คนท้องมือชา เกิดจากอะไร อันตรายกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไหม
คนท้องมือชา เกิดจากอะไร อาการของคนท้องมือชาอาจมีอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรืออาจเป็นในช่วงหลังคลอดเพราะต้องเลี้ยงดูลูกน้อย หรือมีกิจกรรมที่ต้องทำมากมาย และอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรศึกษาอาการคนท้องมือชาว่าอันตรายแค่ไหน และมีวิธีดูแลอาการมือชาอย่างไร
สรุป
- อาการคนท้องมือชาเกิดได้จากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงสูงในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ หรือจากสาเหตุขาดวิตามินบี 1 หรือท่าทางไม่เหมาะสม
- คนท้องมือชาส่วนมากมักมีอาการปวดร่วมด้วย แต่เป็นอาการปวดที่ไม่สามารถระบุจุดที่เจ็บปวดได้
- คนท้องที่มีอาการมือชา สามารถรักษาตัวเองในเบื้องต้นก่อนได้ เช่น ปรับเปลี่ยนท่าทางในชีวิตประจำวัน, หลีกเลี่ยงยกของหนัก และแช่มือในน้ำอุ่น เป็นต้น
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- คนท้องมือชา เกิดจากอะไรได้บ้าง
- คนท้องมือชาอาการเป็นยังไง
- คนท้อง มีอาการมือชาในไตรมาสไหน
- คนท้องมือชาแบบไหนเสี่ยงอันตราย
- คนท้องมือชา คุณแม่ดูแลตัวเองยังไงดี
- คนท้องมือชา จำเป็นต้องกินวิตามินเสริมไหม
คนท้องมือชา เกิดจากอะไรได้บ้าง
คนท้องมือชา เกิดจากอะไร ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจมีอาการคนท้องมือชาได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงและอาจ
1. การบวมน้ำ
เกิดได้จากในช่วงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ร่างกายจะกักเก็บน้ำไว้ตามส่วนต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณมือหรือข้อมือ จนทำให้เยื่อหุ้มเอ็นมีลักษณะบวมน้ำ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการมือชาเพราะเกิดการเบียดกับเส้นประสาทบริเวณดังกล่าว
2. ท่าทางไม่เหมาะสม
อาการมือชาระหว่างตั้งครรภ์สามารถพบได้ รวมถึงอาการเจ็บปวดร่วมกับอาการมือชา ซึ่งคุณแม่ท้องสามารถป้องกันอาการดังกล่าวด้วยการลดกิจกรรมที่ต้องงอข้อมือ เช่น การเล่นโทรศัพท์ ใช้คอมพิวเตอร์ เขียนหนังสือ หรือขับรถเป็นเวลานานมากจนเกินไป
3. ขาดวิตามินบี 1
จนทำให้เกิดอาการเหน็บชา หอบเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว จนถึงตับโต
คนท้องมือชาอาการเป็นยังไง
คนท้องมือชาส่วนมากมักมีอาการปวดร่วมด้วย แต่เป็นอาการปวดที่ไม่สามารถระบุจุดที่เจ็บปวดได้ ซึ่งอาการปวดแบบนี้อาจจะบอกได้ว่าเป็นการปวดจากเส้นประสาท อาการช่วงแรกมักเป็นในเวลากลางคืนหรือช่วงเช้า จากนั้นหากยังมีอาการอยู่อาจเป็นในช่วงกลางวันร่วมด้วย หรือเป็นทั้งวัน
- อาการชา รู้สึกเหมือนเข็มทิ่มที่บริเวณมือ ปวด หรือแสบ มีอาการปวดตื้อ ๆ ที่มือ คล้ายไฟดูด
คนท้อง มีอาการมือชาในไตรมาสไหน
อาการคนท้องมือชา อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย สาเหตุจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ เนื่องจากเอ็นและเนื้อเยื่อข้อมือบวมไปเบียดเส้นประสาทเข้ากับพังผืดที่ใกล้กัน ทำให้เกิดอาการมือชาคล้ายเป็นเหน็บ ซึ่งทำให้ไม่สามารถรักษาอาการมือชาได้โดยตรง แต่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจลดกิจกรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดอาการมือชา หรือทำให้มีอาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้นได้
คนท้องมือชาแบบไหนเสี่ยงอันตราย
หากคุณแม่ที่มีอาการคนท้องมือชา และพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่ออาการชาหรือเจ็บปวดแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือเป็นถี่มากขึ้น รวมถึงมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
- อาการชาและปวดไม่เบาลงเลย หรือมีอาการทั้งวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาที่ต้นเหตุ และป้องกันอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
- หากมีอาการมือชาจากการบวมน้ำ และมีอาการร่วม คือ ปวดศีรษะบริเวณขมับ หน้าผาก และท้ายทอย รวมถึงมีอาการตาพร่า และรู้สึกจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ ควรรีบพบแพทย์โดยทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าว เนื่องจากอาจป็นสัญญาณอันตรายของภาวะครรภ์เป็นพิษ
คนท้องมือชา คุณแม่ดูแลตัวเองยังไงดี
คนท้องที่มีอาการมือชา สามารถดูแล ตัวเองในเบื้องต้นก่อนได้ เนื่องจากเป็นอาการของคนท้องที่อาจพบได้ด้วยการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนท่าทางในชีวิตประจำวัน
ลดการใช้งานมือข้างที่ชานั้นก่อน จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น แล้วค่อย ๆ เริ่มใช้มือข้างนั้นต่อ
2. หลีกเลี่ยงยกของหนัก/ทำงานหนัก
การใช้แรงมือมาก หรือ การงอข้อมือระยะเวลานาน ๆ เช่น การเขียนหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ การขับรถติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือ ถือของหนัก อาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
3. แช่มือในน้ำอุ่น หรือประคบร้อน
ทำวันละ 10-15 นาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี มือที่ชาผ่อนคลาย พยายามลดการใช้งานมือ โดยเฉพาะข้างที่เป็นปัญหา
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
เพื่อให้ร่างกายสดชื่น ฟื้นตัว มีเรี่ยวแรงในการทำกิจกรรม ต่าง ๆ ในแต่ละวันได้
5. ออกกำลังกายเบา บริหารข้อมือ
ให้ข้อมือได้มีการขยับหรือเคลื่อนไหว จากการงอข้อมือเป็นเวลานาน ๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เขียนหนังสือ ขับรถ
6. กินอาหารที่มีประโยชน์
เช่น ถั่ว ธัญพืช ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ซึ่งเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา และทานอาหารสำหรับคนท้อง ให้ครบ 5 หมู่
7. ใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือ
เพื่อช่วยให้ข้อมือที่ชานั้นได้พักเต็มที่ โดยคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และสามารถหาซื้ออุปกรณ์พยุงข้อมือตามร้านค้าที่น่าเชื่อถือ
8. ปรึกษาแพทย์ หากมีอาการรุนแรง
เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยกับคุณแม่
คนท้องมือชา จำเป็นต้องกินวิตามินเสริมไหม
หากคนท้องมีอาการคนท้องมือชา เนื่องจากระหว่างที่ตั้งครรภ์คุณแม่ไม่ควรรับประทานยาหรือวิตามินด้วยตนเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสมในกรณีที่มีอาการรุนแรงจนมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่โดยปกติหากอาการไม่รุนแรงมากนัก คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นโดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้ข้อมือเป็นเวลานาน หรือต้องใช้แรงที่มือมากเกินไป
อาการคนท้องมือชา เป็นอาการที่พบได้ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจนทำให้เนื้อเยื่อบวมจนทำให้เกิดพังผืดทับเส้นประสาทที่มือ และมีอาการชาจนถึงอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งคุณแม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเจ็บปวดบริเวณข้อมือ ลดการใช้มือลง แต่หากอาการมือชายังไม่ดีขึ้น รวมถึงมีอาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อวินิจฉัยแนวทางการรักษาที่ปลอดภัยกับคุณแม่ต่อไป
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง
- คุณแม่ปวดท้องข้างขวาจี๊ด ๆ หน่วง ๆ บอกอะไรได้บ้าง
- ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง
- ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว
- ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม
- อาการตกเลือดหลังคลอดเป็นยังไง ตกเลือดหลังคลอดอันตรายไหม
- มดลูกหย่อน อันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมดลูกต่ำ
- คนท้องเท้าบวม เพราะอะไร ปกติไหม พร้อมวิธีลดบวม
- คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี
- อาการเจ็บท้องคลอด สัญญาณอาการใกล้คลอดที่สังเกตได้
อ้างอิง:
- ชวนคุณแม่ลูกอ่อนมาอ่าน … ทำไมถึงชอบปวดข้อมือตอนมีน้อง, โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ
- มือบวม เท้าบวมขณะตั้งครรภ์ เกิดจากเหตุใด?, โรงพยาบาลพญาไท
- รู้จักโรคเหน็บชา – เป็นเหน็บชาบ่อย ๆ อย่าคิดว่าไม่เป็นอะไร?, โรงพยาบาลศิครินทร์
- 8 สัญญาณอันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรรู้
- เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน, โรงพยาบาล Med Park
อ้างอิง ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง