เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอต้องอ่าน
มีเหตุผลหลายๆอย่างที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมน้อย น้ำนมแม่ไม่พอ ในช่วงให้นมลูกค่ะ เช่น เริ่มให้นมแม่กับลูกน้อยช้าเกินไป, การให้นมลูกน้อยไม่สม่ำเสมอ การเสริมนมอื่นขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ต้องลอง! เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่เมื่อน้ำนมแม่ไม่พอ
น้ำนมแม่น้อยไม่พอให้ลูก มักเกิดจากเริ่มให้นมแม่กับลูกน้อยช้าเกินไป, การให้นมลูกน้อยไม่สม่ำเสมอ การเสริมนมอื่นขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกดูดนมได้ไม่ดีและการใช้ยาบางชนิด บางครั้งการที่คุณเคยผ่าตัดเต้านมอาจมีผลกระทบต่อการผลิตน้ำนมได้ค่ะ ปัจจัยอื่นๆ เช่นคลอดก่อนกำหนด, นํ้าหนักตัวมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ และการควบคุมปริมาณอินซูลินจากโรคเบาหวานก็ ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำนมได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าคุณแม่หลายคนจะกังวลว่าน้ำนมแม่จะน้อย แต่เคสที่คุณแม่มีปริมาณน้ำนมน้อยนั้นหาได้ยากค่ะ เพราะ จริงๆแล้ว คุณแม่ส่วนใหญ่มีน้ำนมในปริมาณมากกว่าที่ลูกน้อยดื่มกินถึงสามเท่า

วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนม
- ให้นมแม่โดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การเริ่มให้นมแม่ช้าจะทำให้เต้านมผลิตน้ำนมได้น้อยลงค่ะ ให้คุณแม่อุ้มลูกน้อยสัมผัสในอ้อมอกหลังคลอดทันที ลูกจะดูดนมแม่จากเต้าภายในชั่วโมงแรกหลังคลอดค่ะ
- ให้ลูกดูดนมแม่จากเต้าบ่อยๆ ในช่วงสองสามสัปดาห์แรกควรให้นมลูกอย่างน้อย 8-12 ครั้งต่อวัน ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง การให้นมแม่ไม่บ่อยเท่าที่ควรจะทำให้นมแม่น้อยลงค่ะ
- หมั่นตรวจสอบการดูดนมของลูกน้อย ให้ดูให้แน่ใจว่าลูกน้อยงับดูดหัวนมในตำแหน่งที่เหมาะสม และสังเกตว่าลูกน้อยสำลักนมหรือไม่
- คุณแม่ต้องตื่นตัวกับปัญหาการให้นมแม่ค่ะ จริงๆถือเป็นเรื่องปกติที่ลูกน้อยดูดนมข้าง เดียวเป็นครั้งคราว แต่ถ้าเกิดขึ้นเป็นประจําน้ำนมของคุณแม่ก็จะผลิตลดลง ดังนั้นให้ ลูกดูดนมทั้ง 2 ข้างนะคะ คุณแม่อาจจำเป็นต้องปั๊มเต้านมอีกข้างเพื่อลดแรงกดดัน และป้องกันปริมาณน้ำนมของคุณแม่ลดลง จนกว่าลูกน้อยจะเริ่มดูดนมมากขึ้นในแต่ ละครั้งค่ะ
- ไม่ข้ามการให้นมแม่นะคะ ให้ปั๊มนมทุกครั้งที่คุณแม่พลาดการให้นมแม่ช่วงใด ช่วงหนี่ง เพื่อช่วยปกป้องปริมาณน้ำนมลดลงค่ะ
- เลื่อนเวลาการใช้จุกดูดนม หากคุณแม่เลือกที่จะให้ลูกน้อยใช้จุกดูดนม ให้รอจน กว่า 3 หรือ 4 สัปดาห์หลังคลอดนะคะ เพราะจะช่วยให้คุณแม่มีเวลาที่จะทําให้การ ให้นมลูกเริ่มเป็นกิจวัตรปกติ และสร้างเสบียงน้ำนมค่ะ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนิโคติน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปาน กลางถึงมาก สามารถลดการผลิตนมได้ และการสูบบุหรี่ก็มีผลเช่นเดียวกันค่ะ
- เลือกทางอาหารเพิ่มน้ำนมแม่ อาจเริ่มจากผักต่างๆ

การดูแลรักษาปริมาณน้ำนมของคุณแม่ในระหว่างให้นมลูกน้อยนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพและการเจริญเติบโตของลูกน้อย หากคุณแม่กังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำนม หรือ การให้นมลูกน้อย ให้คุณแม่ปรึกษาแพทย์ค่ะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อ้างอิง
Elizabeth LaFleur, R.N. (2015). Infant and toddle health, What causes a low milk supply during breast-feeding? Mayo Clinic [Online]. Available: http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/expert-answers/low-milk-supply/faq-20058148 [September 22, 2015]
แชร์ได้เลย
บทความแนะนำ

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ
ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้
นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ดี มีสมองที่เรียนรู้ไว จดจำแม่นยำ และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้กับทารกแรกเกิดซึ่งยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์นัก คุณแม่ให้นมจึงพยายามดูแลร่างกายและกินอาหารที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดผ่านน้ำนมแม่ เราจึงรวบรวมเรื่องชวนสงสัยที่แม่ให้นมอยากรู้ มาฝากดังนี้