วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

03.04.2024

ประโยชน์ของ "นมแม่" มีอยู่มากมาย อุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน และภูมิคุ้มกันสำหรับลูกน้อย คุณแม่ควรให้ลูกน้อยกินนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในระหว่างเส้นทางนมแม่ คุณแม่อาจจะเจอปัญหาเกี่ยวกับเต้านมทั้งเต้านมอุดตัน และเต้านมอักเสบ ทำให้การให้นมแม่สะดุดลง สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่ เรามาดูเคล็ดลับการนวดเปิดท่อน้ำนมมาฝากกันค่ะ

headphones

PLAYING: วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเตรียมเต้านมให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่ก่อนคลอดด้วยการนวดเต้านม เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมช่วยให้น้ำนมไหลสะดวกยิ่งขึ้น
  • คุณแม่ที่มีปัญหานมคัด ท่อนมอุดตัน และนมอักเสบ สามารถใช้วิธีนวดเปิดท่อน้ำนมเพื่อกระตุ้นน้ำนมให้ไหลระบายออกมาได้ด้วยตัวเอง หรือใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

นวดเปิดท่อน้ำนม เริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนไหน

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเตรียมเต้านมให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่ก่อนคลอด และสามารถบีบเอาน้ำนมเหลืองได้เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามคุณแม่สามารถขอคำแนะนำการนวดเต้านมเพื่อเปิดท่อน้ำนมเตรียมไว้หลังคลอด หรือการบีบน้ำนมเหลืองตั้งแต่ก่อนคลอดได้จากคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

 

นวดกระตุ้นน้ำนม ช่วยให้น้ำนมไหลเยอะขึ้นจริงไหม

การนวดกระตุ้นเต้านม เป็นการช่วยกระตุ้นน้ำนมให้กับคุณแม่โดยการกระตุ้นท่อน้ำนมที่อยู่ในต่อมน้ำนม ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมของคุณแม่เพิ่มสูงขึ้นผ่านการนวด ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มนวดเต้านม ควรล้างมือให้สะอาดก่อน แล้วค่อยหาผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบที่เต้านมประมาณ 1-3 นาที จากนั้นค่อย ๆ นวดตามทีละขั้นตอน

 

นวดเปิดท่อน้ำนม มีข้อดีมากมาย

การนวดเปิดท่อน้ำนม คุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนคลอดและหลังคลอดลูก ซึ่งข้อดีของการนวดเปิดท่อน้ำนม ได้แก่

ช่วยลดอาการคัดเต้า

อาการคัดเต้ามักเกิดขึ้นหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้ว อาการนี้มักเกิดขึ้นในช่วงแรกหลังคลอด เพราะนมที่ถูกสร้างขึ้นมาเต็มเต้าไม่สามารถระบายออกได้ทัน ลักษณะของเต้านมคัดตึง คือ เต้านมแข็งทั้งเต้า น้ำนมไหลน้อย

 

ช่วยเคลียร์เศษไขมันที่สะสมตามท่อน้ำนมออก

คุณแม่หลายคนอาจประสบปัญหาน้ำนมค้างจนไม่สามารถระบายออกมาได้ ทำให้เกิดภาวะท่อน้ำนมอุดตัน มีอาการปวดบวมขึ้นมา ซึ่งการนวดเปิดเต้าช่วยสลายไตหรือก้อนแข็ง ๆ ที่อยู่ตามท่อออกได้

 

ช่วยเปิดทางให้น้ำนมไหลได้ง่ายขึ้น

ภาวะท่อน้ำนมอุดตันเกิดจากการที่น้ำนมไม่สามารถระบายออกมาได้ การนวดเปิดท่อน้ำนมจึงช่วยให้น้ำนมไหลออกมาจากท่อได้ง่ายขึ้น

 

ลดโอกาสการเกิดเต้านมอักเสบ หรือเต้านมเป็นฝีได้

เมื่อคุณแม่มีอาการท่อน้ำนมอุดตันอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะถ้าปล่อยไว้อาการจะรุนแรงขึ้นจนพัฒนากลายไปเป็นเต้านมอักเสบ หรืออาจกลายไปเป็นก้อนฝี ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บและปวดมากขึ้น

 

นวดเปิดท่อน้ำนม ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือเปล่า?

การนวดเปิดท่อ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้ ซึ่งลักษณะของเต้านมอักเสบ (mastitis) คือ เมื่อคุณแม่คลำที่เต้านมแล้วจะรู้สึกเป็นก้อน บวม จับแล้วเจ็บมาก บางคนมีอาการไข้และหนาวสั่น ส่วนอาการน้ำนมอุดตัน (blocked duct) คลำแล้วพบก้อนที่เต้านมและกดแล้วรู้สึกเจ็บเช่นเดียวกัน แต่จะต่างกับเต้านมอักเสบตรงมีอาการไข้ ส่วนน้ำนมอุดตันไม่มีไข้ แต่อาจมีจุดขาวที่เรียกว่า white dot ที่หัวนมร่วมด้วย

 

แม่ที่มีปัญหานมคัด ท่อนมอุดตัน และนมอักเสบ สามารถใช้วิธีนวดเปิดท่อน้ำนมเพื่อกระตุ้นน้ำนมให้ไหลระบายออกมา ด้วยการนวดด้วยตัวเองหรือให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับอาการของคุณแม่ก็ได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ต้องการนวดเต้าด้วยตัวเองสามารถขอคำแนะนำจากคุณหมอเพิ่มเติมได้


สำหรับวิธีการนวดเปิดท่อน้ำนมด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่

  • การประคบอุ่นด้วยแผ่นความร้อน
  • การอัลตราซาวด์เปิดท่อน้ำนม
  • การนวดเปิดท่อน้ำนมอย่างนุ่มนวล
  • การนวดเปิดท่อน้ำนมด้วยตนเอง

 

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนมที่คุณแม่สามารถทำตามได้เองง่าย ๆ

 

ขั้นตอนการนวดเปิดท่อน้ำนม คุณแม่ทำตามได้เลย

การนวดเปิดท่อน้ำนมคุณแม่หลังคลอด สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ดังนี้

สำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถลุกนั่งได้สะดวก

  • ให้เริ่มจากล้างมือให้สะอาด
  • ใช้ปลายนิ้วกดนวดที่บริเวณเต้านมเป็นรูปก้นหอย
  • ค่อย ๆ นวดจากฐานเต้านมไปจนถึงลานนม

 

สำหรับคุณแม่ที่สามารถลุกนั่งได้สะดวก ไม่มีการให้น้ำเกลือ 

ให้เริ่มจากล้างมือให้สะอาด แล้วนำผ้าไปชุบน้ำอุ่น

  • ท่าที่ 1: ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบเต้านม โดยใช้มือขวาโอบบริเวณขอบรอยต่อของเต้านมกับสีข้างใต้รักแร้ หากเต้านมใหญ่มากให้ใช้มือขวาโอบเต้านมไว้ จากนั้นให้คุณแม่ใช้มือซ้ายเข้ามาวางต่อบริเวณเหนือนิ้วโป้ง แล้วค่อย ๆ บีบนวดเป็นแนวตรง ทำเป็นจังหวะช้า ๆ 8 ครั้ง
  • ท่าที่ 2: นำผ้าที่ชุบน้ำอุ่นมาประคบเต้านม แล้วใช้มือขวาวางบริเวณข้างขอบเต้านม ใช้อุ้งมือช่วงนิ้วก้อยดันเต้านมขึ้นเป็นแนวเฉียง (ตรงข้ามกับหัวไหล่) ทำแบบนี้เป็นจังหวะช้า ๆ 8 ครั้ง
  • ท่าที่ 3: นำผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบเต้านม ใช้มือขวารองบริเวณใต้ราวนมด้านซ้าย แล้วใช้มือซ้ายรองใต้มือขวา จากนั้นใช้โคนนิ้วก้อยของมือซ้ายดันขึ้นเป็นแนวตรง ทำแบบนี้เป็นจังหวะ 8 ครั้ง

 

วิธีนวดเต้าหลังคลอด ที่คุณแม่ควรฝึกไว้ตั้งแต่ก่อนคลอด

คุณแม่หลังคลอดที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทันที สามารถใช้วิธีนวดเต้าเพื่อกระตุ้นน้ำนมหลังคลอดได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. ท่าผีเสื้อขยับปีก (Butterfly stroke): เริ่มจากวางมือที่เต้านมด้านในนิ้วชิดกัน แล้วค่อย ๆ นวดหมุนวนจากเต้าด้านในออกไปด้านนอก
  2. ท่าหมุนวนปลายนิ้ว (Fingertip circles): ใช้อุ้งมือข้างหนึ่งรองเต้านมโดยที่ส่วนปลายนิ้วทั้ง 4 ของมืออีกข้างวางเหนือลานนม แล้วนวดหมุนไปรอบ ๆ ทำซ้ำแบบนี้ 5 รอบ
  3. ท่าประกายเพชร (Diamond stroke): ใช้ฝ่ามือวางทาบลงบนเต้านมโดยนิ้วโป้งอยู่ด้านบน อีก 4 นิ้วที่เหลืออยู่ด้านล่าง จากนั้นบีบมือทั้ง 2 เข้าหากัน พร้อมกับค่อย ๆ เลื่อนมือลงไปที่ลานนม ทำแบบนี้สลับกันขึ้นลง
  4. ท่ากระตุ้นท่อน้ำนม (Acupressure point l): ยกมือข้างซ้ายวางไปด้านหลังบริเวณท้ายทอย แล้วใช้นิ้วชี้มืออีกข้างวางบริเวณเหนือบริเวณลานนมประมาณหนึ่งข้อนิ้ว จากนั้นกดนิ้วชี้ลงพร้อมกับวนที่ปลายนิ้วในตำแหน่งเดียวกัน
  5. ท่าเปิดท่อน้ำนม (Acupressure point ll): ยกมือข้างขวาวางไปด้านหลังบริเวณท้ายทอย โดยใช้สามนิ้วของมือข้างขวาวางทาบเหนือลานนม แล้วใช้สามนิ้วของมือซ้ายวางทาบต่อจากนิ้วสุดท้ายของมือขวา จึงจะได้ตำแหน่งการวางของนิ้วชี้ข้างซ้ายสำหรับนวด จากนั้นจึงกดและหมุนวนลงในตำแหน่งที่วัดได้คลายและกดลง ทำซ้ำแบบนี้ 5 ครั้ง
  6. ท่าพร้อมบีบน้ำนม (Final steps): ในขั้นตอนสุดท้ายต้องทำให้ครบทั้ง 4 ท่า โดยทุกขั้นตอนต้องไม่สัมผัสถูกกับหัวนมของคุณแม่ เริ่มจาก
    • ใช้อุ้งมือขวาประคองเต้า แล้วใช้นิ้วชี้ข้างซ้ายกดและหมุนวนไปโดยรอบลานนม
    • วางนิ้วมือขวาไว้บนเต้าขวา แล้วกดนิ้วเข้าหากัน พร้อมกับคลึงไปมาอย่างนุ่มนวล
    • ใช้เฉพาะนิ้วชี้วางนาบลงที่ขอบลานนมทั้งสองข้างในแนวตั้ง จากนั้นกดนิ้วทั้งสองเข้าหากันในลักษณะบีบ แล้วคลายสลับกัน
    • วางนิ้วมือขวาเต้าซ้ายแล้วกดนิ้วเข้าหากันในลักษณะบีบแล้วคลายสลับกัน

 

นมแม่มีความสำคัญต่อลูกน้อย เพราะเป็นโภชนาการเดียวที่ลูกน้อยได้รับ คุณแม่หลายคนจึงต้องพยายามให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะให้ได้ ทำให้คุณแม่หลายคนเป็นกังวลเพราะปัญหาของเต้านมที่อาจทำให้การให้นมแม่หยุดชะงักไป ดังนั้น เมื่อคุณแม่รู้สึกว่าน้ำนมเริ่มมีการอุดตัน อย่าชะล่าใจให้ลองใช้ผ้าอุ่นประคบก่อน หากไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นควรเข้ารับการรักษาและขอคำแนะนำจากแพทย์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. Antenatal Expressing, Sutherland Hospital
  2. เทคนิคการนวดเต้านม, โรงพยาบาลวิภาวดี
  3. นวดเปิดท่อน้ำนม และอัลตราซาวด์, โรงพยาบาลนนทเวช
  4. การนวดเต้านมด้วยตนเองเพื่อกระตุ้นน้ำนมในมารดาหลังคลอด, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. เทคนิคการนวดเต้านม, โรงพยาบาลวิภาวดี

อ้างอิง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส อาการแพ้แลคโตสทารก มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการภูมิแพ้ ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่ คุณแม่จะมีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

วิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้อาหารในเด็ก

วิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้อาหารในเด็ก

ทารกแพ้อาหาร ภูมิแพ้อาหารในเด็ก หนึ่งในอาการเด็กแพ้อาหารของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อเด็กแพ้อาหาร

ลูกแพ้อาหารหรือลูกมีอาการเด็กแพ้นมวัว พร้อมวิธีป้องกันอาการแพ้

ลูกแพ้อาหารหรือลูกมีอาการเด็กแพ้นมวัว พร้อมวิธีป้องกันอาการแพ้

อาการลูกแพ้นมวัว เมื่อลูกแพ้นมวัวและมีอาการแพ้แสดงออกมา คุณพ่อคุณแม่ควรเช็กอาการแพ้ของลูกน้อย เพื่อดูว่าลูกแพ้อาหารทั่วไปหรือลูกแพ้นมวัวกันแน่ พร้อมวิธีป้องกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก