2’-FL กุญแจสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกรักในขวบปีแรก

2’-FL กุญแจสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกรักในขวบปีแรก

สมองของทารกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดย 1,000 วันแรกของชีวิต ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง และเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใยประสาท ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองให้ทำงานได้ดีมีศักยภาพ ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดี

headphones
อ่าน 4 นาที

2’-FL กุญแจสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกรักในขวบปีแรก

   สมองของทารกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดย 1,000 วันแรกของชีวิต ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง และเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใยประสาท ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองให้ทำงานได้ดีมีศักยภาพ ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดี

    หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพัฒนาสมองของลูกรักในช่วงขวบปีแรกอย่างมีประสิทธิภาพ คือ โภชนาการในช่วงแรกของชีวิต องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้ทารกแรกเกิดกินนมแม่เพียงอย่างเดียวใน 6 เดือนแรก และสามารถกินนมแม่ควบคู่ไปกับอาหารตามวัยไปจนถึงอายุ 2 ปี 

2’-FL กุญแจสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกรักในขวบปีแรก


    โดยสารอาหารที่พบว่ามีบทบาทช่วยสร้างเสริมสมองในนมแม่ ได้แก่ Sphingomyelin, DHA, ARA รวมถึงไปสารอาหารอื่น ๆ ซึ่งหนึ่งในอาหารมื้อแรกที่ลูกได้กินหลังคลอด คือ น้ำนมเหลือง หรือ คอรอสตรัม (Colostrum) เป็นน้ำนมที่อุดมด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด อาทิ ไขมัน โปรตีน สาร Growth Factor Immunoglobulin G, A ซึ่งมี Human Milk. Oligosaccharides (HMOs) มีปริมาณมากที่สุดในน้ำนมเหลือง โดย HMOs เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหาร และยังเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ช่วยให้ลูกมีภูมิคุ้มกันดี สุขภาพแข็งแรง โดย HMOs ในนมแม่ มีมากกว่า 200 ชนิด โดย 2’-FL เป็น HMOs ชนิดที่พบมากที่สุด และมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสติปัญญาในเด็กทารก2 

      มีผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ในวารสาร PLos One ปี 2563 แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของ 2’-FL ซึ่งสัมพันธ์กับการพัฒนาสติปัญญาของทารกอายุ 2 ปี ในทารกที่กินนมแม่ ซึ่งสอดคล้องกับความรู้ทั่วไปที่เราได้ยินบ่อย ๆ ว่า เด็กที่กินนมแม่ จะมี IQ ดี และมีพัฒนาการที่ดีสมวัย 
    นอกจากความฉลาดทางความคิดแล้ว นักวิจัยยังพบอีกว่า HMOs ยังมีส่วนช่วยให้ทารกมีการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ดี สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี เนื่องจากจุลินทีย์สุขภาพที่อยู่ในลำไส้ มีการผลิตสารสื่อประสาทบางอย่าง เช่น Serotonin & Dopamine โดยสารสื่อประสาทเหล่านี้จะถูกส่งออกมาเพื่อสื่อสารกับสมอง มีอิทธิพลในการควบคุมการเเสดงออกด้านพฤติกรรม อารมณ์ของลูก และพัฒนาการ ให้พัฒนาได้เป็นไปตามปกติ  
 
   ดังนั้นเราจึงมั่นใจได้ว่า การดูแลให้ลูกน้อยกินนมที่มี 2’-FL ต่อเนื่องในช่วง 1,000 วันแรก จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างรากฐานที่ดีของการพัฒนาความฉลาด ควบคู่ไปกับการเอาใจใส่ให้ลูกน้อยเติบโตท่ามกลางความรัก และสิ่งแวดล้อมที่ดี ก็จะช่วยให้ลูกรักในวัยขวบปีแรกมีความฉลาด มีความมั่นคงทางอารมณ์ สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

2’-FL คืออะไร ? รู้จัก 2’-FL 

สฟิงโกไมอีลิน,2’- FL ในนมแม่ช่วยให้ลูกสมองดีจริงมั๊ย?

อ้างอิง

  1. รณรงค์ 6เดือนแรกดื่มนมแม่
  2. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0228323
  3. Berger et al. PlosOneFeb2020

บทความแนะนำ

เสริมความฉลาด เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ ให้ลูกรักได้ด้วย นมแม่

เสริมความฉลาด เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ ให้ลูกรักได้ด้วย นมแม่

จากหลายการศึกษา พบว่า ค่า IQ เฉลี่ยของเด็กที่กินนมแม่ จะมีไอคิวสูง เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญหลากหลาย ในการพัฒนาสมอง รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน, DHA, ARA เป็นต้น 

2FL สุดยอดภูมิคุ้มกันแรกเริ่มในนมแม่ ช่วยให้ลูกแข็งแรง เพิ่มโอกาสพัฒนาสมอง

2FL สุดยอดภูมิคุ้มกันแรกเริ่มในนมแม่ ช่วยให้ลูกแข็งแรง เพิ่มโอกาสพัฒนาสมองแบบไม่มีสะดุด

นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของลูก นี่คือเรื่องที่คุณแม่ทุกคนรับรู้กันเป็นอย่างดี หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้น้ำนมแม่ดีที่สุดนั้น เป็นเพราะน้ำนมแม่เปรียบเสมือน วัคซีนหยดแรก ของลูกน้อย เพราะในสารอาหารมากมายกว่า 200 ชนิดในน้ำนมแม่นั้น มีสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันแรกเริ่มให้แก่ลูก ทำให้ร่างกายลูกแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย เพิ่มโอกาสในการพัฒนาสมองแบบไม่มีสะดุด 

สฟิงโกไมอีลิน คืออะไร สำคัญต่ออย่างไรต่อสมองของลูกน้อย

สฟิงโกไมอีลิน คืออะไร สำคัญต่ออย่างไรต่อสมองของลูกน้อย

ทำความรู้จักสฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารที่พบมากในนมแม่ ช่วยในการสร้างปลอกไมอิลิน สฟิงโกไมอีลิน คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรและส่งผลต่อการทำงานของสมองลูกน้อยอย่างไร