เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก

05.08.2022

น้ำนมแม่ คือ อาหารที่ดีที่สุด อุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย คุณแม่รู้หรือไม่ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากดีต่อลูกแล้ว ยังดีต่อคุณแม่อีกด้วยค่ะ

headphones

PLAYING: เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก

อ่าน 2 นาที

ลูกกินนมแม่ แล้วดีอย่างไร

  1. นมแม่มีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพของลูกน้อย 
  2. ช่วยในการพัฒนาสมองของลูก เพราะ น้ำนมแม่ คือ จุดเริ่มต้นของการพัฒนาความฉลาดทางสมองและอารมณ์
  3. ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
  4. ป้องกันการแพ้โปรตีนและลดความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ 

 

นมแม่ดีต่อลูกและแม่


การให้นมแม่ยังส่งผลดีต่อคุณแม่อีกด้วย

  1. ช่วยเผาผลาญแคลอรี ถือเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักหลังคลอดได้อย่างดี
  2. ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว เมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) จะหลั่งออกมามากขึ้น ทำให้มดลูกหดตัวเร็ว ลดอาการเลือดออกหลังคลอด หรือ อาจเรียกว่า มดลูก 'เข้าอู่' ได้เร็ว 
  3. ลดความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด เพราะ ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) มีคุณสมบัติต้านการซึมเศร้าในระยะยาว รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยต้านอาการของโรคซึมเศร้าได้ดี 
  4. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะการดื่มนมจากอกแม่ อาจไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวของกับการให้นมเด็กมากนัก ทำให้ช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี 

 

น้ำนมน้อย ปัญหาคุณแม่มือใหม่


น้ำนมน้อย ปัญหาคาใจคุณแม่มือใหม่

สาเหตุน้ำนมมาน้อย เกิดจากสภาวะร่างกายของคุณแม่ที่อาจผลิตน้ำนมได้น้อย หรือมีปัญหาในการหลั่งน้ำนม เช่น

  • การป้อนนมไม่ถูกวิธี ป้อนนมไม่ถูกท่า การที่ลูกดูดนมไม่เกลี้ยงเต้า ทำให้น้ำนมค้างอยู่ในเต้า อาจส่งผลให้การผลิตน้ำนมลดลง
  • ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วนขณะตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจาง ภาวะรกค้าง (Retained Placenta) การคลอดก่อนกำหนด อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมได้น้อย
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หากคุณแม่มีความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย หรือคุณแม่ที่มีความเครียด อาจทำให้ร่างกายยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน เป็นผลให้ร่างกายผลิตและหลั่งน้ำนมได้น้อยลง
  • ปัจจัยด้านพฤติกรรมอื่นๆ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่

 

เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่ แก้ปัญหา น้ำนมมาน้อย


เทคนิควิธีเพิ่มน้ำนม แก้ไขปัญหาน้ำนมมาน้อย

  1. กระตุ้นด้วยการดูดนมของลูก ด้วยเทคนิคดูดเร็ว ดูดบ่อย และดูดถูกวิธี
  2. กระตุ้นน้ำนมด้วยการนวด
  3. กระตุ้นน้ำนมด้วยอาหาร

 

นมแม่ มีประโยชน์ ช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อทารก เปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกายและ พัฒนาการทางสมอง เตรียมพร้อมให้ลูกฉลาด สมองไว อีกทั้งยังเสริมสร้างความผูกพันของคุณแม่และลูกน้อย

 



ติดตามเคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ที่นี่

•    รวม 6 เคล็ดลับเด็ด สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ
•    การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร
•    Digital Parenting Class คลาสออนไลน์สำหรับคุณแม่มือใหม่ 

บทความแนะนำ

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

คุณแม่ผ่าคลอดสักทับรอยผ่าคลอดเพื่อกลบรอยแผลเป็นได้ไหม คุณแม่สามารถเริ่มสักทับรอยผ่าคลอดได้ตอนไหน อันตรายกับลูกเมื่อต้องให้นมหรือเปล่า ไปดูกัน

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอดทำยังไงดี คุณแม่มีอาการคันแผลผ่าคลอดหลังคลอดลูก มีวิธีบรรเทาอาการคันหลังคลอดยังไงบ้าง พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอดที่แม่ควรรู้

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลผ่าคลอดไหมจะละลาย ข้อดีของไหมละลายมีอะไรบ้าง คุณแม่ผ่าคลอดต้องกลับมาตัดไหมด้วยหรือเปล่า ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม หลังผ่าคลอดคุณแม่มีอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร ท้องผูกบ่อยอันตรายไหมสำหรับแม่ผ่าคลอดที่มีอาการท้องผูก

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หากคุณแม่ยังไม่หายดีและยกของหนักทันที แบบนี้อันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดหรือเปล่า

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรนอนท่าไหน ท่านอนแบบไหนนอนแล้วไม่เจ็บแผลผ่าคลอดและเหมาะกับแม่ผ่าคลอดที่สุด ไปดูท่านอนหลังผ่าคลอดกัน