15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้

นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ดี มีสมองที่เรียนรู้ไว จดจำแม่นยำ และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้กับทารกแรกเกิดซึ่งยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์นัก คุณแม่ให้นมจึงพยายามดูแลร่างกายและกินอาหารที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดผ่านน้ำนมแม่ เราจึงรวบรวมเรื่องชวนสงสัยที่แม่ให้นมอยากรู้ มาฝากดังนี้ 

headphones
อ่าน 7 นาที

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้


•   น้ำนมสีเหลือง คืออะไร ?


น้ำนมแม่ในช่วงเริ่มแรกจะมีสีเหลือง เรียกว่า น้ำนมเหลือง หรือ คอรอสตรัม (Colostrum) แม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่มีคุณค่าทางอาหารมากมาย และมีภูมิต้านทานสูงมาก น้ำนมเหลืองจะมีอยู่เพียง 2 – 5 วัน หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมสีขาว มีปริมาณมากขึ้น และมีสารอาหารประเภทโปรตีนและไขมัน ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง


    ช่วงคัดนม แล้วน้ำนมใสเป็นน้ำ ต้องปั๊มทิ้งหรือไม่ ?
ช่วงคัดนมมาก ๆ น้ำนมจะใสกว่าช่วงนมเกลี้ยงเต้า เพราะนมในช่วงแรกมีปริมาณโปรตีนสูง ส่วนนมช่วงใกล้เกลี้ยงเต้าจะมีไขมันสูง จึงควรให้ลูกน้อยกินนมตั้งแต่แรกจนเกลี้ยงเต้า ไม่จำเป็นต้องปั๊มนมทิ้ง เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารทั้งโปรตีนและไขมันครบถ้วน


•    ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำอย่างไรดี ?
ลูกไม่เข้าเต้า มาจากหลายสาเหตุ เช่น ลูกยังดูดนมไม่เก่ง ในกรณีนี้แนะนำให้คุณแม่ค่อย ๆ ฝึกให้ลูกดูดนม และหลีกเลี่ยงการใช้ขวดนม แต่ในบางกรณีที่ลูกไม่ยอมเข้าเต้า อาจเพราะกำลังไม่สบาย จึงทำให้ไม่อยากดูดนม แนะนำให้คุณแม่พาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการป่วยและรักษาอย่างถูกต้อง


•    ลูกสำลักนม เพราะน้ำนมพุ่งแรง ทำอย่างไรดี ?
คุณแม่สามารถใช้นิ้วมือสะอาดบีบบริเวณเหนือหัวนมเพื่อลดความไหลแรงของน้ำนม แต่ถ้าใช้วิธีนี้แล้วยังไม่ได้ผล การสำลักน้ำนมของลูก อาจเกิดจากความผิดปกติในการดูดกลืนได้ด้วย ดังนั้น แม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อประเมินความสามารถในการดูดกลืน


•    มีวิธีช่วยเพิ่มน้ำนมอย่างไรบ้าง ?
ในช่วงแรก น้ำนมแม่จะยังไหลน้อย แต่หลังจากนั้นร่างกายจะค่อย ๆ ผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูก การให้นมลูกบ่อยและนานขึ้น โดยให้ลูกดูดนมลึกไปถึงลานนม หมั่นปั๊มนมสม่ำเสมอ ก็ช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลดี นอกจากนี้ คุณแม่ควรกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ 5 หมู่ เสริมด้วยอาหารเพิ่มน้ำนม เช่น หัวปลี ขิง ตะไคร้ ฟักทอง มะรุม ฯลฯ ดื่มน้ำสะอาดวันละ 3 ลิตร และพักผ่อนให้เพียงพอ ก็เป็นวิธีเพิ่มน้ำนมที่มีประสิทธิภาพ

 

15-เรื่องชวนสงสัย-ที่แม่ให้นมอยากรู้


•    คุณแม่ให้นมลูก ควรเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง ?
คุณแม่ให้นมควรเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น เผ็ด เปรี้ยว เค็ม อาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ รวมถึงงดยาบางชนิดที่อาจถูกขับผ่านน้ำนมได้ หากคุณแม่จำเป็นต้องกินยา ควรปรึกษาคุณหมอและเภสัชกรทุกครั้ง


•    แม่ให้นมเพิ่งฉีดวัคซีน ลูกกินนมได้หรือไม่ ?
คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมได้ตามปกติ เพราะวัคซีนคือเชื้อโรคที่อ่อนแรงหรือตายแล้ว ฉีดเพื่อให้แม่มีภูมิคุ้มกันโรคนั้น ๆ เมื่อให้นมลูกก็จะส่งผ่านเป็นภูมิคุ้มกันให้กับลูกด้วย


    แม่ทำสีผมช่วงให้นมลูกได้ไหม ?
โอกาสที่สารเคมีจะส่งผ่านไปทางน้ำนมค่อนข้างน้อย ดังนั้นไม่น่าจะมีปัญหา แต่เพื่อความสบายใจคุณแม่อาจเลือกใช้สีแบบไม่มีแอมโมเนีย และไม่ควรให้ลูกอยู่ในห้องขณะทำสีผม อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังคลอดคุณแม่อาจมีภาวะผมร่วง และสารเคมีจากการทำสีผม อาจก่อให้เกิดอาการแพ้กับตัวคุณแม่เองได้


•    เลือกไซซ์จุกนมอย่างไร ให้เหมาะกับลูก ?
แนะนำให้คุณแม่ใช้จุกนมที่เหมาะกับลูก โดยสังเกตุจากการออกแรงดูดนม หากลูกดูดจนแก้มบุ๋ม แปลว่าจุกนมเล็กเกินไป แต่หากเกิดการสำลักนม แปลว่าจุกนมมีขนาดใหญ่ ทำให้น้ำนมไหลเร็วจนกลืนไม่ทัน อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถเทียบอายุลูกกับไซซ์ของจุกนมซึ่งจะมีการระบุอายุที่เหมาะสมไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ 


•    หัวนมแตก เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร ?
หัวนมแตก เกิดจากการให้ลูกดูดนมไม่ถูกท่า เช่น ลูกอมลานนมไม่มิด ทำให้ต้องออกแรงดูดแรงขึ้น หรือใช้เหงือกงับหัวนม แทนลานนม ส่งผลให้หัวนมแตก การป้องกันไม่ให้หัวนมแตก จึงต้องจัดท่าดูดนมให้ถูกต้อง ให้ลูกดูดนมจนมิดลานนม ร่วมกับการใช้ครีมทาหัวนมที่ผสม ลาโนลิน 100% ซึ่งปลอดภัยกับทารก แต่ถ้าคุณแม่เจ็บหัวนม หรือหัวนมแตก ควรให้ลูกงดดูดนมข้างนั้นไปจนกว่าจะหาย แล้วใช้วิธีปั๊มนมแทน ร่วมกับการทาครีมผสมลาโนลิน 100% จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และบรรเทาความเจ็บปวดของแม่ได้


•    สามารถบรรเทาอาการ คัดเต้านม เต้านมแข็ง ได้อย่างไร ?
อาการคัดเต้านม เกิดจากการมีน้ำนมค้างอยู่ในเต้าเป็นจำนวนมาก แนะนำให้ประคบเต้าแล้วกดไล่น้ำนมที่ค้างอยู่ในขณะลูกกำลังเข้าเต้า และให้ลูกเข้าเต้าทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมง และปั๊มนมออกจนเกลี้ยงเต้า แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น และมีอาการบวมแดง ร่วมกับมีไข้ ควรปรึกษาแพทย์


•    ควรเก็บน้ำนมอย่างไร ให้มีคุณภาพอยู่ตลอดเวลา ?
ควรเก็บน้ำนมในภาชนะสะอาด แบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับ 1 มื้อที่ลูกกิน หากตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส จะอยู่ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 3 – 4 ชั่วโมง การเก็บรักษานมไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาจะเก็บได้ 3 วัน แต่ถ้าเก็บในช่องแช่แข็งในตู้เย็นแบบ 1 ประตู จะเก็บได้นาน 1 สัปดาห์ และการเก็บในช่องแช่แข็งในตู้เย็นแบบ 2 ประตู จะเก็บได้นานราว 3 – 6 เดือน


•    นมที่นำออกจากช่องแช่แข็ง แล้วมาใส่กระเป๋าเก็บความเย็น นำกลับไปแช่ช่องแช่แข็งได้อีกหรือไม่ ?
หากน้ำแข็งยังไม่ละลาย สามารถนำกลับไปแช่ช่องแข็งได้ แต่ถ้าละลายแล้ว ควรนำกลับไปแช่ตู้เย็นในช่องธรรมดา และเก็บได้นาน 24 ชั่วโมงเท่านั้น


•    ลูกกินนมไม่หมด นำกลับไปแช่ตู้เย็นได้หรือไม่ ?
นมที่ลูกกินไม่หมด ไม่แนะนำให้เก็บไว้กินต่อ ดังนั้นหากต้องการเก็บนมไว้ได้นานและคงคุณภาพ ควรเก็บนมที่ปั๊มใส่ไว้ในภาชนะที่แบ่งปริมาณให้พอดีกับหนึ่งมื้อที่ลูกกิน


•    น้ำยาล้างจาน ใช้ล้างอุปกรณ์ปั๊มนมได้หรือไม่ ?
คุณแม่สามารถใช้น้ำยาล้างจานธรรมดาล้างทำความสะอาดเครื่องปั๊มนมได้ แต่ควรล้างน้ำสะอาดซ้ำหลาย ๆ รอบ 
 
เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมคุณภาพดี อุดมด้วยสารอาหารสำคัญสำหรับร่างกาย สมอง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แม่จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีเช่นเดียวกัน รวมถึงการหมั่นให้ลูกเข้าเต้า หรือปั๊มนมสม่ำเสมอ เพื่อยืดระยะเวลาให้ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้ยาวนานเท่าที่ลูกต้องการ 


 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

นมแม่ สุดยอดอาหาร ลูกกินนาน ฉลาด เรียนรู้ไว 

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี 

ข้อควรรู้!!! ในการเลือกนมให้ลูก

อ้างอิง

โดยแพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล 
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช
 

บทความแนะนำ

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วย นมแม่

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาฝาก เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตด้วยน้ำนมแม่อย่างมีคุณภาพ

เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่เมื่อน้ำนมแม่ไม่พอ

เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ น้ำนมไม่พอต้องอ่าน

มีเหตุผลหลายๆอย่างที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมน้อย น้ำนมแม่ไม่พอ ในช่วงให้นมลูกค่ะ เช่น เริ่มให้นมแม่กับลูกน้อยช้าเกินไป, การให้นมลูกน้อยไม่สม่ำเสมอ การเสริมนมอื่นขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร

การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร

น้ำนมแม่มีคุณค่ามหาศาล ประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายที่ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เปี่ยมล้นในน้ำนมแม่ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ (UNICEF) จึงสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด และควรให้นมแม่ต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารตามวัยตั้งแต่เดือนที่ 6 ไปจนถึงลูกอายุ 2 ขวบหรือนานกว่านั้น เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เจ้าตัวน้อยเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว อาการของทารกที่บอกให้รู้

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว อาการของทารกที่บอกให้รู้

อาหารของทารกอย่างนมแม่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีสารอาหารกว่า 200 ชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก ทั้งยังมีสารอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้ การให้ทารกกินอิ่มนอนหลับจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องดูแลมากเป็นพิเศษ

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ”

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ

ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

สฟิงโกไมอีลิน,2’- FL ในนมแม่ช่วยให้ลูกสมองดีจริงมั๊ย?

สฟิงโกไมอีลิน,2’- FL ในนมแม่ 2 สารอาหารมหัศจรรย์ที่แม่ต้องรู้ เพื่อลูกเรียนรู้ไวกว่า

โลกวันนี้หมุนไวกว่าที่เคยมาก การเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ไว เป็นเรื่องสำคัญ นมแม่คือกุญแจไขความลับการเรียนรู้ที่ไวกว่า ไม่มีตกยุค สฟิงโกไมอีลิน, 2’- FL ในนมแม่ 2 สารอาหารมหัศจรรย์ที่แม่ต้องรู้ เพื่อลูกเรียนรู้ไวกว่า

2’-FL คืออะไร ? รู้จัก 2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)

2’-FL คืออะไร ? รู้จัก 2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)

คุณแม่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินหรือผ่านหู ผ่านตากันมาบ้างแล้วนะคะ กับคำว่า 2’-FL บางท่านอาจจะพอรู้แล้วว่าเจ้า 2’-FL คืออะไร แต่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ เพื่อคลายความสงสัยวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ รู้จัก 2’-FL ซึ่งเป็น HMOs ชนิดที่พบมากที่สุดในนมแม่