ข้อห้ามหลังผ่าคลอดมีอะไรบ้าง พร้อมวิธีลุกจากเตียง หลังผ่าคลอด

ข้อห้ามหลังผ่าคลอดมีอะไรบ้าง พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด

02.02.2024

คุณแม่มือใหม่หลังผ่าคลอดต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด ดังนั้นเพื่อให้คุณแม่สามารถรับมือจัดการได้กับทุกเรื่อง เพื่อที่จะได้เลี้ยงดูลูกน้อยได้อย่างราบรื่น จึงได้รวบรวมข้อห้ามหลังผ่าคลอด โภชนาการ และการดูแลแผลผ่าคลอดมาให้คุณแม่เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติกันค่ะ

headphones

PLAYING: ข้อห้ามหลังผ่าคลอดมีอะไรบ้าง พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • ลูกน้อยจะได้รับสารอาหาร และรสชาติของอาหารจากที่คุณแม่รับประทานเข้าไป ผ่านมาทางน้ำนมแม่ ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ ได้แก่ ของหมักดอง น้ำอัดลม ชา กาแฟ และแอลกอฮอล์
  • หลังผ่าคลอดคุณแม่จะฟื้นตัวดีขึ้นใน 12 ชั่วโมง และต้องอยู่พักฟื้นเพื่อติดตามอาการหลังคลอดที่โรงพยาบาลอีกประมาณ 4 วัน
  • หลังผ่าคลอดคุณแม่ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อน 6 สัปดาห์ เนื่องจากแผลผ่าตัดยังไม่หายดี และยังมีน้ำคาวปลา ช่วงเวลาที่เหมาะสมหากต้องการมีเพศสัมพันธ์ช่วง 6 สัปดาห์ขึ้นไป
  • อาการของแผลผ่าคลอดที่มีความปกติ ได้แก่ แผลบวม แดง ร้อนบริเวณแผล มีเลือดซึมออกมา และมีไข้ร่วมด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

หลังผ่าคลอดคุณแม่ยังไม่สามารถกลับไปทำในหลายเรื่องที่เคยทำได้ก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์ นั่นก็เพราะเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่และลูกน้อย

 

7 สิ่งที่คุณแม่ผ่าคลอดไม่ควรทำหลังผ่าคลอดลูกน้อย

1. ห้ามรับประทานอาหารรสจัด

24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าคลอด คุณแม่จะยังไม่สามารถดื่มน้ำและรับประทานอาหาร จนกว่าลำไส้จะกลับมาทำงานได้เป็นปกติ เมื่อผ่าน 24 ชั่วโมงไปแล้ว คุณแม่ก็จะเริ่มได้จิบน้ำ และรับประทานอาหารได้เล็กน้อยเป็นซุป หรือน้ำแกงจืด และค่อย ๆ ปรับเป็นข้าวต้มนิ่ม ๆ โจ๊ก อาหารที่รับประทานได้ช่วงแรกหลังคลอดจะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และมีรสชาติจืด

 

และเมื่อคุณแม่กลับมาพักฟื้นร่างกายที่บ้าน การรับประทานอาหารสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด จะต้องหลากหลายมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพื่อที่ร่างกายจะได้ผลิตน้ำนมออกมาได้ปริมาณที่เพียงพอสำหรับลูกน้อย อาหารที่ดีกับร่างกาย ระบบขับถ่ายของคุณแม่หลังคลอดได้แก่ ผัก ผลไม้ที่มีไฟเบอร์ และอาหารที่ช่วยกระตุ้นสร้างน้ำนม เช่น ขิง ฟักทอง หัวปลี ฯลฯ

 

อาหารที่คุณแม่รับประทานในทุกมื้ออาหาร สารอาหารต่าง ๆ และรสชาติ ลูกน้อยจะได้รับผ่านน้ำนมแม่ ดังนั้นคุณแม่ควรต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหาร คุณแม่ควรงดหรือหลีกเลี่ยงอาหารประเภทหมักดอง อาหารรสจัด (เผ็ด เค็ม หวาน เปรี้ยว) เครื่องที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ

 

2. ห้ามนอนเฉย ๆ ตลอดเวลา

หลังผ่าคลอดตั้งแต่วันแรก คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ลุกยืน เดินช้า ๆ ก้าวสั้น ๆรอบเตียง เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้กลับมาขยับและทำงานเป็นปกติ การลุกเดินหลังผ่าคลอดยังช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องอืดอีกด้วย

 

3. ห้ามละเลยดูแลแผลผ่าคลอด

ก่อนคุณแม่กลับมาพักฟื้นร่างกายหลังคลอดที่บ้าน สำหรับแผลผ่าตัดคุณหมอจะปิดแผลด้วยแผ่นติดชนิดกันน้ำให้ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องระวังอย่าให้น้ำซึมเข้าไปในแผ่นแปะปิดแผล และพอครบ 7 วันหลังคลอด คุณหมอก็จะนัดคุณแม่เพื่อมาตรวจดูแผลผ่าตัดและตัดไหมออกให้

 

4. ห้ามมีเพศสัมพันธ์

หลังผ่าคลอดก่อน 6 สัปดาห์ คุณหมอไม่แนะนำให้คุณแม่มีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากแผลผ่าตัดยังไม่หาย และยังมีน้ำคาวปลาอยู่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมหากมีเพศสัมพันธ์คือช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

 

5. ห้ามหยุดให้นมลูก

ผลข้างเคียงของการผ่าคลอด อาจทำให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมออกมาได้ช้า การแก้ไขก็คือให้ลูกเข้าเต้ากินนมแม่หลังคลอดให้เร็วที่สุด การเข้าเต้าจะไปช่วยกระตุ้นร่างกายให้ผลิตน้ำนมได้ดีขึ้น คุณแม่ให้ลูกเข้าเต้าดูดนมบ่อย ๆ ในช่วงกลางวันทุก 2-3 ชั่วโมง และช่วงกลางคืนทุก 3-4 ชั่วโมง

 

6. ห้ามรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ

คุณแม่หลังคลอดไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก หรือไม่ผ่านการปรุง เช่น ไข่ดิบ ซูชิ ปลาร้า แหนม ฯลฯ เพราะอาจไม่สะอาดและมีแบคทีเรียที่ก่อให้อาการท้องเสีย อาหารเป็นพิษ

 

7. ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด

การดื่มแอลกอฮอล์ของคุณแม่หลังคลอด เป็นอันตรายต่อพัฒนาการสมองการเรียนรู้ของลูกน้อย เพราะแอลกอฮอล์ส่งผ่านมาทางน้ำนมได้ และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่ด้วย

 

หลังผ่าคลอด ควรอยู่โรงพยาบาลกี่วัน

คุณแม่หลังผ่าคลอดจะเริ่มฟื้นตัวได้ดีขึ้นภายใน 12 ชั่วโมง ในคุณแม่ผ่าคลอดจะต้องอยู่พักฟื้นที่โรงพยาบาลนานประมาณ 4 วัน ช่วงระหว่างที่คุณแม่พักฟื้นที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่พยาบาลจะมาตรวจชีพจร วัดความดันของคุณแม่ทุก 4 ชั่วโมง

 

ทำไมหลังผ่าคลอด คุณแม่จึงควรขยับตัวให้เร็วที่สุด?

คุณแม่หลังผ่าคลอดเมื่อฟื้นตัวได้ดีขึ้น คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่พยายามพลิกตัว และลุกเดินบ่อย ๆ ก็เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไส้กลับมาทำงานปกติ และป้องกันไม่เกิดพังพืดตรงบริเวณแผลผ่าตัด

 

หลังผ่าคลอด คุณแม่จะมีอาการอย่างไร

การคลอดด้วยวิธีการผ่าคลอด คุณแม่จะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้เกิดขึ้นได้หลังฟื้นตัวจากการผ่าตัดคลอด

  • คลื่นไส้อาเจียน: ผลข้างเคียงจากยาบล็อกหลัง เมื่อฟื้นตัวขึ้นมาหลังคลอด คุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้
  • ขยับขาไม่ได้: ยาบล็อกหลังที่ฉีดเข้าที่ช่องไขสันหลัง จะทำให้คุณแม่ชาไม่มีความรู้สึกไปถึงช่วงขาทั้งสองข้าง เมื่อฟื้นตัวขึ้นมาหลังคลอด ผลค้างเขียงจากฤทธิ์ยาบล็อกหลัง คุณแม่จะไม่สามารถขยับขาและลุกขึ้นนั่ง หรือเดินได้ในทันที แต่หลังจาก 2-4 ชั่วโมงหลังคลอดไปแล้ว คุณแม่จะรู้ขยับขาได้เป็นปกติ
  • ปวดแผลผ่าตัดคลอด: ในช่วงแรกหลังคลอดคุณแม่จะมีอาการปวดแผลผ่าตัดมาก เนื่องจากเต้านมถูกกระตุ้นจากการดูดนมของลูกน้อย ทำให้มดลูกหดรัดตัว
  • เจ็บหัวนมสองข้าง: หลังคลอดคุณแม่จะรู้สึกได้ถึงความไวของหัวนมจนรู้สึกเจ็บ และเมื่อให้ลูกน้อยเข้าเต้าดูดนม อาการเจ็บหัวนมจะหายไปภายใน 1 นาที และหลังคลอดประมาณหนึ่งสัปดาห์ อาการเจ็บหัวนมก็จะหายเป็นปกติ

 

วิธีลุกจากเตียง หลังผ่าคลอด

คุณแม่ผ่าคลอดหากจะลุกขึ้นจากเตียงต้องมีท่าในการพยุงตัวให้ลุกขึ้นจากเตียงได้ง่าย เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนเจ็บแผลผ่าตัด

  1. ก่อนที่จะลุกขึ้นจากเตียง ให้คุณแม่พลิกตัวนอนตะแคงตามด้านที่คุณแม่ถนัด
  2. จากนั้นให้ใช้ข้อศอกข้างที่อยู่ด้านล่างยันขึ้นกับพื้นเตียง
  3. ใช้แขนอีกข้างเกาะเหล็กกั้นเตียง
  4. คุณแม่พยุงตัวเองขึ้นมาอยู่ในท่าตะแคง จากนั้นก็ลุกออกจากเตียง

 

อาหารที่คุณแม่หลังผ่าคลอดควรรับประทาน

  1. อาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และเน้นเพิ่มอาหารกลุ่มโปรตีน เพื่อช่วยบำรุงฟื้นฟูให้ร่างกายหลังผ่าคลอดแข็งแรง และกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมสำหรับลูกน้อย
  2. อาหารที่ช่วยกระตุ้นเพิ่มน้ำนม เช่น กะเพรา ขิง กระเทียม ฟักทอง เป็นต้น
  3. อาหารที่ปรุงสุก สดใหม่

 

แผลผ่าคลอดที่ผิดปกติ เป็นอย่างไร

คุณแม่หลังผ่าคลอดอาจเกิดความผิดปกติขึ้นที่แผลผ่าคลอดได้ ซึ่งหากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ ให้ไปโรงพยาบาลทันที

  1. แผลบวม แดง
  2. รู้สึกร้อนบริเวณแผล
  3. มีเลือดซึมออกมา
  4. มีไข้ร่วมด้วย

 

น้ำนมแม่มีประโยชน์ดีต่อพัฒนาการสมองการเรียนรู้ และระบบภูมิคุ้มของลูกน้อย คุณแม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่ให้เร็วที่สุดหลังคลอด นมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้งสารอาหารสำคัญอย่าง สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ ที่เป็นสารอาหารเพื่อพัฒนาให้สมองมีการเรียนรู้ได้เร็ว และมีจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์ เช่น B. lactis ช่วยกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันในลำไส้ให้แข็งแรง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คำแนะนำการปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัดคลอดบุตร, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  2. การดูแลหลังคลอด แบบผ่าตัดทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. คุณแม่มือใหม่ ต้องเตรียมตัวอย่างไรหลังคลอด ?, โรงพยาบาลวิมุต
  4. 6 คำแนะนำหลังคลอดบุตร, โรงพยาบาลเปาโล
  5. คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ผ่าคลอดอยากรู้, โรงพยาบาลศิครินทร์
  6. ให้นมลูกอยู่คุณแม่ห้ามกินอะไรบ้าง, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย
  7. ผ่าคลอดกี่ครั้งถึงไม่อันตราย?...รวมเรื่องน่ารู้ก่อนเตรียมตัวผ่าคลอด, โรงพยาบาลพญาไท
  8. การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดคลอด, โรงพยาบาลพษณุเวช พิจิตร
  9. ผ่าคลอด! บล็อกหลังหรือดมยาสลบดี?, โรงพยาบาลศิครินทร์
  10. โรคหลังคลอด ที่คุณแม่ต้องเตรียมรับมือ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  11. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางนรีเวช, โรงพยาบาลเปาโล
  12. 8 เคล็ดลับดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลสวย หายไว ฟื้นตัวเร็ว, โรงพยาบาลวิมุต

อ้างอิง ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก