อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 3 โภชนาการสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 3 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

08.06.2020

เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 หรือช่วงอายุครรภ์ 7-9 เดือน เรียกได้ว่านี่คือโค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ในช่วงท้องแก่ใกล้คลอดนั้น เรื่องโภชนาการยังคงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในระยะนี้ลูกน้อยในครรภ์จะมีพัฒนาการของสมองที่รวดเร็วมาก ดังนั้นการรับประทานอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงนี้ ล้วนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท และยังต้องคำนึงถึงอาหารเพิ่มน้ำนม เพราะคุณแม่ต้องเตรียมให้นมลูกหลังคลอดอีกด้วย



 

headphones

PLAYING: อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 3 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อ่าน 4 นาที

โภชนาการแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ ไตรมาส 3 

ในช่วงระยะนี้ ร่างกายของคุณแม่ยังคงต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นวันละ 300 กิโลแคลอรี่ ซึ่งเทียบได้กับอาหารหลัก 1 มื้อ โดยคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เช่นเดิม แต่อยากให้เน้นโปรตีนเป็นพิเศษ เพราะระยะนี้เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการโปรตีนสูงที่สุด แต่คุณแม่ควรระวังเรื่องการทานของหวาน และเรื่องน้ำหนักที่ขึ้นมากเกินไป เพราะอาจเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ และไม่ควรรับประทานของหมักดอง อาหารรสจัด อาหารปรุงไม่สุก ควรงดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีควันบุหรี่

 โภชนาการแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ ไตรมาส 3

 

สารอาหารที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3

 

  • โปรตีน เพราะช่วงระยะ 7-9 เดือนหรือ ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์คือช่วงที่ร่างกายของคุณแม่และลูกในครรภ์ต้องการโปรตีนมากที่สุด เพื่อใช้ในการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของลูก และบำรุงร่างกายของคุณแม่ แหล่งของโปรตีนที่ดีได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ ไข่ ถั่วต่าง ๆ
  • ธาตุเหล็ก เพราะร่างกายคุณแม่ต้องสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเต้านมของคุณแม่จะเริ่มผลิตน้ำนมได้ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 8 เดือน ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกหลังคลอด การบริโภคธาตุเหล็กจึงจำเป็นมาก โดยธาตุเหล็กนั้นพบได้มากในเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ และผักใบเขียว
  • วิตามินซี มีความจำเป็นมากเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถซึมซับธาตุเหล็กได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงไว้ใช้ขนออกซิเจนไปส่งให้ลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงการสร้างน้ำนมให้เพียงพอ วิตามินซีหาได้จากผลไม้เช่น ส้ม, แอปเปิ้ล เป็นต้น
  • กรดไขมันจำเป็น อย่างเช่น โอเมก้า 3 6 9 DHA ทั้งหมดนี้คือกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น โดยหน้าที่สำคัญของกรดไขมันเหล่านี้ คือช่วยพัฒนาเซลล์สมองและเซลล์ประสาทของลูก รวมถึงพัฒนาในเรื่องการมองเห็นของลูกอีกด้วย โดยกรดไขมันจำเป็นเหล่านี้สามารถหาได้จาก เนื้อปลา อาหารทะเล ถั่วต่าง ๆ
  • แคลเซียม สารอาหารที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันของทารก โดยเฉพาะในระยะไตรมาสที่ 3 นี้ ลูกน้อยจะอยู่ในท่ากลับหัว เตรียมพร้อมที่จะคลอดออกมา ซึ่งกระโหลกศรีษะของลูกในช่วงนี้นั้น แม้จะเป็นรูปร่างแล้ว แต่กระดูกจะยังไม่แข็งแรงพอ การรับประทานแคลเซียมจะช่วยให้กระโหลกศรีษะของลูกแข็งแรงขึ้น พร้อมที่จะมุดผ่านพ้นช่องเชิงกรานจนคลอดออกมาได้ แหล่งของแคลเซียมได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม, ไข่, เต้าหู้, ถั่ว, ผักใบเขียว, ปลาที่รับประทานได้พร้อมกระดูก
  • โฟเลต หรือที่รู้จักกันในชื่อ กรดโฟลิก สารอาหารที่สำคัญต่อการสังเคราะห์ดีเอนเอของเซลล์เพื่อสร้างอวัยต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ การบริโภคโฟเลตอย่างเพียงพอเหมาะสมจะลดความเสี่ยงในการเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ โฟเลตสามารถพบได้มากในผักใบเขียว ตับ ธัญพืช เป็นต้น


การเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 นี้พบได้ก็คือ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โดยควรเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัมต่อเดือน, ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอดเนื่องจากศรีษะลูกเคลื่อนที่ต่ำลง เหนื่อยง่าย นอนหลับไม่สบาย อึดอัดจากภาวะมดลูกโตขึ้น ปวดหลัง เนื่องจากน้ำหนักตัวของลูกในครรภ์ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ

ภาวะฉุกเฉินและอาการสำคัญที่หากพบคุณแม่ตั้งครรภ์ควรรีบไปโรงพยาบาลนั้นได้แก่ อาการท้องแข็ง หรือเจ็บครรภ์ทุก ๆ 5-10 นาที มีมูกเลือดหรือเลือดสด ๆ ออกทางช่องคลอด มีน้ำเดินเป็นน้ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะ รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง ปวดศรีษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ บวม


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

โภชนาการแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ ไตรมาส 2

โภชนาการแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ ไตรมาส 1

นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ นมแบบไหนที่ใช่

อ้างอิง

1. http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/7648/2/fulltext.p…

2.  https://www.bangkokhospital.com/content/nutrition-pregnant-mothers-must-know

3.https://www.phyathai.com/article_detail/1706/th/คำแนะนำสำหรับ_คุณแม่ตั้…

บทความแนะนำ

อารมณ์คนท้องแปรปรวน เกิดจากอะไร คุณพ่อมือใหม่รับมือยังไงดี

อารมณ์คนท้องแปรปรวน เกิดจากอะไร คุณพ่อมือใหม่รับมือยังไงดี

อารมณ์คนท้องแปรปรวน คนท้องมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เกิดจากสาเหตุอะไร คุณแม่ท้องอารมณ์แปรปรวนบ่อย ส่งผลกระทบกับลูกในครรภ์ไหม พร้อมวิธีรับมือเมื่อคนท้องอารมณ์แปรปรวน

สะดือคนท้องบอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง

สะดือคนท้องบอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง

สะดือคนท้อง บอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง การเปลี่ยนแปลงของสะดือคุณแม่ บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของแม่ท้องและลูกได้ไหม สะดือคนท้องทายเพศลูกได้จริงหรือเปล่า

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอยู่จริงไหม อาหารแบบไหนช่วยลดอาการเวียนหัว คลื่นไส้และอาเจียนของคุณแม่ได้ ไปดูอาหารคนแพ้ท้องที่ปลอดภัยกัน

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ควรกินอะไรบ้าง พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ควรกินอะไรบ้าง พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ภาวะเลือดจากในคนท้อง เกิดจากอะไร อาหารอะไรบ้างที่คนท้องเลือดจางห้ามกินและกินได้ คุณแม่มีภาวะเลือดจากจะเป็นอันตรายกับลูกในท้องไหม

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกสำคัญแค่ไหน เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติของรก ที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับทารกในครรภ์

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย สัญญาณอันตรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้าม น้ำคร่ำน้อยระหว่างตั้งครรภ์ มีอาการอย่างไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเอง 

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลทำหมันจะหายดี เจ็บแผลทำหมัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมันที่ถูกต้อง ช่วยให้แผลหายเร็วและปลอดภัย