โรคภูมิแพ้ในเด็ก เป็นโรคที่พบได้ในเด็กตั้งแต่อายุไม่กี่เดือนจนถึงเด็กโต มักเกิดขึ้นกับคนที่มีความเสี่ยง ต่อโรคภูมิ แพ้ เช่น คนในครอบครัวมีประวัติเป็นภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งโรคภูมิแพ้ในเด็กมีหลายอาการ เริ่มตั้งแต่อาการแพ้นมในวัยทารก อาการภูมิแพ้บนผิวหนังในช่วงอายุ 3-4 เดือน อาการแพ้อาหารในเด็กเล็กที่อยู่ในช่วงวัย เริ่มทานอาหาร1
หากพ่อแม่พบว่าลูกเป็นภูมิแพ้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและแนวทางการรักษา อย่างถูกต้อง
หากพ่อแม่พบว่าลูกเป็นภูมิแพ้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและแนวทางการรักษา อย่างถูกต้อง
สิ่งแวดล้อม…พันธุกรรม ปัจจัยที่ส่งผลให้ลูกเป็นภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน และมีอัตราการเกิดภูมิแพ้ที่แตกต่างกัน ซึ่งโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยในเด็ก เช่น แพ้อาหาร ผื่นแพ้ผิวหนัง โรคหืด และโรคจมูกอักเสบ โดยมีปัจจัยการเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็ก ดังต่อไปนี้
มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
หรือกรรมพันธุ์ โดยเฉพาะพ่อ หรือ
แม่ โดยอัตราเสี่ยงของการเกิด
ภูมิแพ้จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น2
หรือกรรมพันธุ์ โดยเฉพาะพ่อ หรือ
แม่ โดยอัตราเสี่ยงของการเกิด
ภูมิแพ้จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น2
สิ่งแวดล้อมโดยรอบสามารถก่อให้
เกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้
เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้มีอยู่ทั้งในอากาศ เช่น
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ควันบุหรี่ ควันจากการ
เผาไหม้ ไรฝุ่น ขนสัตว์ และในอาหาร เช่น
นมวัว แป้งสาลี อาหารทะเล ไข่แดง และถั่ว
เหลือง เป็นต้น โดยอาการแพ้มีได้หลายแบบขึ้น
อยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ และลักษณะ
จำเพาะของแต่ละบุคคล3
เกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้
เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้มีอยู่ทั้งในอากาศ เช่น
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ควันบุหรี่ ควันจากการ
เผาไหม้ ไรฝุ่น ขนสัตว์ และในอาหาร เช่น
นมวัว แป้งสาลี อาหารทะเล ไข่แดง และถั่ว
เหลือง เป็นต้น โดยอาการแพ้มีได้หลายแบบขึ้น
อยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ และลักษณะ
จำเพาะของแต่ละบุคคล3
พฤติกรรมการทานอาหาร
ของคุณแม่ อาจส่งผลต่อการเกิดโรค
ภูมิแพ้ได้ เนื่องจากเด็กมีโอกาสเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ตั้งแต่
อยู่ในครรภ์คุณแม่แล้ว โดยมีสาเหตุ
มาจาก
ของคุณแม่ อาจส่งผลต่อการเกิดโรค
ภูมิแพ้ได้ เนื่องจากเด็กมีโอกาสเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ตั้งแต่
อยู่ในครรภ์คุณแม่แล้ว โดยมีสาเหตุ
มาจาก
คุณแม่ทานอาหารกลุ่มเสี่ยงมากกว่าปกติใน
ช่วงตั้งครรภ์
หากคุณแม่ทานนมวัวมากกว่าปกติ อาจทำให้โปรตีนนมวัว
ไปกระตุ้นให้ทารกเกิดอาการแพ้ขึ้นได้ หรือการที่คุณแม่ทาน
อาหาร
จำพวกชีส เค้ก พิซซ่า ซึ่งมีส่วนประกอบของนมวัว
แป้งสาลี และ
ไข่ ซึ่งส่วนผสมประเภทนี้จัดว่าเป็นอาหารกลุ่ม
เสี่ยงที่อาจทำให้ลูก
น้อยเกิดอาการแพ้ อย่างไรก็ตามแนะนำ
ให้คุณแม่ทานอาหารให้
ครบถ้วน หลากหลาย เหมาะสม
และเพียงพอต่อความต้องการใน
แต่ละวัน2
ช่วงตั้งครรภ์
หากคุณแม่ทานนมวัวมากกว่าปกติ อาจทำให้โปรตีนนมวัว
ไปกระตุ้นให้ทารกเกิดอาการแพ้ขึ้นได้ หรือการที่คุณแม่ทาน
อาหาร
จำพวกชีส เค้ก พิซซ่า ซึ่งมีส่วนประกอบของนมวัว
แป้งสาลี และ
ไข่ ซึ่งส่วนผสมประเภทนี้จัดว่าเป็นอาหารกลุ่ม
เสี่ยงที่อาจทำให้ลูก
น้อยเกิดอาการแพ้ อย่างไรก็ตามแนะนำ
ให้คุณแม่ทานอาหารให้
ครบถ้วน หลากหลาย เหมาะสม
และเพียงพอต่อความต้องการใน
แต่ละวัน2
แม่ให้นมทานอาหารกลุ่มเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการแพ้
เมื่อคุณแม่ทานอาหารกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มให้ลูกน้อย
เกิดอาการแพ้ เช่น นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ถั่ว
เหลือง ถั่วลิลง แป้งสาลี และอาหารทะเล ให้สังเกตว่าทารก
มีอาการแพ้หรือไม่ เช่น มีผื่นขึ้น กระสับกระส่าย อาเจียน
และท้องเสีย ควรรีบพาไปพบแพทย์ และควรหยุดอาหาร
ที่เป็นก่อให้อาการแพ้4
เมื่อคุณแม่ทานอาหารกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มให้ลูกน้อย
เกิดอาการแพ้ เช่น นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ถั่ว
เหลือง ถั่วลิลง แป้งสาลี และอาหารทะเล ให้สังเกตว่าทารก
มีอาการแพ้หรือไม่ เช่น มีผื่นขึ้น กระสับกระส่าย อาเจียน
และท้องเสีย ควรรีบพาไปพบแพทย์ และควรหยุดอาหาร
ที่เป็นก่อให้อาการแพ้4
ภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy)
ภูมิแพ้อาหาร เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่ร่างกายแสดงออกมา
หลังจากทานอาหาร โดยเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
จำเพาะเจาะจง และสามารถเกิดซ้ำได้หากได้รับอาหารที่ทำให้
เกิดอาการแพ้ และมักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีแนวโน้มเป็นภูมิแพ้อยู่
ก่อนแล้ว
ดังนั้น การเริ่มให้อาหารทารก หรือเปลี่ยนอาหารให้กับเด็กเล็ก
ต้องค่อยๆ เริ่มให้ลูกลองทานทีละน้อยเป็นอย่าง ๆ และควรเว้น
ระยะเวลา ก่อนจะเปลี่ยนให้ลูกน้อยลองอาหารชนิดอื่น จากนั้น
คอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
หากลูกน้อยมีอาการแพ้อาหาร เช่น เกิดผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง
ตาบวม คัดจมูก อาเจียน ท้องเสีย มีเสียงหวีดในลำคอ หรือ
หายใจไม่ออก เป็นต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาแนวทาง
ในการรักษาและป้องกันอาการโรคภูมิแพ้ในอนาคต1,5
ภูมิแพ้อาหาร เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่ร่างกายแสดงออกมา
หลังจากทานอาหาร โดยเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
จำเพาะเจาะจง และสามารถเกิดซ้ำได้หากได้รับอาหารที่ทำให้
เกิดอาการแพ้ และมักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีแนวโน้มเป็นภูมิแพ้อยู่
ก่อนแล้ว
ดังนั้น การเริ่มให้อาหารทารก หรือเปลี่ยนอาหารให้กับเด็กเล็ก
ต้องค่อยๆ เริ่มให้ลูกลองทานทีละน้อยเป็นอย่าง ๆ และควรเว้น
ระยะเวลา ก่อนจะเปลี่ยนให้ลูกน้อยลองอาหารชนิดอื่น จากนั้น
คอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
หากลูกน้อยมีอาการแพ้อาหาร เช่น เกิดผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง
ตาบวม คัดจมูก อาเจียน ท้องเสีย มีเสียงหวีดในลำคอ หรือ
หายใจไม่ออก เป็นต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาแนวทาง
ในการรักษาและป้องกันอาการโรคภูมิแพ้ในอนาคต1,5
แพ้โปรตีนนมวัว
(Cow milk protein allergy: CMPA) เป็นอาการไม่พึง
ประสงค์ที่เกิดขึ้นหลังทานนมวัว เกิดจากการตอบสนองของ
ระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ในโปรตีนนมวัว พบมากในทารก
เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของทารกไม่สมบูรณ์ ทำให้ย่อย
โปรตีนได้ไม่ดี อีกทั้งเยื่อบุลำไส้ยังยอมให้โมเลกุลของโปรตีนซึม
เข้าไปยังกระแสเลือด จนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาเพื่อ
ตอบสนองต่อโปรตีนในนมวัวที่มากเกินไป ทำให้เกิดอาการแพ้
โดยอาการแพ้โปรตีนนมวัวที่มักพบ ได้แก่ ท้องเสีย ปวดท้อง
ถ่ายเหลว อาเจียน ไม่ยอมกินนม คัดจมูก หายใจไม่สะดวก มีผื่น
ขึ้นตามตัวหลังจากทานนม และมักจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็กในช่วง
ขวบปีแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการให้เห็นหลังจากคุณแม่หลัง
คลอดลูกน้อยได้ประมาณ 2-3 เดือน เมื่อเด็กได้รับนมวัวเข้าไป6-7
(Cow milk protein allergy: CMPA) เป็นอาการไม่พึง
ประสงค์ที่เกิดขึ้นหลังทานนมวัว เกิดจากการตอบสนองของ
ระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ในโปรตีนนมวัว พบมากในทารก
เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของทารกไม่สมบูรณ์ ทำให้ย่อย
โปรตีนได้ไม่ดี อีกทั้งเยื่อบุลำไส้ยังยอมให้โมเลกุลของโปรตีนซึม
เข้าไปยังกระแสเลือด จนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาเพื่อ
ตอบสนองต่อโปรตีนในนมวัวที่มากเกินไป ทำให้เกิดอาการแพ้
โดยอาการแพ้โปรตีนนมวัวที่มักพบ ได้แก่ ท้องเสีย ปวดท้อง
ถ่ายเหลว อาเจียน ไม่ยอมกินนม คัดจมูก หายใจไม่สะดวก มีผื่น
ขึ้นตามตัวหลังจากทานนม และมักจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็กในช่วง
ขวบปีแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการให้เห็นหลังจากคุณแม่หลัง
คลอดลูกน้อยได้ประมาณ 2-3 เดือน เมื่อเด็กได้รับนมวัวเข้าไป6-7
ภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic eczema dermatitis)
เป็นโรคภูมิแพ้อีกชนิดที่พบมากในเด็กเล็ก มีลักษณะอาการ
ผื่นแดงคันขึ้นบนแก้ม ลำคอ แขน ขา เหมือนกันทั้ง 2 ข้างของ
ร่างกาย มักเริ่มแสดงอาการเมื่อเด็กอายุ 3-4 เดือน และอาจ
อยู่ไปจนถึงอายุ 4-5 ขวบ
โดยผื่นจะมีสีแดงจัดและอาจมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มเวลาที่ผื่นลุกลาม
รุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งผื่นในลักษณะนี้ในบางคนจะมีอาการกำเริบ
เวลาอากาศแห้ง บางรายอาจมีอาการแพ้ไรฝุ่น อย่างไรก็ตาม
ความรุนแรงของผื่นจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อโตขึ้น และมักพบใน
ครอบครัวหรือบุคคลที่มีประวัติภูมิแพ้1
เป็นโรคภูมิแพ้อีกชนิดที่พบมากในเด็กเล็ก มีลักษณะอาการ
ผื่นแดงคันขึ้นบนแก้ม ลำคอ แขน ขา เหมือนกันทั้ง 2 ข้างของ
ร่างกาย มักเริ่มแสดงอาการเมื่อเด็กอายุ 3-4 เดือน และอาจ
อยู่ไปจนถึงอายุ 4-5 ขวบ
โดยผื่นจะมีสีแดงจัดและอาจมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มเวลาที่ผื่นลุกลาม
รุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งผื่นในลักษณะนี้ในบางคนจะมีอาการกำเริบ
เวลาอากาศแห้ง บางรายอาจมีอาการแพ้ไรฝุ่น อย่างไรก็ตาม
ความรุนแรงของผื่นจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อโตขึ้น และมักพบใน
ครอบครัวหรือบุคคลที่มีประวัติภูมิแพ้1
ภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis)
จะปรากฏชัดขึ้นเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 2-5 ขวบ มีลักษณะ
อาการคล้ายหวัด คันจมูก จามหลายครั้งในตอนเช้าเกือบทุก
เดือน บางคนอาจมีไซนัสอักเสบเรื้อรังและมีอาการคันตาร่วม
ด้วย นอกจากนี้ อาจมีอาการหายใจลำบาก เสียงดัง นอนหลับ
ไม่สนิท และอาจมีอาการหยุดหายใจหากเกิดอาการแพ้นาน ๆ
รวมถึงผลกระทบต่อหัวใจและปอดในระยะยาว1
จะปรากฏชัดขึ้นเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 2-5 ขวบ มีลักษณะ
อาการคล้ายหวัด คันจมูก จามหลายครั้งในตอนเช้าเกือบทุก
เดือน บางคนอาจมีไซนัสอักเสบเรื้อรังและมีอาการคันตาร่วม
ด้วย นอกจากนี้ อาจมีอาการหายใจลำบาก เสียงดัง นอนหลับ
ไม่สนิท และอาจมีอาการหยุดหายใจหากเกิดอาการแพ้นาน ๆ
รวมถึงผลกระทบต่อหัวใจและปอดในระยะยาว1
โรคหอบหืด (Asthma)
เป็นโรคภูมิแพ้อีกกลุ่มที่เกิดขึ้นภายหลังจากการรับสารก่อ
ภูมิแพ้เข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคืองเข้าไปภายในหลอดลม
ในเด็กบางคนอาจมีอาการมากขึ้นหลังจากเป็นหวัด ทำให้เกิด
อาการหอบ เหนื่อย หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด มีรอยบุ๋ม
ตรงคอหรือชายโครงเวลาที่หายใจ1
เป็นโรคภูมิแพ้อีกกลุ่มที่เกิดขึ้นภายหลังจากการรับสารก่อ
ภูมิแพ้เข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคืองเข้าไปภายในหลอดลม
ในเด็กบางคนอาจมีอาการมากขึ้นหลังจากเป็นหวัด ทำให้เกิด
อาการหอบ เหนื่อย หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด มีรอยบุ๋ม
ตรงคอหรือชายโครงเวลาที่หายใจ1
การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทั้งในระหว่าง
ตั้งครรภ์และหลังคลอด ช่วยให้แม่มีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ
หลังการคลอดบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่สุดสำหรับ
ทารก เนื่องจาก นมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด และช่วย
ปกป้องลูกน้อยจากภาวะเจ็บป่วยต่างๆ
หลังจาก 6 เดือน สามารถเริ่มให้อาหารเสริมตามวัยที่มีคุณค่า
โภชนาการเพียงพอร่วมกับนมแม่จนครบ 2 ปีหรือนานกว่านั้น
ตั้งครรภ์และหลังคลอด ช่วยให้แม่มีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ
หลังการคลอดบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่สุดสำหรับ
ทารก เนื่องจาก นมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด และช่วย
ปกป้องลูกน้อยจากภาวะเจ็บป่วยต่างๆ
หลังจาก 6 เดือน สามารถเริ่มให้อาหารเสริมตามวัยที่มีคุณค่า
โภชนาการเพียงพอร่วมกับนมแม่จนครบ 2 ปีหรือนานกว่านั้น
หากลูกน้อยมีอาการภูมิแพ้
คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัย
พร้อมทั้งแนวทางการรักษา
ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัว ดังนี้
คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัย
พร้อมทั้งแนวทางการรักษา
ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัว ดังนี้
สำหรับคุณแม่ที่ต้องให้นมลูก ควรให้
ลูกดื่มนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย
6 เดือน ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถ
ให้นมลูกได้ ควรปรึกษาแพทย์
ลูกดื่มนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย
6 เดือน ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถ
ให้นมลูกได้ ควรปรึกษาแพทย์
เมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่สามารถ
ให้ลูกน้อยเริ่มทานอาหารเสริมได้
แต่ควรเริ่มทีละ 1 มื้อ ในปริมาณ
ที่น้อย ๆ และเริ่มทีละชนิดก่อนเพื่อ
ดูว่าลูกมีอาการแพ้หรือไม่
ให้ลูกน้อยเริ่มทานอาหารเสริมได้
แต่ควรเริ่มทีละ 1 มื้อ ในปริมาณ
ที่น้อย ๆ และเริ่มทีละชนิดก่อนเพื่อ
ดูว่าลูกมีอาการแพ้หรือไม่
ในกรณีที่ต้องการเริ่มให้ลูกทาน
อาหารกลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด
การแพ้ได้บ่อย เช่น ถั่วเหลือง แป้ง
สาลี ควรเริ่มหลังจากอายุ 6 เดือน3
อาหารกลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด
การแพ้ได้บ่อย เช่น ถั่วเหลือง แป้ง
สาลี ควรเริ่มหลังจากอายุ 6 เดือน3
หากลูกมีอาการแพ้นมวัว ควร
หยุดอาหารหรือผลิตภัณฑ์จาก
นมวัวทันที และปรึกษาแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้
หยุดอาหารหรือผลิตภัณฑ์จาก
นมวัวทันที และปรึกษาแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้
พยายามดูแลทำความสะอาดภายใน
ตัวบ้านโดยเฉพาะห้องนอนเป็น
ประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
ภายในบ้านจากไรฝุ่น ขนสัตว์เลี้ยง
เชื้อรา หรือซากแมลงสาบ
ตัวบ้านโดยเฉพาะห้องนอนเป็น
ประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
ภายในบ้านจากไรฝุ่น ขนสัตว์เลี้ยง
เชื้อรา หรือซากแมลงสาบ
ระวังอย่าให้ลูกน้อยได้รับสารก่อ
ภูมิแพ้จากควันบุหรี่ ควันจากท่อไอ
เสีย ควันไฟ หรือฝุ่นละอองจากแหล่ง
ต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้
ระบบทางเดินหายใจได้
ภูมิแพ้จากควันบุหรี่ ควันจากท่อไอ
เสีย ควันไฟ หรือฝุ่นละอองจากแหล่ง
ต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้
ระบบทางเดินหายใจได้
ในกรณีที่คุณแม่ต้องการทาครีม
บำรุงผิวให้กับลูกสามารถทำได้ แต่
ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสารเพิ่มความ
ชุ่มชื่นให้แก่ผิวหนังที่ปราศจากส่วน
ผสมของน้ำหอม รวมถึงผลิตภัณฑ์
จำพวก นม ข้าว แป้งสาลี เป็นต้น
เพราะอาจทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ได้
บำรุงผิวให้กับลูกสามารถทำได้ แต่
ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสารเพิ่มความ
ชุ่มชื่นให้แก่ผิวหนังที่ปราศจากส่วน
ผสมของน้ำหอม รวมถึงผลิตภัณฑ์
จำพวก นม ข้าว แป้งสาลี เป็นต้น
เพราะอาจทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ได้
นมแม่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย
เพราะมีเคซีนโปรตีน เวย์โปรตีน รวมถึงอิมมูโนโกลบูลิน (IgG)
ไลโซไซม์ แลคโตเฟอร์ริน รวมถึงสารอื่น ๆ ที่ช่วยสร้างระบบ
ภูมิคุ้มกัน และต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้ โดยใน
ระยะหัวน้ำนม (Colostrums) จะพบเวย์โปรตีนในปริมาณที่สูง
มาก คิดเป็นสัดส่วนเวย์โปรตีน:เคซีนโปรตีน เท่ากับ 90:10 หลัง
จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง พอถึงระยะระยะน้ำนมแม่ (Mature
Milk) สัดส่วนเวย์โปรตีน:เคซีนโปรตีน จะมีสัดส่วน เท่ากับ
60:409-10
เพราะมีเคซีนโปรตีน เวย์โปรตีน รวมถึงอิมมูโนโกลบูลิน (IgG)
ไลโซไซม์ แลคโตเฟอร์ริน รวมถึงสารอื่น ๆ ที่ช่วยสร้างระบบ
ภูมิคุ้มกัน และต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้ โดยใน
ระยะหัวน้ำนม (Colostrums) จะพบเวย์โปรตีนในปริมาณที่สูง
มาก คิดเป็นสัดส่วนเวย์โปรตีน:เคซีนโปรตีน เท่ากับ 90:10 หลัง
จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง พอถึงระยะระยะน้ำนมแม่ (Mature
Milk) สัดส่วนเวย์โปรตีน:เคซีนโปรตีน จะมีสัดส่วน เท่ากับ
60:409-10
เคซีนโปรตีนเมื่อถูกกรดในกระเพาะอาหารจะจับตัวเป็นก้อน ใน
ขณะที่เวย์โปรตีนสามารถละลายได้ในน้ำ ทำให้ถูกดูดซึมและ
นำไปใช้ได้ง่าย ทั้งยังมีไลโซไซม์ แลคโตเฟอร์ริน และ IgG รวมถึง
จุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม และแลค
โตบาซิลลัสในปริมาณมากจึงช่วยลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้
และลดอาการแพ้ลงได้11
ขณะที่เวย์โปรตีนสามารถละลายได้ในน้ำ ทำให้ถูกดูดซึมและ
นำไปใช้ได้ง่าย ทั้งยังมีไลโซไซม์ แลคโตเฟอร์ริน และ IgG รวมถึง
จุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม และแลค
โตบาซิลลัสในปริมาณมากจึงช่วยลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้
และลดอาการแพ้ลงได้11
ในขณะที่ครอบครัวที่มีประวัติภูมิแพ้ เด็กควร
ทานนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างต่อเนื่องไป
จนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่า ในกรณีที่คุณ
แม่ไม่สามารถให้นมลูกได้อาจต้องขอ
คำปรึกษาจากแพทย์สำหรับแนวทางการ
รักษาโรคภูมิแพ้ในเด็กควบคู่ไปกับการส่ง
เสริมสุขภาพของลูกน้อยให้เหมาะสมกับวัย
ทานนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างต่อเนื่องไป
จนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่า ในกรณีที่คุณ
แม่ไม่สามารถให้นมลูกได้อาจต้องขอ
คำปรึกษาจากแพทย์สำหรับแนวทางการ
รักษาโรคภูมิแพ้ในเด็กควบคู่ไปกับการส่ง
เสริมสุขภาพของลูกน้อยให้เหมาะสมกับวัย
ทารก จะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพหรือที่เรียกว่าโพรไบโอติก
(Probiotic) ครั้งแรกผ่านทางช่องคลอดของคุณแม่ หลังจาก
นั้นจะได้รับผ่านน้ำนมแม่ และผ่านทางอาหารเมื่อโตขึ้น ในช่วง
ที่ทารกกินนมแม่จะพบโพรไบโอติกจำนวนมาก ส่วนใหญ่อยู่ใน
กลุ่มแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และ บิฟิโดแบคทีเรียม
(Bifidobacterium) ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการตอบสนองของ
ระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ ลดการอักเสบ ลดผื่นภูมิแพ้
ทางผิวหนัง ภูมิแพ้อากาศ และลดความเสี่ยงต่อการ
แพ้อาหารลงได้
นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีบิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส (B. lactics)
ที่ช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจงและยังลด
โอกาสการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และอาการผื่นแพ้ให้
ดีขึ้นได้12-13
(Probiotic) ครั้งแรกผ่านทางช่องคลอดของคุณแม่ หลังจาก
นั้นจะได้รับผ่านน้ำนมแม่ และผ่านทางอาหารเมื่อโตขึ้น ในช่วง
ที่ทารกกินนมแม่จะพบโพรไบโอติกจำนวนมาก ส่วนใหญ่อยู่ใน
กลุ่มแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และ บิฟิโดแบคทีเรียม
(Bifidobacterium) ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการตอบสนองของ
ระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ ลดการอักเสบ ลดผื่นภูมิแพ้
ทางผิวหนัง ภูมิแพ้อากาศ และลดความเสี่ยงต่อการ
แพ้อาหารลงได้
นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีบิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส (B. lactics)
ที่ช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจงและยังลด
โอกาสการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และอาการผื่นแพ้ให้
ดีขึ้นได้12-13
ลูกเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่
คุณแม่สังเกตได้จากการแสดง
อาการแพ้ต่าง ๆ เช่น ผื่นแดง
น้ำมูกไหล จาม ไอเรื้อรัง หรือ
มีอาการท้องเสีย อาเจียน
เป็นต้น หลังจากทานอาหารกลุ่ม
เสี่ยงหรือนม หรือมีการสัมผัส
สารก่อภูมิแพ้อย่างฝุ่น หรือขน
สัตว์อยู่บ่อย ๆ
คุณแม่สังเกตได้จากการแสดง
อาการแพ้ต่าง ๆ เช่น ผื่นแดง
น้ำมูกไหล จาม ไอเรื้อรัง หรือ
มีอาการท้องเสีย อาเจียน
เป็นต้น หลังจากทานอาหารกลุ่ม
เสี่ยงหรือนม หรือมีการสัมผัส
สารก่อภูมิแพ้อย่างฝุ่น หรือขน
สัตว์อยู่บ่อย ๆ
หากลูกมีอาการแพ้ คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านภูมิแพ้ เพื่อขอรับคำแนะนำในการรักษาอาการแพ้ให้ดีขึ้น
ควบคู่กับการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการแพ้
ด้านภูมิแพ้ เพื่อขอรับคำแนะนำในการรักษาอาการแพ้ให้ดีขึ้น
ควบคู่กับการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการแพ้
เอกสารอ้างอิง
- วรวิชญ์ เหลืองเวชการ. จะสังเกตได้อย่างไรว่า ลูกเป็นภูมิแพ้. โรงพยาบาลเจ้าพระยา
- จรุงจิตร์ งามไพบูลย์. โรคแพ้นมวัว (Cow Milk Protein Allergy). ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่ง
ประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย - โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- กุลพรภัสร์ เบญญาจิราพัชร์, ภาวะแพ้อาหารคืออะไร?. โรงพยาบาลสินแพทย์
- ศวิตา จิวจินดา. อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่ายโรคแพ้โปรตีนนมวัว. ภาควิชาอาหารเคมี คณะ
เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: กรุงเทพฯ - วราลี ผดุงพรรค. รู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว. โรงพยาบาลนครธน
- พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์. โรคภูมิแพ้ในเด็ก. ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children’s Health Center) โรง
พยาบาลนวเวช - มณีรัตน์ ภูวนันท์. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. โภชนาการลูกรัก สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
- ผศ.พญ.มณีรัตน์ ภูวนันท์. สารอาหารในนมแม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - F.Lara-Villoslada, M.OlivaresJ.Xaus. The Balance Between Caseins and Whey Proteins in
Cow's Milk Determines its Allergenicity. Journal of Dairy Science. 2005; 88(5):1654-1660 - จินตกร คูวัฒนสุชาติ. โพรไบโอติกส์คืออะไร?. วารสารทันตจุฬาฯ 2550;30
- อรวรรณ ละอองคำ โพรไบโอติก: จุลินทรีย์คัดสรรเพื่อสุขภาพ 2562;49(4):29-38
อ้างอิง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564