แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

05.08.2022

เมื่อคุณแม่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่ย่อมมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย เรามีเคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้องที่อาจพบ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง พร้อมลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัย

headphones

PLAYING: แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

อ่าน 4 นาที

การดูแลครรภ์ของคุณแม่ ตลอด 9 เดือน

  • เริ่มจากการฝากครรภ์ เพื่อดูแลสุขภาพของทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ ลดอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดระหว่างการตั้งครรภ์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องได้รับอาหารครบ 5 หมู่ โดยจะต้องได้รับพลังงานจากอาหารเพิ่มขึ้นตามแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ เพิ่มสารอาหารจำพวก โปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน
  • ควบคุมน้ำหนักให้พอดี 
  • ดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาดร่างกาย ดูแลสุขภาพปากและฟัน แต่งกายเหมาะกับคนท้อง ใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย พยายามไม่ใส่รองเท้าส้นสูง พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายแต่พอดี ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม จนรู้สึกเหนื่อยมากเกินไป
  • ทำงานประจำวันได้ตามปกติ ไม่ควรทำงานหนักจนเกินไป

 

วิธีรับมือกับความกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์

 

วิธีรับมือกับความกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ทำความเข้าใจกับปัญหา หรือ เรื่องที่กำลังกังวล เมื่อคุณแม่เข้าใจข้อเท็จจริงแล้ว อาจช่วยคลายความกังวลนั้นลงได้
  • ฝึกให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน คิดถึงสิ่งที่กำลังทำในปัจจุบัน หากเมื่อคิดถึงสิ่งที่กำลังกังวล ให้พยายามดึงกลับมาคิดถึงสิ่งที่กำลังทำ ณ ปัจจุบันอีกครั้ง นอกจากจะทำให้คุณแม่ไม่คิดฟุ้งซ่านแล้ว การระลึกถึงปัจจุบัน จะช่วยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
  • ระบายความกังวล หรือ ความเครียด ออกมา ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ หรือ การเขียนบันทึกประจำวัน
  • ออกกำลังกาย
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น ฝึกการหายใจ นั่งสมาธิ

 

เข้าใจอาการคนท้อง อาการที่พบขณะตั้งครรภ์

 

เข้าใจอาการคนท้อง อาการที่พบขณะตั้งครรภ์

  • คลื่นไส้ อาเจียน อาการแพ้ท้อง พบได้ตั้งแต่ประจำเดือนเริ่มขาด
  • ท้องอืด เพราะ กระเพาะอาหาร และลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยลง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดลม หรือ แก๊ส อาหารย่อยยาก ของหมักดอง
  • ท้องผูก เพราะลำไส้เคลื่อนไหวน้อย ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 6-8 แก้ว
  • ปัสสาวะบ่อย ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ตกขาว พบได้ตลอดระยะตั้งครรภ์
  • ตะคริว คุณแม่ตั้งครรภ์ มักพบที่บริเวณปลายเท้า และน่อง
  • เส้นเลือดขอด

 

อาการที่เป็นสัญญาณให้คุณแม่ท้องต้องรีบไปพบแพทย์

 

อาการแบบไหนเป็นสัญญาณอันตราย ต้องรีบไปพบแพทย์

  • คลื่นไส้ อาเจียน มากกว่าปกติ จนกินอาหารไม่ได้
  • ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตาพร่า
  • ปัสสาวะขัด แสบ มีไข้
  • ตกขาว มีกลิ่นเหม็น มีสีเขียวปนเหลือง มีอาการ แสบ คัน ที่ช่องคลอด
  • บวม ตาม หน้า มือ และเท้า
  • ลูกดิ้นมาก หรือ น้อยลง จนรู้สึกผิดสังเกต ไม่ควรรอให้ลูกหยุดดิ้น
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • ปวดท้องรุนแรง หรือ ท้องแข็งเกร็ง บ่อยมาก

 

หากคุณแม่มือใหม่ มีคำถามเกี่ยวกับสุขภาพการตั้งครรภ์ โภชนาการ และพัฒนาการลูกน้อย สามารถปรึกษาทีมพยาบาลผู้เชียวชาญได้ที่ S-Mom Club ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพียงสมัครสมาชิกฟรีที่ https://www.s-momclub.com/profile/register 

 

S-Mom Club พร้อมเคียงข้างช่วงเวลาสำคัญของคุณและลูกน้อย

 

บทความแนะนำ

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสิทธิประกันสังคมต้องรู้ เบิกค่าฝากครรภ์ได้เท่าไหร่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง เบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม และรายละเอียดที่ช่วยให้คุณแม่สะดวกขึ้น

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมให้คุณแม่ยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมให้คุณแม่ยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวม เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาการคนท้องเท้าบวม อาจไม่ส่งผลอันตราย แต่คุณแม่ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะผิดปกติขณะตั้งครรภ์

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไร ทำยังไงให้คุณแม่ถ่ายง่ายขึ้น

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไร ทำยังไงให้คุณแม่ถ่ายง่ายขึ้น

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ คุณแม่สามารถรับมือได้อย่างถูกวิธี โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำมากๆ และทำตามตามคำแนะนำของแพทย์

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายหรือไม่ ควรรับมืออย่างไรบ้าง

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายหรือไม่ ควรรับมืออย่างไรบ้าง

อาการปวดท้องน้อยหลังคลอด เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติและผ่าคลอด ถึงแม้อาการสามารถจะค่อย ๆ บรรเทาลงไปเอง แต่คุณแม่ควรสังเกตว่าอาการปวดท้องหลังคลอดอันตรายหรือไม่