นมสำหรับคนท้อง เพื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ แบบไหนมีแคลเซี่ยม
ระหว่างท้องตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาที่ร่างกายของคุณแม่และลูกในท้องต้องการแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพราะลูกจะดึงแคลเซียมในร่างกายของแม่ไปสร้างเนื้อเยื่อ เส้นใยประสาท กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกระดูกและฟัน ซึ่งจะเริ่มสร้างตั้งแต่ลูกในครรภ์อายุได้ 3 เดือนนั่นเองค่ะ แม่ท้องจึงจำเป็นที่แม่จะต้องได้รับแคลเซียมสูงเพิ่มกว่าปกติ ซึ่ง นมสำหรับคนท้อง จำเป็นหรือไม่ และถ้าใช่ ควรเลือกแบบทาน นมสำหรับคนท้อง ที่เหมาะสมแบบไหน
นมสำหรับคนท้อง เพื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ นมแบบไหนที่ใช่
นมสำหรับคนท้อง จำเป็นหรือไม่ และถ้าใช่ ควรเลือกแบบทานนมแบบไหน เพราะในระหว่างที่ตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาที่ร่างกายของคุณแม่และลูกในท้องต้องการแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพราะลูกจะดึงแคลเซียมในร่างกายของแม่ไปสร้างเนื้อเยื่อ เส้นใยประสาท กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกระดูกและฟัน ซึ่งจะเริ่มสร้างตั้งแต่ลูกในครรภ์อายุได้ 3 เดือนนั่เองค่ะ แม่ท้องจึงจำเป็นที่แม่จะต้องได้รับแคลเซียมสูงเพิ่มกว่าปกติ
โภชนาการที่ดีสำหรับแม่ตั้งครรภ์
แม่ตั้งครรภ์ครรภ์ไม่ควรขาดสารอาหารใด ๆ ค่ะ เพราะสารอาหารมีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนากาของสมองของทารก โดยสารอาหารสำคัญสำหรับแม่ท้องได้แก่
• โปรตีน มีมากในเนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง ผลิตภัณฑ์นมและไข่ ถ้าขาดจะทำให้การเจริญเติบโตของทารกไม่เป็นปกติ การพัฒนาสมองไม่สมบูรณ์
• แร่ธาตุเหล็ก มีมากในเลือด ตับ เนื้อสัตว์ ไข่ ถ้าขาดทำให้แม่เป็นโลหิตจางมีผลกระทบต่อการพัฒนาสมองของทารก
• ไอโอดีน มีมากในอาหารทะเล เกลือเสริมไอโอดีน ถ้าแม่ขาดจะทำให้การพัฒนาสมองทารกผิดปกติ ทารกเกิดมาเป็นโรคเอ๋อ ปัญญาอ่อน หูหนวก เป็นใบ้ การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
• วิตามินโฟเลท มีมากในตับ และผักใบเขียว เช่น กุ่ยช่าย หน่อไม้ฝรั่ง หญิงตั้งครรภ์ ต้องการโฟเลทเพื่อการสร้างเซลล์สมองของทารก โดยเฉพาะระยะครรภ์ช่วงเดือนแรก
• แคลเซียม สร้างความเจริญเติบโตและการพัฒนาการสร้างกระดูกในครรภ์มารดา อาหารที่มีแคลเซียมมากได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย
นมสำหรับคนท้อง กับแคลเซียม
ปกติร่างกายคนเราจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500-600 มิลลิกรัม แต่ปริมาณแคลเซียมที่แม่ท้องต้องการนั้นสูงถึงวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูงสําหรับคนท้องจึงมีความสำคัญมาก เพราะสารอาหารอย่างแคลเซียมจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงตั้งครรภ์
แคลเซียมทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งแคลเซียมในร่างกายแม่ท้อง จะถูกดึงไปใช้เสริมสร้างกระดูกทารกในครรภ์ ดังนั้น การที่แม่ท้องได้รับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ นอกจากจะช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกายยังช่วยทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน
แม่ท้องบางท่านอาจจะเลือกดื่มนมเพื่อเพิ่มแคลเซี่ยมให้กับร่างกาย ไปดูกันค่ะว่านมสำหรับคนท้องแบบไหนที่เหมาะกับแม่ตั้งครรภ์ มีสารอาหารและแคลเซียมที่จำเป็นต่อร่างกายแม่และลูกน้อยในครรภ์

นมสำหรับคนท้อง แบบไหนที่ใช่ แบบไหนมีแคลเซี่ยมที่เหมาะสม
1. นมวัว
- นมวัวเป็นนมที่คนนิยมดื่มมากที่สุดในบรรดานมทุกชนิดและยังมีให้เลือกทั้ง นมเต็มมันเนย, นมปราศจากไขมัน, นมพร่องมันเนย และมีรสชาติที่หลากหลาย
- มีกรดอะมิโนสูง ที่ช่วยในการสร้างเซลล์ของแม่และทารกนอกจากนี้ยังมี
- วิตามินอี ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยควบคุมความเสียหายที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระ
- วิตามินเอ ที่ดีต่อการมองเห็น ช่วยสร้างเนื้อเยื่อที่ดี และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- นมวัว 1 แก้วมีแคลเซียม 240 มก.
2. นมแพะ
- ไม่เป็นที่นิยมนักแต่มีสารอาหารสูง อาจจะมีรสชาติแปลก ๆ เล็กน้อย มีให้เลือกทั้งแบบนมสด และนมยูเอชที
- เมื่อเปรียบเทียบกับนมสด นมแพะจะมีโปรตีน ไขมัน และแคลอรีสูงกว่า มีขนาดของเม็ดไขมันที่เล็กกว่า และมีวิตามินบี 2 สูงกว่าเล็กน้อย
- นมแพะมีกรดไขมันที่จำเป็นอย่างเช่น กรดไลโนเลอิก, กรดอะราคิโดนิก และ กรดไขมันสายกลาง มากกว่านมวัว
- มีวิตามินเอที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันทีสูง
- มีวิตามินบี 2 ที่ช่วยกระตุ้นการผลิตแอนติบอดี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
- นมแพะ 1 แก้วมีแคลเซียม 134 มก.
3. นมถั่วเหลือง
- ได้จากการบดถั่วเหลืองที่นำไปแช่ในน้ำ
- มีให้เลือกทั้งแบบปราศจากไขมัน, มีไขมัน และมีรสชาติหลากหลาย นอกจากนี้ยังมีทั้งไฟเบอร์และแคลเซียม และมีปริมาณโปรตีนใกล้เคียงกับนมวัว
- ไม่มีคอเลสเตอรอล และเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีต่อแม่และทารกในครรภ์ โดยในนมถั่วเหลือง 1 แก้วจะมีแคลเซียม 300 มก.
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวในนมถั่วเหลืองอาจจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้
- มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านมะเร็ง
4. น้ำนมข้าว
- ได้จากการบดข้าวกับน้ำ มีแบบพร่องมันเนย มีรสชาติหลากหลาย และมีแคลเซียมหรือโปรตีนที่หลากหลาย
- น้ำนมข้าว มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่านมวัวถึง 4 เท่า ซึ่งไม่ดีต่อผู้ที่มีโรคเบาหวาน
- น้ำนมข้าวมีปริมาณของวิตามินบีสูง และไขมันต่ำ
- อุดมไปด้วยแคลเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ มีโปรตีนต่ำ
- น้ำนมข้าว 1 แก้ว มีแคลเซียม 118 มก.
5. นมอัลมอนด์
- นมอัลมอนด์เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีภาวะแพ้แลคโตสหรือแพ้ถั่วเหลือง โดยนมอัลมอนด์จะทำมาจากอัลมอนด์บดกับน้ำ
- ปราศจากคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัว โดยนมอัลมอนด์ 1 แก้วจะมีแคลเซียม 197 มก.
- อุดมไปด้วยไฟเบอร์, กรดโฟลิก, วิตามิน B และ E, โปรตีน, แคลเซียม และธาตุเหล็ก
- มีคอเลสเตอรอลต่ำและมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
6 สัญญาณเตือน โค้งสุดท้ายใกล้คลอด
6 สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง
อ้างอิง
บทความแนะนำ

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก
ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์
อาการคนท้อง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยอาการเริ่มแรกที่หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สัมผัสได้ คือ การขาดประจำเดือน แต่ความจริงแล้วในช่วงท้อง 1 สัปดาห์ - 2 สัปดาห์แรก ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์อาจมีอาการเลือดออกเล็กน้อยคล้ายประจำเดือนที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ทำให้ว่าที่คุณแม่อาจไม่ทันได้สังเกตคิดว่าประจำเดือนมาปกติ ส่วนอาการอื่น ๆ อย่างอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และอารมณ์แปรปรวน จะตามมาทีหลัง รวมถึงมีสัญญาณการตั้งครรภ์อื่น ๆ ตามมา

อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์
โภชนาการหญิงตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องเลือกทานอาหารให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย หากได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือน้อยไปย่อมส่งผลไม่ดีต่อตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์เอาได้ การเลือกอาหารสำหรับคนท้องจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก แล้วแบบนี้คนท้องควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

เทคนิคสำหรับแม่หลังผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอด ให้ยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี
คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด มีหลายอย่างที่จะต้องเตรียมตัว รวมถึงการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด โดยเฉพาะการดูแลแผลผ่าตัดคลอด เพราะร่องรอยผ่าคลอดที่อยู่บนร่างกาย หากไม่ดูแลให้ดีจะเสี่ยงแผลผ่าคลอดอักเสบ ติดเชื้อรุนแรงได้ มาอ่านวิธีดูแลแผลผ่าคลอด เพื่อให้แผลยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ กันได้ในบทความนี้