นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน เก็บรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน เก็บยังไงให้ถูกวิธี

05.02.2024

เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่นั้นดีที่สุดสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะการให้ลูกกินนมจากเต้า แต่ในกรณีที่คุณแม่ต้องทำงานประจำไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา แต่อยากให้ลูกน้อยได้กินนมแม่นานที่สุด สามารถใช้วิธีการปั๊มนมเก็บสต็อกได้ ดังนั้นการเก็บรักษานมแม่ให้ถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้ และทำความเข้าใจกันว่า นมแม่นั้นอยู่ได้กี่ชั่วโมง นมแม่เก็บได้นานแค่ไหน และวิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้องนั้น ควรเก็บอย่างไร

headphones

PLAYING: นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน เก็บยังไงให้ถูกวิธี

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • อายุในการจัดเก็บนมแม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา เช่น ถ้าตั้งอยู่ในอุณหภูมิห้อง จะสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-4 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่ในตู้เย็น จะสามารถอยุ่ได้นาน 3-5 วัน เป็นต้น
  • เมื่อนำนมแม่ที่เก็บสต็อกมาให้ลูกดื่มแล้ว ควรทานให้หมดในครั้งเดียว ในกรณีน้ำนมเหลือจากการป้อนลูก หากต้องการเก็บไว้ป้อนลูกอีก แนะนำให้ใช้ภายใน 1 – 2 ชั่วโมง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เพราะอาหารที่ดีที่สุดของลูก คือ นมแม่ พราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย และด้วยไลฟ์สไตล์ของคุณแม่ในยุคปัจจุบัน ที่อาจไม่ได้ว่างอยู่บ้านให้นมลูกจากเต้าตลอดเวลา ดังนั้นการจัดเก็บรักษานมแม่ให้ถูกวิธี คือสิ่งสำคัญที่คุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้ ซึ่งคุณแม่หลาย ๆ คนอาจเกิดคำถามว่า นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง ซึ่งเป็นคำถามที่ดี และคำตอบที่เหมาะสมกับคำถามนี้คือ ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยระยะเวลาเฉลี่ยของอายุในการจัดเก็บนมแม่ที่ถูกสต็อกออกมานั้น จะเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ชั่วโมง จนไปถึง 12 เดือน ดังนั้น เราจะมาดูกันว่า วิธีใดบ้างที่สามารถเก็บรักษานมแม่ได้ และแต่ละวิธีมีอายุในการจัดเก็บนมแม่เท่าไร

 

การเก็บนมแม่สำคัญอย่างไร

ความสำคัญของการเก็บนมแม่นั้น ก็เพื่อเป็นการสต็อกน้ำนมไว้ให้ลูกดื่มอย่างเพียงพอ และเหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงไลฟ์สไตล์ของคุณแม่หลังคลอดแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป เช่น หากเป็นคุณแม่ Full Time ที่สามารถอยู่บ้าน อยู่กับลูกได้ตลอดเวลา การสต็อกน้ำนมก็อาจไม่ต้องเก็บเยอะ ไม่ต้องใช้วิธีที่เก็บได้นานมากนัก เพราะสามารถให้นมลูกได้ตลอดเวลา ถ้าเป็นคุณแม่ที่ไปทำงานเช้ากลับเย็น ต้องห่างลูกในช่วงเวลาทำงาน ก็ต้องวางแผนการเก็บน้ำนม ให้เพียงพอในแต่ละวัน เป็นต้น เพราะอาหารที่ดีที่สุดของลูก คือ นมแม่

 

วิธีการเก็บรักษานมแม่

สำหรับวิธีการเก็บรักษานมแม่ หรือการสต็อกนมแม่นั้น มีอยู่หลากหลายวิธีได้แก่

  • เก็บในอุณหภูมิห้อง ซึ่งหมายถึงการปั๊มนมออกมา พร้อมให้ลูกดื่มได้เลย
  • เก็บในกระติกน้ำแข็ง
  • เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา
  • เก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
  • เก็บในตู้แช่แข็ง

 

นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง

คุณแม่บางท่านอาจสงสัยว่า นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง อย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้นว่า อายุในการจัดเก็บนมแม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา ได้แก่

  • อุณหภูมิห้อง ที่มากกว่า 25 องศาเซลเซียส (ประมาณ 27-32 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บไว้ได้นาน 3-4 ชั่วโมง
  • อุณหภูมิห้อง ที่น้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส (ประมาณ 16-25 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 4-8 ชั่วโมง
  • กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็ง (ประมาณ 15 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
  • ตู้เย็นช่องแช่ธรรมดา (ประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 3-5 วัน
  • ช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูเดียว (ประมาณ -15 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  • ช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูแยก (ประมาณ -18 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 3-6 เดือน
  • ช่องแช่แข็งเย็นจัดของตู้เย็นชนิดพิเศษ Deep Freezer (ประมาณ -20 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 6-12 เดือน

 

นมแม่แช่ตู้เย็นได้ไหม

แน่นอนว่านมแม่นั้น สามารถเก็บในตู้เย็นได้ และควรเก็บในตู้เย็นด้วย ส่วนจะเก็บแบบใด ในส่วนไหนของตู้เย็นนั้น ขึ้นอยู่กับการวางแผนในการสต็อกนม หรือไลฟ์สไตล์ในการให้นมของคุณแม่ แต่ถ้าต้องการจัดเก็บน้ำนมในตู้เย็นให้ดีที่สุด คุณแม่ควรจัดเก็บน้ำนมแม่ที่สต็อกออกมาแล้ว นำเข้าแช่ในตู้เย็น ช่องแช่แข็ง หรือตู้แช่แข็งทันทีหลังจากการปั๊มนม

 

วิธีเก็บนมในตู้เย็นทำอย่างไร

การจัดเก็บน้ำนมแม่ในตู้เย็นอย่างถูกต้องและปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการเสียหรือหมดอายุนั้น มีขั้นตอนที่เราอยากแนะนำ ดังนี้

  • ตู้เย็นช่องแช่ธรรมดา ช่วงเวลาในการจัดเก็บที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรเกิน 4 วัน และคุณแม่ควรจัดเก็บน้ำนมแม่ไว้ในบริเวณด้านหลังที่ลึก และเย็นของตู้เย็น
  • ช่องแช่แข็ง เช่นเดียวกับช่องแช่ธรรมดา คุณแม่ควรเก็บน้ำนมในบริเวณด้านหลังของช่องแช่แข็ง แต่ควรระวังเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บ เนื่องจากถุงเก็บน้ำนมแม่จะขยายตัวเมื่อน้ำนมแม่เป็นน้ำแข็ง ไม่ควรเก็บจนมากเกินไป

 

การนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้

วิธีการนำน้ำนมแม่ที่จัดเก็บในตู้เย็นออกมาใช้อย่างถูกต้องนั้น คุณแม่ควรนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นออกมาอุ่นด้วยการนำมาใส่ในขวดนม จากนั้นนำไปวางไว้ในชามที่บรรจุน้ำอุ่นไว้ ไม่แนะนำให้นำไปอุ่นในไมโครเวฟ

 

วิธีละลายนมแม่

สำหรับวิธีละลายนมแม่ ที่ถูกจัดเก็บในช่องแช่แข็งนั้น ขอแนะนำให้คุณแม่นำถุงจัดเก็บน้ำนมแม่ที่เป็นน้ำแข็งออกมาเก็บในช่องแช่ธรรมดาข้ามคืนเพื่อให้คืนสภาพ ละลายไม่เป็นน้ำแข็ง จากนั้นให้นำมาเทใส่ขวด แล้วจึงแช่ในน้ำอุ่น ไม่แนะนำให้อุ่นนมแม่ในไมโครเวฟ

 

ลูกกินนมแม่ไม่หมด สามารถเก็บนมแม่ไว้กินในมื้อต่อไป ได้หรือไม่

ควรทานนมแม่ให้หมดในครั้งเดียว ในกรณีน้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมลูก หากต้องการเก็บไว้ป้อนลูกอีก แนะนำให้ใช้ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากการกินเหลือในครั้งแรก หากเกิน 2 ชั่วโมงแล้ว ควรทิ้งน้ำนมแม่ที่ลูกกินเหลือ เพื่อความปลอดภัย

 

สารอาหารสำคัญในน้ำนมเหลือง

ในน้ำนมแม่นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยมากมาย โดยเฉพาะในน้ำนมเหลือง ซึ่งหมายถึงน้ำนมแม่ในระยะแรก ที่ร่างกายของคุณแม่จะสร้างขึ้นในช่วงเวลา 1-3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น ซึ่งในน้ำนมช่วงนี้ จะมีสารอาหารที่สำคัญต่อลูก เช่น

  • แลคโตเฟอร์ริน สารอาหารประเภทโปรตีน ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของภูมิคุ้มกันของลูก
  • แอนติบอดี้ สารอาหารประเภทโปรตีน หรือที่เรียกว่า อิมมูโนโกลบูลิน เป็นสารอาหารที่ถูกนำไปใช้โดยระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคแบคทีเรีย และไวรัส

 

การเก็บรักษาน้ำนมแม่ที่ถูกต้องนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี สิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรเลือกวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันของตัวเอง เพื่อให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพตอบโจทย์มากที่สุด สารอาหารในนมแม่ที่สำคัญมีหลากหลาย ทำให้ลูกได้รับสารอาหารสำคัญในนมแม่ที่มีมากกว่า 200 ชนิด รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารที่มีส่วนสำคัญในการสร้างไมอีลิน ที่ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทของลูกรักดีขึ้น ทำให้สมองของลูกได้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลที่รวดเร็ว เกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น และมีพัฒนาการที่ดี

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. คำแนะนำวิธีการเก็บนมแม่, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  2. วิธีเก็บสต็อกนมแม่ ต้องทำอย่างไร, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล อ้อมน้อย
  3. How Long Can Breast Milk Sit Out?, Healthline
  4. Tips for Freezing & refrigerating Breast Milk, healthychildren
  5. Proper Storage and Preparation of Breast Milk, CDC
  6. น้ำนมแม่ ภูมิต้านทานที่ดี ช่วยลดโอกาสเจ็บป่วยให้กับลูก, โรงพยาบาลบางปะกอก
  7. What Is Colostrum? Nutrition, Benefits, and Downsides , healthline

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารกเป็นอย่างไร ผื่นแพ้อาหารทารก หนึ่งในอาการของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ทำไมพ่อแม่ยุคใหม่ ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ทำไมพ่อแม่ยุคใหม่ ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ลมพิษในเด็ก อาการผื่นนูนแดงที่เกิดขึ้นตามร่างกายของลูกน้อย ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นลมพิษมีอาการอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลมพิษในเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ผื่นแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ผื่นแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ เกิดจากอะไร อาการผื่นแพ้ในเด็ก มักเกิดขึ้นกับเด็กหลังมีเหงื่อออกตามใบหน้าและลำตัว ไปทำความรู้จักกับอาการลูกแพ้เหงื่อ พร้อมวิธีดูแลเบื้องต้น

ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีดูแลผดผื่นบนใบหน้าทารก

ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีดูแลผดผื่นบนใบหน้าทารก

ผื่นขึ้นหน้าทารก เกิดจากอะไร รู้จักอาการผื่นขึ้นหน้าทารก สาเหตุ อาการที่ทำให้ทารกมีผื่นขึ้นหน้า พร้อมวิธีดูแล ผดผื่นบนใบหน้าทารก และการดูแลเมื่อผื่นขึ้นหน้าทารก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก