูกบอล และเมื่อเขานั่งที่พื้น ให้คุณพ่อคุณแม่นำของเล่นมาล่อให้เขาสนใจ แล้วนำของเล่นชิ้นนั้นไปวางไว้บนเก้าอี้เตี้ย ๆ กระตุ้นให้เขาเหนี่ยวเก้าอี้ขึ้นยืนเพื่อหยิบของเล่น นอกจากนี้ควรกระตุ้นให้เด็กส่งเสียงเป็นคำที่มีความหมาย เช่น แม่ ไป ปลา หม่ำ โดยสังเกตความต้องการของเด็ก และเสียงที่เด็กเปล่งออกมาเพื่อต้องการจะสื่อความต้องการนั้น เช่น ถ้าเขาส่งเสียง “มะ” อาจเข้าไปหาเขา และบอกเขาว่า “เรียกหาแม่เหรอลูก แม่มาแล้วจ้ะ” หรือถ้าเดาว่าเขาหิว อาจบอกเขาว่า “ลูกจะหม่ำนมใช่ไหม” เพื่อให้เขาเชื่อมโยงเสียงกับคำที่มีความหมาย

 

  • กระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างไร  


เมื่อลูกก้าวเข้าสู่ช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่าเขาเริ่มติดคุณแม่มากกว่าเดิม ไม่ยอมให้คุณแม่คลาดสายตา จนบางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกว่าไปไหนไม่ได้ แม้แต่จะไปเข้าห้องน้ำ พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมปกติตามวัย เกิดจากการที่เขามีความจำที่ดีขึ้นกว่าเดิม สามารถจดจำได้ว่าเมื่อกี๊คุณแม่ยังอยู่ตรงนี้ แต่พอตอนนี้หายไป เขาจึงรู้สึกคิดถึงและร้องหา วิธีการที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น คือ การเล่นจ๊ะเอ๋ และหาของที่ซ่อนไว้ กับเขาบ่อย ๆ เพื่อให้เขาเรียนรู้ว่า เมื่อของหายไป ประเดี๋ยวของสิ่งนั้นก็จะกลับมา หลังจากนั้นเมื่อใดที่คุณแม่จะต้องไปธุระ เช่น เข้าห้องน้ำ ควรให้คุณพ่อคนที่เขาคุ้นเคยมาเปลี่ยนมือเพื่อดูแลเขา และคุณแม่ควรรีบทำธุระให้เสร็จและกลับมาให้เร็วที่สุด หากเขาร้องไห้ในระหว่างนั้น ก็ให้คนดูแลปลอบและคอยเบี่ยงเบนความสนใจไปก่อน หรือหากไม่มีใครมาเปลี่ยนมือ คุณแม่ควรจัดให้เขาอยู่ในที่ปลอดภัยและบอกเขาว่าคุณแม่จะไปเข้าห้องน้ำ ให้เขาเล่นของเล่นก่อน แล้วรีบกลับมาให้เร็วที่สุด เขาอาจร้องไห้ในระยะแรก แต่หากคุณแม่ทำเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอ และเขาได้เรียนรู้ว่าคุณแม่จะกลับมาในที่สุด เขาจะร้องไห้น้อยลงและสามารถเล่นของเล่นต่อได้ 

 

     

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 8-9 เดือน
  • อาหารอะไรเหมาะกับลูก

คุณพ่อคุณแม่สามารถให้อาหารเสริมบำรุงสมองเด็กวัยนี้เพิ่มได้เป็น 2 มื้อต่อวัน ร่วมกับให้นม 4-5 มื้อต่อวัน อาหารเสริมที่ให้ในช่วงนี้ควรบดหยาบ ให้เนื้อของอาหารไม่เนียนละเอียดเหมือนช่วงแรก ทั้งนี้เพื่อให้ลูกได้ฝึกเคี้ยวอาหารที่หยาบขึ้น นอกจากนี้ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างต่อเนื่อง

 

  • เคล็ดลับคุณแม่

ในวัยนี้ยังคงได้รับนมแม่ร่วมเหมือนเดิมร่วมไปกับอาหารเสริมที่มีคุณค่า อันเป็นแหล่งของไขมันหลากหลายชนิดที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองและการสร้างปลอกไมอีลิน นมแม่ก็ยังเป็นอาหารหลักของลูกน้อยเช่นเดิม ดังนั้นคุณแม่ที่ให้นมบุตรเป็นหลักจึงควรได้รับอาหารครบถ้วน เช่น นม ชีส โยเกิร์ต รวมไปถึงเนื้อสัตว์ ไข่ ผัก เป็นต้น เพื่อให้บุตรได้รับสารอาหารสำหรับจะนำไปสร้างปลอกไมอีลินได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และส่งผลให้การพัฒนาและการทำงานของสมองเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 


บทความอืนๆ ที่เกี่ยวข้อง 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6-7 เดือน

อ้างอิง

บทความโดย แพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล 
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช

 

บทความแนะนำ

10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

รวมของเล่นฝึกสมาธิเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองและพัฒนาการทางร่างกายของลูก ให้ลูกมีพัฒนาการทางที่ดี ของเล่นฝึกสมาธิเด็กแบบไหน ที่เหมาะกับลูกน้อยบ้าง ไปดูกัน

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าจะสังเกตเห็นได้ยังไง ลูกพัฒนาการล่าช้าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เด็กพัฒนาการล่าช้า มีวิธีป้องกันไหม และพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ยังไงบ้าง

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

ลูกไอคิวต่ำ เกิดจากสาเหตุอะไร เด็กเรียนรู้ช้าจะส่งผลเสียอะไรกับลูกบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าเด็กไอคิวต่ำ พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

ออทิสติกเทียม คืออะไร ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยอย่างไร พร้อมวิธีรับมือเบื้องต้น

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกอยู่ไม่นิ่งและซนมาก คืออาการของเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการของลูกได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือ

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

เด็กพูดติดอ่าง เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกพูดไม่ชัดเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมไหม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกพูดไม่ชัด พร้อมวิธีรับมือปัญหา อาการลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม ลูกไม่พูดสักที จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีฝึกลูกพูดตามช่วงวัย เสริมพัฒนาการลูกน้อย