แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง
เมื่อคุณแม่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่ย่อมมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย เรามีเคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้องที่อาจพบ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง พร้อมลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัย
การดูแลครรภ์ของคุณแม่ ตลอด 9 เดือน
- เริ่มจากการฝากครรภ์ เพื่อดูแลสุขภาพของทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ ลดอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดระหว่างการตั้งครรภ์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องได้รับอาหารครบ 5 หมู่ โดยจะต้องได้รับพลังงานจากอาหารเพิ่มขึ้นตามแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ เพิ่มสารอาหารจำพวก โปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน
- ควบคุมน้ำหนักให้พอดี
- ดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาดร่างกาย ดูแลสุขภาพปากและฟัน แต่งกายเหมาะกับคนท้อง ใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย พยายามไม่ใส่รองเท้าส้นสูง พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายแต่พอดี ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม จนรู้สึกเหนื่อยมากเกินไป
- ทำงานประจำวันได้ตามปกติ ไม่ควรทำงานหนักจนเกินไป

วิธีรับมือกับความกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์
- ทำความเข้าใจกับปัญหา หรือ เรื่องที่กำลังกังวล เมื่อคุณแม่เข้าใจข้อเท็จจริงแล้ว อาจช่วยคลายความกังวลนั้นลงได้
- ฝึกให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน คิดถึงสิ่งที่กำลังทำในปัจจุบัน หากเมื่อคิดถึงสิ่งที่กำลังกังวล ให้พยายามดึงกลับมาคิดถึงสิ่งที่กำลังทำ ณ ปัจจุบันอีกครั้ง นอกจากจะทำให้คุณแม่ไม่คิดฟุ้งซ่านแล้ว การระลึกถึงปัจจุบัน จะช่วยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
- ระบายความกังวล หรือ ความเครียด ออกมา ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ หรือ การเขียนบันทึกประจำวัน
- ออกกำลังกาย
- ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น ฝึกการหายใจ นั่งสมาธิ

เข้าใจอาการคนท้อง อาการที่พบขณะตั้งครรภ์
- คลื่นไส้ อาเจียน อาการแพ้ท้อง พบได้ตั้งแต่ประจำเดือนเริ่มขาด
- ท้องอืด เพราะ กระเพาะอาหาร และลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยลง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดลม หรือ แก๊ส อาหารย่อยยาก ของหมักดอง
- ท้องผูก เพราะลำไส้เคลื่อนไหวน้อย ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 6-8 แก้ว
- ปัสสาวะบ่อย ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ตกขาว พบได้ตลอดระยะตั้งครรภ์
- ตะคริว คุณแม่ตั้งครรภ์ มักพบที่บริเวณปลายเท้า และน่อง
- เส้นเลือดขอด

อาการแบบไหนเป็นสัญญาณอันตราย ต้องรีบไปพบแพทย์
- คลื่นไส้ อาเจียน มากกว่าปกติ จนกินอาหารไม่ได้
- ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตาพร่า
- ปัสสาวะขัด แสบ มีไข้
- ตกขาว มีกลิ่นเหม็น มีสีเขียวปนเหลือง มีอาการ แสบ คัน ที่ช่องคลอด
- บวม ตาม หน้า มือ และเท้า
- ลูกดิ้นมาก หรือ น้อยลง จนรู้สึกผิดสังเกต ไม่ควรรอให้ลูกหยุดดิ้น
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- ปวดท้องรุนแรง หรือ ท้องแข็งเกร็ง บ่อยมาก
บทความแนะนำ

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก
ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์
อาการคนท้อง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยอาการเริ่มแรกที่หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สัมผัสได้ คือ การขาดประจำเดือน แต่ความจริงแล้วในช่วงท้อง 1 สัปดาห์ - 2 สัปดาห์แรก ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์อาจมีอาการเลือดออกเล็กน้อยคล้ายประจำเดือนที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ทำให้ว่าที่คุณแม่อาจไม่ทันได้สังเกตคิดว่าประจำเดือนมาปกติ ส่วนอาการอื่น ๆ อย่างอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และอารมณ์แปรปรวน จะตามมาทีหลัง รวมถึงมีสัญญาณการตั้งครรภ์อื่น ๆ ตามมา

อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์
โภชนาการหญิงตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องเลือกทานอาหารให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย หากได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือน้อยไปย่อมส่งผลไม่ดีต่อตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์เอาได้ การเลือกอาหารสำหรับคนท้องจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก แล้วแบบนี้คนท้องควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

เทคนิคสำหรับแม่หลังผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอด ให้ยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี
คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด มีหลายอย่างที่จะต้องเตรียมตัว รวมถึงการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด โดยเฉพาะการดูแลแผลผ่าตัดคลอด เพราะร่องรอยผ่าคลอดที่อยู่บนร่างกาย หากไม่ดูแลให้ดีจะเสี่ยงแผลผ่าคลอดอักเสบ ติดเชื้อรุนแรงได้ มาอ่านวิธีดูแลแผลผ่าคลอด เพื่อให้แผลยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ กันได้ในบทความนี้