9 วิธีเพิ่มน้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมไม่ไหล น้ำนมไหลน้อย
หนึ่งในวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมโดยที่คุณแม่ไม่ต้องกินอาหารเสริมใดๆเลยก็คือ การให้ลูกดูดเต้าบ่อยๆนั่นเองค่ะ เป้าหมายก็คือเพื่อระบายนมออกจากเต้า
1. ให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อยๆเป็นเวลา
หนึ่งในวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่โดยที่คุณแม่ไม่ต้องกินอาหารเสริมใดๆเลยก็คือ การให้ลูกดูดเต้าบ่อยๆนั่นเองค่ะ เป้าหมายก็คือเพื่อระบายนมออกจากเต้า เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะไปกระตุ้นฮอร์โมนให้ผลิตน้ำนมมากขึ้น นั่นหมายความว่า ยิ่งลูกน้อยเข้าเต้าดูดนมมากเท่าไหร่ ปริมาณน้ำนมก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
2. บีบน้ำนมออกช่วงระหว่างเวลาที่ไม่ได้ปั๊มนมบ้าง
อีกวิธีที่ที่จะกระตุ้นให้ร่างกายของคุณแม่ผลิตน้ำนมมากขึ้น คือการบีบน้ำนมออกในช่วงเวลาระหว่างเว้นจากการปั๊มนมค่ะ ซึ่งสามารถทำได้โดยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนมก็ได้ โดยน้ำนมที่บีบออกมาแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็งสำหรับไว้ให้ลูกน้อยกินภายหลังได้ค่ะ
3. นวดเต้านม
การนวดเต้านมขณะที่ลูกน้อยไม่ได้ดูดเต้าหรือคุณแม่ยังไม่ได้ปั๊มนมก็สามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ คุณแม่อาจนวดเต้านมเวลาอาบน้ำหรือให้สามีช่วยนวดก็ได้ค่ะ
4. ดื่มน้ำมากๆ
ควรดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มอื่นเยอะๆ ไม่ว่าจะน้ำเปล่า น้ำผลไม้ นม หรือซุป ให้ได้วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมและทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
5. รับประทานอาหารที่สมส่วน
อย่างแรกที่คุณแม่หลังคลอดนึกถึงอาจเป็นการควบคุมอาหารและลดนํ้าหนักโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นสิ่งสําคัญคือคุณแม่ต้องทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม จำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุสูงค่ะ
คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ควรเข้าโปรแกรมลดนํ้าหนักหรือจํากัดอาหารเพราะจะมีผลต่อการผลิตนํ้านมและอาจทําให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียได้ค่ะ หากคุณแม่กังวลกับนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นตอนตั้งครรภ์และต้องการกลับไปมีรูปร่างเหมือนก่อน โดยที่เลี้ยงลูกด้วยนมไปด้วย ให้ปรึกษาคุณหมอค่ะ
6. ทานอาหารเสริมหรือวิตามินเสริมสําหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ต่อไป
ร่างกายของคุณแม่ต้องการสารอาหารที่จําเป็นเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่ะ ทางหนึ่งที่ช่วยให้แน่ใจว่าคุณแม่ได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการก็คือให้คุณแม่ทานวิตามินรวมหรือวิตามินที่คุณแม่ทานขณะตั้งครรภ์ค่ะ

7. อย่าเครียด
ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้ร่างกายลดการผลิตน้ำนมได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรนอนหลับให้เพียงพอทุกคืน และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเครียดได้
คุณแม่อาจจะคิดว่าพูดง่ายแต่ทำยาก โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่กำลังปรับตัวกับกิจวัตรประจำวันในการดูแลและให้นมลูกน้อย อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือหากคุณต้องการค่ะ
8. หลีกเลี่ยงบุหรี่ แอลกอฮอล์และคาเฟอีน
จำไว้เสมอว่า ทุกอย่างที่คุณแม่ทาน ดื่มและสูดดมล้วนมีผลกับนํ้านมของคุณแม่ได้ ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงบุหรี่ แอลกอฮอล์และคาเฟอีนในช่วงที่ให้นมลูกค่ะ
9. ปรึกษาคลินิกนมแม่
หากคุณลองทุกวิถีทางแล้วแต่ยังไม่สามารเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ ลองติดต่อคลินิกนมแม่ เพื่อรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญค่ะ
นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับอีกอย่างนั่นคือการสรรหา อาหารเพิ่มน้ำนมโดยเฉพาะมารับประทานมากขึ้นค่ะ ซึ่งมีเมนูหลากหลายรายการที่แม่สามารถเลือกได้ตามใจชอบ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
อ้างอิง
The Asian Parent Philippines Editorial. No-Fail Tips to Increase Breast Milk Supply. The Asian Parent Philippines Online. [cited No Date]; [12 screen].
Available at URL: https://ph.theasianparent.com/how-to-increase-breast-milk-supply/
บทความแนะนำ

การทำสต็อกนมแม่และวิธีละลายนมแม่เพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร
น้ำนมแม่มีคุณค่ามหาศาล ประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายที่ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เปี่ยมล้นในน้ำนมแม่ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ (UNICEF) จึงสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด และควรให้นมแม่ต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารตามวัยตั้งแต่เดือนที่ 6 ไปจนถึงลูกอายุ 2 ขวบหรือนานกว่านั้น เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เจ้าตัวน้อยเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ
ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้
นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ดี มีสมองที่เรียนรู้ไว จดจำแม่นยำ และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้กับทารกแรกเกิดซึ่งยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์นัก คุณแม่ให้นมจึงพยายามดูแลร่างกายและกินอาหารที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดผ่านน้ำนมแม่ เราจึงรวบรวมเรื่องชวนสงสัยที่แม่ให้นมอยากรู้ มาฝากดังนี้