ให้นมลูกถูกวิธี

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี  ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จตั้งแต่แรก คือการให้ลูกได้ดูดนมแม่จากเต้าอย่างถูกวิธี ค่ะเพราะลูกได้รับประโยชน์จากทั้งน้ำนมแม่ ไปพร้อมๆ กับประโยชน์จากการได้ใกล้ชิดกับแม่

headphones
อ่าน 3 นาที

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี 

ไม่ว่าแม่จะเป็นแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านเต็มเวลา หรือเป็นแม่ทำงาน การดูดนมแม่จากเต้าจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม แม่ไม่เจ็บหัวนม และเปิดโอกาสให้แม่ได้พักผ่อน ไม่เหนื่อย สามารถให้นมแม่ไปได้นาน หากมีปัญหาในการให้ลูกเข้าเต้า ควรรีบปรึกษาคลินิกนมแม่โดยเร็วที่สุด 


3 ดูด สูตรสำเร็จ


หลักการแรกในการเริ่มให้นมได้สำเร็จ คือการดูดเร็ว ดูดบ่อย และดูดถูกวิธี
ดูดเร็ว – ให้ลูกดูดนมตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลักคลอด จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็ว
ดูดบ่อย - ในช่วงแรกเกิด - 1 เดือน ลูกควรได้ดูดนมแม่ทุกครั้งเมื่อต้องการ อย่างน้อย 8 ครั้งหรือมากกว่า ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าลูกหลับนานกว่า 3 ชั่วโมง ควรปลุกลูกให้ดูดนมแม่ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เด็ก จะดูดนมแต่ละมื้อได้มากขึ้น และปรับตัวมากินนมในช่วงกลางวันบ่อยกว่า กลางคืน
ดูดถูกวิธี – การเข้าเต้าอย่างถูกวิธี จะทำให้ลูกดูดนมได้เต็มที่ แม่ไม่เจ็บ 

 

 

ให้นมลูกถูกวิธี


การให้นมอย่างถูกวิธี


•    ล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง
•    หาสถานที่สงบเพื่อที่แม่จะได้มุ่งความสนใจไปที่ลูก เป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างแม่กับลูก
•    อุ้มลูกอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ลูกดูดนมแม่ได้ดี (ท่าอุ้มให้นมมีหลายท่า แม่อาจจะลองท่าที่ถนัดและเหมาะกับตัวเองและลูก)
•    ลำตัวกับศีรษะของลูกอยู่ในแนวเดียวกัน
•    ตัวลูกตะแคงเข้าหาตัวแม่ ลูกอยู่ชิดแนบเนื้อกับตัวแม่
•    ใช้มือแม่หรือหมอนช่วยรองรับตัวของลูกไว้ให้รู้สึกมั่นคง
•    ประคองเต้านม พร้อมใช้หัวนมเขี่ยปากล่างของลูก พอลูกอ้าปากงับให้ตรวจดูว่าอมลึกดีหรือไม่ โดยให้จมูก แก้ม และคางสัมผัสเต้านม ขณะดูดแก้มป่อง ได้ยินเสียงกลืนเป็นจังหวะ
•    ควรให้ลูกดูดนมเต้าแรกจนเกลี้ยงเต้า ถ้าลูกหยุดดูด ควรเคาะเต้านมเพื่อให้ลูกดูดต่อจนเต้านมข้างนั้นนิ่ม จึงเปลี่ยนให้ลูกดูดอีกข้างหนึ่ง


สัญญาณว่าลูกดูดนมแม่ได้ถูกวิธี


•    ลูกอมลานนมด้านล่างได้มากกว่าด้านบน โดยจะเห็นลานนมอยู่เหนือริมฝีปากลูก ส่วนลานนมด้านล่างจะถูกอมเกือบมิด
•    ปากลูกอ้ากว้าง ริมฝีปากบานออกเหมือนปากปลา แนบกับเต้านมแม่
•    คางลูกอยู่ชิดเต้าแม่
•    แม่ไม่เจ็บหัวนมเวลาให้นมลูก

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

วิธีการเก็บนมแม่
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

พัฒนาการทารกในครรภ์

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 0 -1 เดือน

อ้างอิง

campaign.unicef.or.th/breastfeeding/workplace/for-mom/articles/correct-way-to-breastfeeding
อ้างอิงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 

บทความแนะนำ

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วย นมแม่

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาฝาก เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตด้วยน้ำนมแม่อย่างมีคุณภาพ

เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่เมื่อน้ำนมแม่ไม่พอ

เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ น้ำนมไม่พอต้องอ่าน

มีเหตุผลหลายๆอย่างที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมน้อย น้ำนมแม่ไม่พอ ในช่วงให้นมลูกค่ะ เช่น เริ่มให้นมแม่กับลูกน้อยช้าเกินไป, การให้นมลูกน้อยไม่สม่ำเสมอ การเสริมนมอื่นขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร

การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร

น้ำนมแม่มีคุณค่ามหาศาล ประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายที่ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เปี่ยมล้นในน้ำนมแม่ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ (UNICEF) จึงสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด และควรให้นมแม่ต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารตามวัยตั้งแต่เดือนที่ 6 ไปจนถึงลูกอายุ 2 ขวบหรือนานกว่านั้น เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เจ้าตัวน้อยเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว อาการของทารกที่บอกให้รู้

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว อาการของทารกที่บอกให้รู้

อาหารของทารกอย่างนมแม่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีสารอาหารกว่า 200 ชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก ทั้งยังมีสารอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้ การให้ทารกกินอิ่มนอนหลับจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องดูแลมากเป็นพิเศษ

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ”

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ

ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้

นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ดี มีสมองที่เรียนรู้ไว จดจำแม่นยำ และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้กับทารกแรกเกิดซึ่งยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์นัก คุณแม่ให้นมจึงพยายามดูแลร่างกายและกินอาหารที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดผ่านน้ำนมแม่ เราจึงรวบรวมเรื่องชวนสงสัยที่แม่ให้นมอยากรู้ มาฝากดังนี้ 

สฟิงโกไมอีลิน,2’- FL ในนมแม่ช่วยให้ลูกสมองดีจริงมั๊ย?

สฟิงโกไมอีลิน,2’- FL ในนมแม่ 2 สารอาหารมหัศจรรย์ที่แม่ต้องรู้ เพื่อลูกเรียนรู้ไวกว่า

โลกวันนี้หมุนไวกว่าที่เคยมาก การเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ไว เป็นเรื่องสำคัญ นมแม่คือกุญแจไขความลับการเรียนรู้ที่ไวกว่า ไม่มีตกยุค สฟิงโกไมอีลิน, 2’- FL ในนมแม่ 2 สารอาหารมหัศจรรย์ที่แม่ต้องรู้ เพื่อลูกเรียนรู้ไวกว่า