เทคนิคการบีบ เก็บ ตุนนม ไว้ให้ลูกกิน เมื่อคุณแม่ต้องไปทำงาน

 

เคล็ดไม่ลับคุณแม่มือใหม่ เทคนิคเก็บสต๊อกนมแม่

แม้แม่ต้องทำงานนอกบ้าน

แม่ก็สามารถเลี้ยงลูกด้วย

นมแม่ควบคู่ไปได้ หากมีการ

เตรียมความพร้อมที่ดี

 

เทคนิค บีบ เก็บ ตุน เพื่อลูกรัก

ลูกรักจะเติบโตแข็งแรง แจ่มใส

แม่ทำงานได้อย่างสบายใจ ไม่กังวล

การบีบเก็บน้ำนมด้วยมือ

เป็นวิธีที่สะดวก ปลอดภัย และช่วยให้
น้ำนมออกจากเต้า
ได้เกลี้ยงกว่าการ
ปั๊ม เมื่อฝึกทำจนคล่องจะประหยัด

เวลาได้มาก

1
คุณแม่ควรอยู่ในที่สงบ

เป็นส่วนตัว ล้างมือให้

สะอาด และนั่งอยู่ในท่า

ที่สบายผ่อนคลาย

ก่อนทำการบีบเก็บน้ำนม
2
กระตุ้นเต้านมด้วยการใช้มือลูบเต้านมเบาๆ จากฐานไป

ยังลานหัวนม นวดเบาๆ โดยใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งประคอง

เต้านมด้านล่าง และใช้ปลายนิ้วมือ อีกข้างหนึ่งคลึงนวด

เต้านมเบาๆ เป็นวงกลมเริ่มจากฐานของเต้านม ไปยัง

หัวนม สลับกับกระตุ้นหัวนมด้วยการใช้นิ้วดึงและคลึงหัวนม
3
วางปลายนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ที่ขอบ

นอก ของลานหัวนม หรือห่างจากหัวนม

ประมาณ 3 ซม. ให้ปลายนิ้วทั้ง 2 ข้าง

อยู่ตรงข้ามกันเสมอ โดยมีหัวนมเป็น

จุดศูนย์กลาง
4
วิธีการบีบน้ำนม กดนิ้วทั้ง 2 เข้าหา
อกแม่
แล้วจึงบีบ 2 นิ้วเข้าหากัน
น้ำนมจากท่อน้ำนม
จะถูกดัน
พุ่งออกมา
กดเข้าหาหน้าอก
บีบนิ้วเข้าหากัน
นมไหลออกจากหัวนม
คลายนิ้วแล้วเริ่มทำซ้ำใหม่ โดยกด

บีบปล่อย เป็นจังหวะจนน้ำนมออก

น้อยลงหรือหมด จึงเลื่อนตำแหน่งนิ้ว

ที่บีบไปตามขอบลานนม เพื่อให้

สามารถบีบน้ำนมออกจากกระเปาะ

ได้ทั่วถึง ไม่ควรใช้แรงบีบมากจนทำ

ให้เจ็บหรือใช้นิ้วมือไถ เพื่อรีดน้ำนม

ออก จะทำให้เต้านมอักเสบ

หรือผิวหนังถลอกได้
 
การให้ลูกดูดนม

หรือบีบเก็บน้ำนมบ่อยๆ

และสม่ำเสมอ ช่วยให้

คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอ
  • ควรบีบเก็บน้ำนมทุก 3 ชม.
  • ไม่ควรเว้นระยะห่างในการเก็บ
    นานกว่า 4 ชั่วโมง เพราะจะทำให้

    เต้านมคัดในระยะแรก และต่อมา
    ในระยะยาวจะเป็นเหตุในการ
    สร้าง
    น้ำนมลดน้อยลง
  • ควรบีบเก็บน้ำนมจนเกลี้ยงเต้า หรือเต้านมนุ่มทั้ง 2 เต้า
  • ในการบีบเก็บแต่ละครั้งไม่ควรใช้เวลาเกิน 30 นาที
หามุมสงบเพื่อ

ช่วยให้ผ่อนคลาย
ล้างมือให้สะอาด
นวดเต้านมเบาๆ
บีบเก็บน้ำนมลงใน

ภาชนะที่สะอาด

บีบให้เกลี้ยงเต้า
บีบใส่ภาชนะ

ครั้งละ 2-4 ออนซ์

ติดวันที่ เวลาที่บีบ

และปิดภาชนะให้มิดชิด
นำแช่ตู้เย็น

อุณหภูมิ 4˚C

หรือกระติกที่มีน้ำแข็ง

หล่อเต็มกระติก

ตลอดเวลา
 
ข้อควรระวังห้ามเก็บน้ำนมที่บีบไว้ข้างประตูตู้เย็น
 
  • 1ช่วยบรรเทาอาการคัดเต้านม
  • 2ประเมินปริมาณน้ำนม
  • 3คงไว้ซึ่งการสร้างและหลั่งน้ำนม
  • 4 เก็บสะสมน้ำนมไว้ เพื่อเป็นคลังน้ำนม

    เอาไว้ป้อนลูกในภายหลัง
 

ระยะเวลาของการเก็บ

รักษาน้ำนม

ตู้เย็นประตูเดียว

ใต้ช่องแช่แข็ง อุณหภูมิไม่เกิน 4˚C

เก็บได้ 3-5 วัน
ช่องแช่แข็ง เก็บได้ 2 สัปดาห์

ตู้แช่แข็ง

อุณหภูมิต่ำกว่า -20˚C

เก็บได้ 6-12 เดือน

ตู้เย็น 2 ประตู

ใต้ช่องแช่แข็ง อุณหภูมิไม่เกิน 4˚C

เก็บได้ 3-5 วัน
ช่องแช่แข็ง เก็บได้ 3 เดือน

กระติกน้ำแข็ง

ที่มีน้ำแข็งหล่อเต็มกระติก

ตลอดเวลา เก็บได้ 24 ชม.